วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กำเนิดดาวหาง

ข้อสันนิษฐานการเกิดดาวหางมี 3 ทฤษฎีด้วยกัน คือ
ทฤษฎีแรก ดาวหางเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟบนดาวเคราะห์ทฤษฎีที่สอง ดาวหางมีจุดกำเนิดมาจากฝุ่นละอองในอากาศทฤษฎีสุดท้าย กล่าวว่า ดาวหางเกิดขึ้นในระบบสุริยะเหมือนดาวเคราะห์อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครยืนยันชัดเจนถึงจุดกำเนิดของดาวหาง เพราะนานๆ จะมีดาวหางปรากฎ ให้สังเกต หรือศึกษา สักครั้งหนึ่ง แต่จากการคำนวณของนักวิทยาศาสตร์ พอจะทราบเกี่ยวกับเส้นทางโคจร ของดาวหาง พอสมควร เส้นทางโคจรของดาวหาง มีความสลับซับซ้อน เพราะมีอิทธิพลมาจากแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ ขณะเดินทาง ดาวหางยิ่งเดินทางผ่านดาวเคราะห์มากเท่าใด ย่อมได้รับอิทธิพลแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ดวงนั้น มากเท่านั้น ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีมวลมาก จะส่งผลกระทบต่อการโคจรของดาวหางมาก นักดาราศาสตร์ สามารถที่จะคำนวณเส้นทางวงโคจรเดิม และวงโคจรในอนาคตของดาวหางได้ โดยศึกษาอิทธิพล ของสนามดึงดูดจากดาวเคราะห์ที่ดาวหางจะโคจรผ่าน
เชื่อว่าเป็นวัตถุที่เหลือจากการเกิดระบบสุริยะ เมื่อมารถูกความดันรังสีของ ดวงอาทิตย์ผลักดันให้ออกไปอยู่ห่างจากบริเวณภายนอกของระบบสุริยะระยะ ทาง1-2 ปีแสง โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงแหวนวงกลมเรียกว่า Oort cloud ตามความเชื่อของนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ชื่อว่า แจน เฮนคริกอ็อร์ต

แหล่งกำเนิดของดาวหาง เชื่อกันว่าเป็นวัตถุที่เหลือจากการสร้างระบบสุริยะ เป็นคล้ายบริวารรอบนอกของระบบ ตามปกติจะมีดาวหางจำนวนหนึ่งโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์แล้วกลับคืนออกไปขอบนอกของระบบสุริยะ แต่มีบางดวงที่โคจรอยู่ภายในระบบสุริยะ
นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ดาวหางเป็นซากวัตถุที่เหลือจากการก่อตัวของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มีอายุมากกว่า 4,500 ล้านปี เดินทางมาจากห้วงอวกาศแสนไกลและเย็นจัด ดาวหางจึงน่าจะ ยังคงสภาพดั้งเดิมอยู่มาก อาจประกอบด้วยอินทรีย์สารที่จำเป็นต่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และบางที ดาวหางอาจเป็นตัวนำน้ำมายังโลกในยุคแรกเริ่มที่โลกก่อกำเนิดขึ้นก็เป็นได้

ในปี พ.ศ.2493 นักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ แจน ออร์ด ( Jan Oort ) เป็นผู้เสนอทฤษฎีว่า ต้องมีแหล่งที่อยู่ของดาวหางจำนวนหลาย ๆ ล้านดวงอยู่ไกลเลยจากดาวเคราะห์ดวงนอก ของระบบสุริยะออกไป โดยห่างจากดวงอาทิตย์ราว 30,000 หน่วยดาราศาสตร์ จนถึง 1 ปีแสง หรือไกลกว่านั้น จึงเรียกถิ่นที่อยู่ของดาวหางตามความคิดนี้ว่า ดงดาวหางออร์ด(The Oort Cloud)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน