ข้อมูลทั่วไปประชากร ประชากรจำนวน 62.2 ล้านคน (ปี 2005) ความหนาแน่นของประชากร 96 คนต่อตารางกิโลเมตร เมืองมีประชากรมากกว่า 100,000 คนมีถึง 57 เมืองสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ - พื้นที่เกษตรกรรมและทำป่าไม้มีประมาณ 48 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 82 ของพื้นที่โดยรวมทั้งประเทศ (เฉพาะฝรั่งเศสส่วนภาคพื้นทวีป) - พื้นที่ป่ามีประมาณร้อยละ 30 และนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปรองจากสวีเดนและฟินแลนด์ ตั้งแต่ปี 1945 พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 และถ้าพูดถึงในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา นับว่าเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว - ฝรั่งเศสมีความแตกต่างไปจากประเทศอื่นๆในยุโรปเพราะมีพันธุ์ไม้มากถึง 136 ชนิด ในส่วนของสัตว์ใหญ่ก็เพิ่มจำนวนขึ้น ภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี จำนวนของสัตว์ประเภทกวางเพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า ประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมรดกทางธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้ง- อุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง- ป่าสงวน 156 แห่ง- เขตรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ป่า 516 แห่ง- รวมทั้งประกาศให้พื้นที่อีก 429 แห่งเป็นเขตอนุรักษ์อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล- นอกจากนี้ยังมีอุทยานธรรมชาติตามภูมิภาคต่างๆ อีกกว่า 37 แห่งซึ่งกินพื้นที่กว่าร้อยละ 7 ของประเทศงบประมาณจำนวน 32 พันล้านยูโรได้รับการจัดสรรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรจะเท่ากับ 516 ยูโร ทั้งนี้ 3 ส่วน 4 ของเงินข้างต้นจะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียต่างๆในระดับนานาชาติ ฝรั่งเศสเป็นภาคีของสนธิสัญญาและอนุสัญญาทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและการแปรสภาพเป็นทะเลทรายพื้นที่ ฝรั่งเศสมีพื้นที่ 550,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก (ประมาณเกือบหนึ่งในห้าของพื้นที่ของสหภาพยุโรป) อีกทั้งยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง (เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีพื้นที่ทั้งสิ้น 11 ล้านตารางกิโลเมตร)
คลิกดูแผนที่ประเทศฝรั่งเศส
ภูมิประเทศและสภาพอากาศที่ตั้งและขนาด ประเทศฝรั่งเศสตั้งอยู่ในยุโรปตะวันตกระหว่างมหาสมทุรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน 6 ประเทศ ทิศเหนือ คือ ลุกเซมเบอร์กและเบลเยี่ยม ทิศใต้ ประเทศสปน ทิศตะวันออก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และเยอรมัน ทิศตะวันตก ติดมหาสมุทรแอตแลนติค ขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของฝรั่งเศสนับว่าใกล้เคียงกับประเทศไทยมาก กล่าวคือ ฝรั่งเศสมีพื้นที่และ จำนวนประชาชน ของฝรั่งเศส นับว่าใกล้เคียงกับประเทศไทยมาก กล่าวคือ ฝรั่งเศสมีพื้นที่ จำนวน 551,000 ตารางกิโลเมตร ส่วนประเทศไทยมีพื้นที่ 513,142 ตารางกิโลเมตร ประชากรฝรั่งเศสมีประมาณ 58.5 ล้านคน ประเทศไทยมีประมาณ 60 ล้านคนภูมิอากาศ แบ่งเป็น 4 ฤดู คือฤดูใบไม้ผลิ 21 มีนาคม – 21 มิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ย 1 ถึง 22ฐ Cฤดูร้อน 22 มิถุนายน – 22 กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 10 ถึง 25ฐ Cฤดูใบไม้ร่วง 23 กันยายน – 21 ธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 0 ถึง 21ฐ Cฤดูหนาว 22 ธันวาคม – 20 มีนาคม อุณหภูมิเฉลี่ย -1 ถึง 15ฐ C
การศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส
การเตรียมตัวก่อนไปฝรั่งเศสการเตรียมตัวก่อนไปฝรั่งเศสเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะช่วยให้ท่านประสบความสำเร็จในการศึกษา ขั้นตอนต่างๆ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส การเลือกสาขาวิชา การสมัครเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา และการขอวีซ่าระยะยาวประเภทนักศึกษา เป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องปฏิบัติก่อนออกเดินทาง อนึ่ง ท่านจะต้องมีแหล่งรายได้ที่เพียงพอสำหรับการศึกษาในฝรั่งเศส (ทุนการศึกษา หรือเงินช่วยเหลือ หรือการอุดหนุนจากครอบครัว)การสมัครเข้าเรียนล่วงหน้าในมหาวิทยาลัย กรณีการศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 2การสมัครเข้าเรียนล่วงหน้า เป็นข้อบังคับในกรณีที่ท่านจะลงทะเบียนเรียนเป็นครั้งแรกในช่วงการศึกษาที่ 1 (ปี 1 และปี2) ของมหาวิทยาลัยทุกสาขาวิชา รวมถึงปี 1 สาขาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทศาสตร์, ปี 1 สาขาวิชาเภสัชศาสตร์และปี 1 ชั้นเตรียมศึกษากฎหมาย ในกรณีดังกล่าว หลังจากที่ท่านได้เลือกสาขาวิชาที่ท่านจะไปศึกษา และสถาบันการศึกษาที่ท่านสนใจได้แล้ว ท่านจะต้องติดต่อขอใบสมัครเข้าเรียนล่วงหน้า จากฝ่ายวัฒนธรรมแห่งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศที่อาศัยอยู่ โดยที่ท่านอาจไปติดต่อด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ข้อยกเว้นในกรณีที่ท่านอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสโดยมีใบอนุญาตประจำตัวคนต่างชาติ ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ท่านสามารถติดต่อขอใบสมัครเข้าเรียนล่วงหน้าจากมหาวิทยาลัย ที่ท่านเลือกเป็นอันดับแรกในกรณีที่ผู้ปกครองหรือคู่สมรสของท่านอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส โดยมีใบอนุญาตประจำตัวคนต่างชาติที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 ปี ท่านสามารถติดต่อขอใบสมัครเข้าเรียนล่วงหน้าจากมหาวิทยาลัยที่ท่านเลือกเป็นอันดับแรกเช่นกันวิธีปฏิบัติในทุกกรณี ท่านมีสิทธิที่จะสมัครเข้าเรียนล่วงหน้าในมหาวิทยาลัยได้สองแห่ง โดยบอกลำดับที่ ต้องการยกเว้นสำหรับมหาวิทยาลัยในเขตการศึกษา ปารีส เครแตยและแวร์ซายส์ ซึ่งท่านมีสิทธิที่จะเลือกมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวเมื่อได้กรอกแล้ว ท่านจะต้องส่งใบสมัคร (พร้อมหลักฐานที่จำเป็น) กลับไปยังหน่วยงานที่ท่านได้ไปขอมา หากมหาวิทยาลัยที่ท่านได้เลือกเป็นอันดับแรกไม่รับท่านเข้าศึกษา มหาวิทยาลัยดังกล่าวจะรับหน้าที่ส่งเรื่องต่อไปยังมหาวิทยาลัยที่ท่านได้เลือกเป็นอันดับสองกรณีที่มหาวิทยาลัยไม่รับท่านเข้าศึกษา- หากมหาวิทยาลัยที่ท่านได้เลือกทั้งสองแห่งไม่รับท่านเข้าเรียน และถ้าท่านสอบผ่านการทดสอบภาษา ท่านสามารถที่จะยื่นคำอุทธรณ์เสนอชื่อมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ที่ท่านยังไม่ได้เลือกครั้งแรกไปยังรัฐมนตรีกระทรวงมหาวิทยาลัยและการวิจัย