วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553
อะเล็กซานเดอร์ โพร์ฟิเรวิช โบโรดิน
อะเล็กซานเดอร์ โพร์ฟิเรวิช โบโรดิน (รัสเซีย: Александр Порфирьевич Бородин, อังกฤษ:Alexander Porfiryevich Borodin) (12 พฤศจิกายน [นับแบบเก่า 31 ตุลาคมOctober] ค.ศ. 1833 – 27 กุมภาพันธ์ [นับแบบเก่า 15 กุมภาพันธ์] 1887) เป็นนักเคมีและนักดนตรีชาวรัสเซีย ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ทั้งด้านการประพันธ์ดนตรีคลาสสิก และการค้นคว้าด้านเคมี ทั้งยังเป็นอาจารย์ที่น่าศรัทธาของลูกศิษย์ด้วย
ประวัติส่วนตัว
ชาติกำเนิด
อะเล็กซานเดอร์ โพร์ฟิเรวิช โบโรดิน เป็นชาวรัสเซีย เชื้อสายจอร์เจีย เกิดวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2378 ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในรัสเซีย เป็นบุตรนอกกฎหมายของเจ้าชายแห่งจอร์เจียองค์หนึ่ง มีพระนามว่าเจ้าชายลูกา เกเดวานิชวิลี แห่งอิเมเรเทีย เป็นตำบลในทางตอนใต้ของคอเคซิส ทว่าในสูติบัตรนั้น แจ้งเป็นลูกของโพฟิริอี โบโรดิน บริวารคนหนึ่งของตน และให้ครอบครัวนั้นเป็นผู้เลี้ยงดู ทว่ายังติดต่อกับบิดามารดาที่แท้จริงอยู่บ้าง โดยคอยช่วยเหลือเพื่อส่งเสียให้เติบโตมีฐานะที่คู่ควร บิดาและมารดาของโบโรดินนั้นแยกทางกัน บิดาอยู่ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ส่วนมารดาอยู่ในกรุงมอสโคว์ เมื่อโบโรดินอายุได้ 8 ขวบ บิดาก็ถึงแก่กรรม
ตอนเป็นเด็กโบโรดินมีอุปนิสัยค่อนข้างอ่อนไหว ป่วยง่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูด และคิดมาก ตามประวัติเล่าว่าอะเล็กซานเดอร์ โบโรดินได้เข้าเรียนอย่างดี โดยได้เรียนดนตรีพร้อมกันด้วย และเขาก็สามารถเล่นดนตรีได้ดีหลายชนิด ทั้งเปียโน ฟลุต และเชลโล นอกจากนี้ยังได้เรียนพิเศษภาษาต่างประเทศด้วย ได้แก่ อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศส
เมื่ออายุ 8 ขวบ ก็สามารถเล่นฟลุตและเปียโนได้ (ทหารคนหนึ่งมาช่วยสอนให้) และความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ฉายแสงนับตั้งแต่นั้น เขาแต่งเพลงชิ้นแรก ชื่อว่า เฮเล โพลกา เมื่ออายุ 9 ขวบ แต่ในเวลานั้นเขายังแสดงความสนใจอย่างมากในวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านเคมี เมื่ออายุ 13 ปี โบโรดินได้สร้างห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่มุมต่างๆ ในอะพาร์ตเมนต์ และได้ทดลองต่างๆ มากมาย ทั้งนี้เขายังผสมสารเคมีจนได้เป็นสีน้ำ ซึ่งนับว่าน่าสนุกและภาคภูมิใจสำหรับเด็กวัยนั้น
เข้าศึกษา
สถาบันการแพทย์
เมื่ออายุได้ 16 ปี โบโรดินก็เข้าเรียนในสถาบันการแพทย์-ศัลยศาสตร์หลวง (Imperial Academy of Medicine and Surgery) ซึ่งมีการเรียนการสอนหลายวิชา ทั้งการแพทย์ กายวิภาค และเคมี เป็นต้น ช่วงสองปีแรกนั้น โบโรดินมีความสนใจอย่างมากในด้านเคมี โดยได้เรียนกับศาสตราจารย์นิโคไล น. ซินิน (พ.ศ. 2355-2423) ผู้มีชื่อเสียงในฐานะผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไนโตรกลีเซอรีน ซึ่งมีการสังเคราะห์ครั้งแรก ในปี 2389 โดยนักเคมีชาวอิตาลี ชื่อ อัสคานิโอ โซเบรโร ผลงานการบุกเบิกด้านอนุพันธ์ของซีนินทำให้มนุษยชาติทั่วโลกสามารถใช้สีสังเคราะห์ได้นับตั้งแต่นั้น และซีนินได้ชื่อว่าเป็น “พ่อมดแห่งไนเตรต”
นักเคมีผู้ยิ่งยงอีกคนหนึ่ง คือ อัลเฟรด โนเบล ที่เรารู้จักดี ก็เคยมาอาศัยอยู่ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กแห่งนี้ ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ จนถึง 30 ปี เขาได้ศึกษาเป็นการส่วนตัวในห้องทดลองของซีนีน และเมื่ออายุได้ 17 ปี โนเบลก็เริ่มมีทักษะความรู้ดีในด้านเคมี ซึ่งในห้องทดลองของเซนินนี้เอง ที่โนเบลได้เรียนรู้เกี่ยวกับไนโตรกลีเซอรีนเป็นครั้งแรก เขาออกจากรัสเซียเมื่อ พ.ศ. 2393 และศึกษารวมทั้งทำงานในต่างประเทศอีก 5 ปี จากนั้นก็กลับมาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กอีกครั้ง โดยมาทำงานต่อในห้องทดลองของซีนิน และโรงงานของบิดา กระทั่งเกิดล้มละลายทางธุรกิจในปี 2402 ในปีนั้น โบโรดินเรียนอยู่ชั้นปี 3 โดยเริ่มทำงานการทดลองขั้นสูงในห้องทดลองของซีนิน สำหรับซินีนนั้นยังได้สร้างระเบิดอานุภาพสูงจากไนโตรกลีเซอรีน เพื่อใช้ในสงครามไครเมีย (พ.ศ. 2396 – 2399) ด้วย
ศัลยแพทย์
เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2399 โบโรดินก็จบการศึกษาจากสถาบันการแพทย์-ศัลยศาสตร์ และได้รับตำแหน่งเป็นศัลยแพทย์ฝึกหัด ประจำโรงพยาบาลทหาร ช่วงเวลาสามปีแรกที่นั่นเป็นช่วงที่ยุ่งยากลำบากใจมากสำหรับศัลยแพทย์หนุ่มคนนี้ ครั้งหนึ่งมีคนขับรถม้าของนายทหารระดับสูงคนหนึ่งถูกนำตัวมาส่งที่โรงพยาบาล โดยที่โบโรดินจะต้องตัดกระดูกออก ขณะที่ผ่าตัดสั้น เครื่องมือที่ใช้อยู่ก็หักขณะกำลังผ่าคอคนไข้ แต่ศัลยแพทย์หนุ่มก็พยายามดึงเศาเครื่องมือและกระดูกออกมาได้ในที่สุด เขากล่าวว่า ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากเครื่องมือผ่าตัดฝังที่คอคนไข้ เขาคงจะต้องขึ้นศาลทหาร และถูกส่งไปขังในไซบีเรียแน่ๆ
ครั้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2401 โบโรดินก็ได้รับปริญญาเอก หลังจากเขียนวิทยานิพนธ์ “ว่าด้วยการเปรียบเทียบกรดอาร์เซนิก และกรดฟอสฟอริก” ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสถาบันแห่งนี้ ที่มีการเขียนและสอบวิทยานิพนธ์เป็นภาษารัสเซีย (เดิมนั้นจะต้องเขียนเป็นภาษาละติน คงจะทำนองเดียวกับการศึกษาในบ้านเราปัจจุบัน ที่นิยมจัดประชุม เขียนวิทยานิพนธ์ หรือเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ แทนที่จะใช้ภาษาไทยของเราเอง)
ศึกษาต่อด้านเคมีในยุโรป
ในเดือนตุลาคม ปีถัดมา ก็ได้เดินทางในฐานะตัวแทนของสถาบันการแพทย์ศาสตร์-ศัลยศาสตร์ พร้อมกับเมนเดเลเยฟ, เซเคนอฟ และบอตคิน ทั้งนี้ซีนินเสนอว่าโบโรดินควรใช้เวลาในต่างประเทศสักระยะหนึ่ง เพื่อหาประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่จะได้รับเมื่อเดินทางกลับมา ด้วยเหตุนี้โบโรดินจึงเลิกอาชีพศัลยแพทย์ ซึ่งสำหรับเขาดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ผิด