ก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม กระทรวงมหาวิทยาลัยฯจะแจ้งคำตอบให้ทราบภายในวันที่ 15 กันยายน- ในกรณีที่ท่านได้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาที่คัดเลือกนักศึกษา โดยอาศัยการพิจารณาวุฒิหรือการสอบเข้า แต่สถาบันดังกล่าวไม่รับท่านเข้าเรียน และท่านต้องการสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแทน ท่านก็ยังต้องยื่นใบสมัครเข้าเรียนล่วงหน้าสำหรับช่วงการศึกษาปีที่หนึ่ง ในมหาวิทยาลัยเหมือนกับกรณีทั่วไป- ในกรณีที่ท่านสมัครเข้าศึกษาในระดับปีที่ 3 และ 4 และได้รับการปฏิเสธ มิได้หมายความว่าท่านมีสิทธิเข้าศึกษาในระดับปีที่ 1 และ 2 ได้โดยอัตโนมัติ หากแต่ท่านจะต้องยื่นใบสมัครเข้าเรียนล่วงหน้าเหมือนกรณีปกติวิธีการอุทธรณ์ในกรณีที่มหาวิทยาลัยที่ท่านได้เลือกทั้งสองแห่งไม่รับท่านเข้าเรียนดังที่กล่าวแล้ว ท่านต้องส่งจดหมายอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีกระทรวงมหาวิทยาลัยฯ ตามที่อยู่ดังต่อไปนี้ Minitrère de l’Enseignement Supérieur et de la Recherche, DGESI61, rue Dutot,75732 Paris Cedex 15พร้อมกับสำเนาใบเสร็จจากการสมัครเข้าเรียนล่วงหน้าครั้งแรกซึ่งมีหมายเลขกำกับ สำเนาคำตอบปฏิเสขจากมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง สำเนาคะแนนผลสอบภาษา สำเนาประกาศนียบัตรที่ทำให้ท่านมีสิทธิศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย พร้อมคำแปลที่รับรองว่าถูกต้องตามต้นฉบับ- คำอุทธรณ์ดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาเฉพาะในกรณีที่ท่านได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10 ในการสอบภาษา (ครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม)- จดหมายต่างๆ ต้องเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสและระบุระดับการศึกษา สาขาการศึกษาและที่อยู่ให้ละเอียดชัดเจนการสอบภาษาก่อนที่ท่านจะสามารถลงทะเบียนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือสมัครเข้าเรียนล่วงหน้าได้ท่านจำเป็นต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ดี และจะต้องสอบภาษาการสอบดังกล่าวจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ โดยผ่ายวัฒนธรรมแห่งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย หรือโดยมหาวิทยาลัยที่ท่านได้ยื่นใบสมัครเข้าเรียนล่วงหน้าในฝรั่งเศสข้อสอบการสอบภาษาประกอบด้วยข้อสอบสองชุด ซึ่งมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่ท่านจะไปเรียนต่อและเน้นทักษะการเขียนเป็นพิเศษ ข้อสอบในแต่ละสาขาวิชานั้นใช้ชุดเดียวกันทุกแห่ง โดยกระทรวงมหาวิทยาลัยฯแต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่ออกข้อสอบทุกปีการยกเว้นไม่ต้องสอบภาษาผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้มีสิทธิไม่ต้องสอบภาษา- ผู้ถือสัญชาติของประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษราชการ- ผู้ถือสัญชาติของประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ในข้อสอบส่วนใหญ่ของการสอบไล่มัธยมปลาย ผู้ได้รับประกาศนียบัตร Diplôme d’études approfondies de langue française (DALF)
ค่าใช้จ่าย
ค่าเล่าเรียนตลอดปี1. ระดับมหาวิทยาลัย 800 – 4,500 แฟรงค์ฝรั่งเศส2. โรงเรียนชั้นสูงของรัฐ 3,400 แฟรงค์ฝรั่งเศส3. โรงเรียนชั้นสูงของเอกชน 25,000 – 100,000 แฟรงค์ฝรั่งเศสค่าที่พักต่อเดือน1. หอพักของมหาวิทยาลัย 700 – 1,000 แฟรงค์ฝรั่งเศส(มีจำนวนจำกัดและให้สิทธิ์นักเรียนทุนรัฐบาลฝรั่งเศสก่อน)2. หอพักของเอกชน 2,500 – 3,500 แฟรงค์ฝรั่งเศสค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายส่วนตัว เดือนละ 2,500 – 3,500 แฟรงค์ฝรั่งเศสค่าประกันสุขภาพต่อปี 1,000 – 5,000 แฟรงค์ฝรั่งเศสรวมค่าใช้จ่ายต่อปีทั้งหมด ประมาณ1. สถานศึกษาของรัฐ 40,200 – 93,500 แฟรงค์ฝรั่งเศส2. สถานศึกษาของเอกชน 86,000+ แฟรงค์ฝรั่งเศส
ข้อมูลจำเพาะ
ที่พักสำหรับนักศึกษาพักสำหรับนักศึกษาในประเทศฝรั่งเศส มีหลายประเภท คือ1. หอพักนักศึกษานานาชาติแห่งกรุงปารีส ประกอบด้วยหอพักต่างๆ 37 หอ ซึ่งตั้งอยู่ใน สวนที่มีพื้นที่ 250 ไร่ พร้อมบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนรวมครบครัน หอพัก แต่ละหออยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของประเทศใดประเทศหนึ่งหรือ สถาบันการศึกษา แหงใดแห่งหนึ่ง เช่น หอสหรัฐ หอตูนิเซีย หอลาว ฯลฯ ราคาห้องพักประมาณ 1,320 – 1,900 แฟรงค์ฝรั่งเศสต่อเดือน สำหรับห้องเดี่ยว และ 2,315 – 3,500 แฟรงค์ฝรั่งเศส ต่อเดือน สำหรับห้องคู่ (ปี 1995) สอบถามรายละเอียดได้ที่ Service des admissionsFoundation nationale CIUP19, Boulevard Jourdan75690 Paris Cedex 14(โทรศัพท์ 4412-6443 : Fax 4416-6403)2. หอพักของหน่วยงาน CROUS (องค์กรนักศึกษาระดับภูมิภาค) มี 28 แห่ง กระจายอยู่ตาม เมืองต่างๆ ทั่วประเทศฝรั่งเศส มีหอพักหลายประเภท เช่น หอพักแบบ ห้องน้ำรวม หอพักแบบสตูดิโอ (ห้องน้ำส่วนตัว + มุมทำอาหาร) นอกจากนี้หน่วยงาน CROUS ยังรับติดต่อหอพักของวิทยาลัย แฟลตเอกชนและที่พักกับครอบครัวให้ด้วย ราคาประมาณ 1,000 – 3,500 แฟรงค์ฝรั่งเศสต่อเดือน (ปี 1998) สอบถาม รายละเอียด ได้จากหน่วยงาน CROUS ทั้ง 28 แห่ง (ขอที่อยู่ได้จากส่วนการศึกษาและฝึกอบรม ในต่างประเทศ)3. การอยู่กับครอบครัว มี 2 แบบ คือ 3.1 พักอาศัยและรับประทานอาหารร่วมกับครอบครัวโดยต้องจ่ายค่าที่พักและค่าอาหาร 3.2พักอาศัยกับครอบครัวแล้วทำงานเป็นการแลกเปลี่ยนการหาที่พักทั้ง 2 ประเภทนี้ อาจหาข้อมูลได้จาก CROUS เช่นกัน หรือติดต่อผ่าน Accueil familial des jeunes etrangers ตั้งอยู่ที่ 23, rue du Cherche - Midi 75006 Paris, France Tel : 01 42 2250 34 Fax. 01 45 44 60 48 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดหา ครอบครัว ฝรั่งเศสให้ชาวต่างชาติทั้งในปารีสและต่างจังหวัดข้อพึงระวังฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนปีละกว่า 60 ล้านคน โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม ซึ่งควรระวังดังนี้- ไม่ควรพกเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมาก - ไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับราคาแพงเกินจำเป็น เพราะท่านอาจตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพได้ - ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง และหน้าวีซ่าแยกเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำหนังสือเดินทางในกรณีเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวสูญหาย - ไม่ควรทิ้งสิ่งของมีค่าไว้ในตู้นิรภัยในห้องพักของโรงแรมขณะที่ท่านไม่อยู่ ควรเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย มิดชิด และมีพยานรับรู้ - ระมัดระวังทรัพย์สินเมื่ออยู่ที่ท่าอากาศยานบริเวณรถไฟใต้ดิน และเขตที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวไทยสูญเสียทรัพย์สินแก่กลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มต่าง ๆ อาทิ นักล้วงกระเป๋า หรือถูกหลอกลวงในลักษณะต่าง ๆ เสมอมา - ระมัดระวังตัวเองและหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง เนื่องจากมีรายงานและข่าวเกี่ยวกับกลุ่มอันธพาลวัยรุ่นทำร้ายนักท่องเที่ยวโดยไร้เหตุผล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีสL'AMBASSADE ROYALE DE THAILANDE8 Rue Greuze 75116 PARISโทรศัพท์ (331) 5626-5050โทรสาร (331) 5626-0445-6สถานีรถไฟ Metro Trocaderoโทรศัพท์ (331) 5626-0440 (หลังเวลาราชการ)เวลาทำการจันทร์ - ศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการ)09.30 - 12.30 น. และ 14.30 - 17.30 น. กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 981 7171 โทรสาร 575 1038
การขอวีซ่าฝรั่งเศส (France Visa)
ประเภทและระยะเวลาของวีซ่า การขอวีซ่า เมื่อนักเรียนได้รับหนังสือตอบรับจากสถาบันการศึกษาในประเทศฝรั่งเศสแล้ว นักเรียนจะต้องยื่น ขอวีซ่านักเรียน ซึ่งทางการฝรั่งเศสเรียกว่า วีซ่าระยะยาวประเภทนักเรียน โดยนักเรียน ต้องไปติดต่อสถานกงศุลฝรั่งเศส ซึ่งตั้งอยู่ที่ 29 สาธรใต้ กรุงเทพ 10120 โทรศัพท์ 2872585-87 เพื่อขอแบบฟอร์มการทำวีซ่าเอกสารประกอบการขอยื่นวีซ่านักเรียน มีดังนี้ คือ1. แบบฟอร์มขอวีซ่า ที่กรอกรายละเอียดสมบูรณ์แล้ว จำนวน 2 ชุด 2. หนังสือเดินทาง ซึ่งต้องมีอายุใช้การได้เกินกว่า 1 ปี 3. หนังสือตอบรับการลงทะเบียนมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน ซึ่งต้องระบุระดับการศึกษา พร้อมสาขาวิชาที่จะเรียน หากเป็นการเรียนหลักสูตรภาษาฝรั่งเศส ต้องระบุจำนวน ชั่วโมงการเรียนไว้ด้วย 4. สำเนาบัตรประชาชนไทย พร้อมคำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส 5. สูติบัตรพร้อมคำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส 6. หลักฐานการศึกษา (ฉบับจริง) พร้อมคำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส 7. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป 8. หนังสือรับรองจากธนาคารหรือจากผู้ปกครอง พร้อมระบุจำนวนเงินที่จะส่งให้นักเรียน (นักศึกษา) ใช้จ่ายที่ประเทศฝรั่งเศสในแต่ละเดือน ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 2,500 แฟรงค์ฝรั่งเศสต่อเดือน 9. หลักฐานยืนยันที่พัก เช่น 9. 1หนังสือยืนยันที่พัก รับรองโดยผู้ตอบรับ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนา ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในกรณีที่ผู้ตอบรับเป็นต่างด้าว 9.2 หรือ สัญญาเช่า 9.3 หรือ หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ 9.4 หรือ หลักฐานการจองห้องพักของสถาบันการศึกษา 10. ใบรับรองแพทย์ โดยแพทย์ที่สถานทูตรับรองสถานะ นายแพทย์ ฟิลิป พลางกูรPSE คลินิก1 ถนนนเรศ, กรุงเทพฯ 10500โทร. 236 1389 และ 236 148911. ใบประกันสุขภาพ สำหรับนักศึกษาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 28 ปี 12. ในกรณีที่ท่านอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ท่านจะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ปกครอง 13. ค่าธรรมเนียมการขอวีซ่านักเรียน ประมาณ 2,145 บาท 14. ระยะเวลาการขออนุมัติวีซ่า ประมาณ 4 วัน หมายเหตุ
1. นักเรียนที่สามารถหาหลักประกันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในระหว่างที่พำนักในฝรั่งเศส ไม่ต้องแสดงเอกสารยืนยันที่พัก
2. นักเรียนทุนของรัฐบาลฝรั่งเศสจะต้องแสดงใบตอบรับทุนการศึกษา และทางสถานทูต อาจเรียกให้แสดงหลักฐานที่พักอาศัย หรือหลักฐานทางการเงินเพิ่มเติม
3. นักศึกษาที่เป็นนักเรียนทุนของรัฐบาลไทย หรือทุนของหน่วยงานระหว่างประเทศ หรือนักเรียนทุนตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาล หรือนักเรียนทุนตามพันธะสัญญา มหาวิทยาลัย ไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานทางการเงินหรือหลักฐานที่พัก แต่จะต้อง แสดงเอกสารรับรองจากแผนกวัฒนธรรม ซึ่งได้ระบุถึงคุณสมบัติของทุนที่ได้รับ 4. นักศึกษาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะต้องแสดงหนังสือยินยอมให้เดินทางจากผู้ปกครอง หรือจากผู้มีอำนาจในการปกครองดูแล ซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอ หรือหนังสือคำสั่งศาล
5. เอกสารที่เป็นภาษาอื่นทุกฉบับจะต้องแนบคำแปลภาษาฝรั่งเศสประกอบมาด้วยเสมอไป
6. แฟ้มคำร้องขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ประกอบด้วยเอกสารครบถ้วน สมบูรณ์ แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถยื่นต่อสถานทูตฯ เพื่อขอรับการพิจารณา สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกถามรายละเอียด หรือเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมได้สิ่งสำคัญท่านต้องนำเอกสารฉบับจริงดังกล่าวทั้งหมดติดตัวไปฝรั่งเศสด้วย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ตรวจคนเข้าเมืองอาจขอตรวจดูได้ก่อนการเข้าเมือง และท่านต้องใช้เอกสารเหล่านี้อีกครั้งในการ ขอบัตรประจำตัวคนต่างชาติ ที่ประเทศฝรั่งเศส
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ผู้ติดตาม
คลังบทความของบล็อก
-
►
2010
(72)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
▼
2009
(67)
-
▼
สิงหาคม
(29)
- สิ่งมหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล...แปลกดี!
- สำหรับในปีนี้อันตรายหนึ่งอย่างในหน้าฝนแบบนี้ นอกจา...
- 9 วิธีฝึกสมองให้คิดสร้างสรรค์
- "สี" เพิ่มความมั่นใจได้!!
- ภาษากายสื่อความหมายถึง....
- การกินยาที่ผิดวิธี
- ไม่อยาก"ดำ" เลือกครีมกันแดดอย่างถูกวิธี
- สุนัข" ฉลาดพอๆ กับเด็กอายุ 2 ขวบ
- ไม่มีชื่อ
- เผยกิน “แกงกะหรี่” ป้องกันอัลไซเมอร์ได้
- อุณหภูมิ >> น้องๆ ห้ามนำนาฬิกาเรือนโปรดของตัวเองไป...
- เรื่องน่ารู้
- ภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเร...
- ภาษาฝรั่งเศส
- ข้อมูลการท่องเที่ยวประเทศเนเธอร์แลนด์ข้อมูลทั่วไป...
- ภาษาเกาหลี
- กำเนิดดาวหาง
- มาอัพเดรตเทรนด์แฟชั่นกันค่ะ
- ดูแลผมดัด 1. ไม่สระผมภายใน48 ชั่วโมงแรกหลังก...
- เทรนด์ดัดผมยังแรงไม่หยุด ยิ่งในยุคนี้การจะมีผมลอนเ...
- ” การดัดผม”กับการดูแล “ผมดัด”
- ไม่มีชื่อ
- แฟชั่นเกาหลี
- วิธีบอกรักโดยไม่ต้องพูด
- ตุ๊กตา
- ไม่มีชื่อ
- ไม่มีชื่อ
- ไม่มีชื่อ
- ไม่มีชื่อ
-
▼
สิงหาคม
(29)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น