สำหรับโบโรดิน เขามีความนิยมดนตรีมาก ถึงขนาดที่หลายคนห่วงว่าจะไปเบียดบังการศึกษาด้านเคมีของเขา ครั้งหนึ่งซีนินเตือนเขาว่า “ดอกเตอร์โบโรดิน คงจะดีกว่านี้ ถ้าคุณคิดเรื่องการเขียนเพลงน้อยลง ผมตั้งความหวังทุกอย่างไว้ที่คุณและอยากให้คุณมาสืบทอดงานของผมต่อในวันข้างหน้า คุณเสียเวลามากเกินไปในการคิดเรื่องดนตรี คนเราไม่สามารถเชี่ยวชาญสองอย่างได้หรอก”
เดิมนั้นโบโรดินตั้งใจจะไปทำงานในห้องปฏิบัติการของบุนเสน (Robert Wilhelm Bunsen : 2354 - 2442) ในเมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ตามคำแนะนำของซีนิน แต่เมื่อทราบสภาพเงื่อนไขของที่นั่นแล้ว โบโรดินก็ตัดสินใจว่าจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในเมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี โดยทำงานกับเพื่อนๆ คือ เมนเดเลเยฟ, เซเชนอฟ และบอตคิน ในห้องปฏิบัติการของ Privatdozent E Erlenmeyer (Privatdozent นั้นเป็นตำแหน่งทางวิชาการของผู้สอนในมหาวิทยาลัยในเยอรมนี ก่อนจะรับตำแหน่ง ศาสตราจารย์) ผู้ค้นพบกฎแอร์เลนเมเยอร์ ทุกคนที่เดินทางมานี้ ได้สร้างคุณประโยชน์แก่วงการเคมีของรัสเซียและของโลกเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเมนเดเลเยฟ (2377 – 2450) นั้น ได้สร้างตารางธาตุที่นักเรียนวิทยาศาสตร์ต้องเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา อีวาน เอ็ม เซเชนอฟ (2372 – 2448) เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันสรีรวิทยาของรัสเซีย ส่วนเซเชนอฟ และเซอร์ไก พี บอตคิน (2375 - 2432) ก็ได้สร้างโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของตนขึ้น มีลูกศิษย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลและเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงหลายคนด้วยกัน
เมื่อปลายปี 2403 โบโรดินก็เดินทางไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และอยู่ที่นั่นกระทั่งฤดูใบไม้ผลิปีถัดมา โดยได้ศึกษาตามคำแนะนำของซีนิน และได้เดินทางไปยังไฮเดลเบิร์กในปี 2404 ซึ่งได้พบกับภรรยาในอนาคต เธอเป็นสาวรัสเซีย วัย 29 ปี นามว่า คาเทรีนา โพรโทโพวา เวลานั้นเธอเดินทางมารักษาวัณโรคที่ไฮเดลเบิร์ก และทั้งสองมีความรักต่อกันด้วยดี และเมื่อแพทย์แนะนำให้เธอไปพักผ่อนในเมืองที่อบอุ่น ทั้งสองจึงพากันเดินทางไปที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี โดยที่โบโรดินทำงานต่อเนื่องกับนักเคมีที่มีชื่อเสียงสองคนในปิซา นั่นคือ ลุคคา และทัสซินารี
ระหว่างปี พ.ศ. 2403-5 โบโรดินได้ทำงานวิจัยของเขาในห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยในประเทศอิตาลี แม้ว่านักวิจัยชาวอิตาลีจะไม่คุ้นกับการรับนักวิจัยต่างชาติมากนักก็ตาม โบโรดินได้ใช้เบนซิลครอไรด์ทำปฏิกิริยากับโปแตสเซียม ไบฟลูออไรด์ งานชิ้นนี้ถือว่าสร้างชื่อเสียงให้แก่โบโรดินพอสมควรทีเดียว เพราะพันธะคาร์บอนที่มีกับฟลูออรีนนั้นแข็งแรงที่สุด ในบรรดาพันธะกับธาตุอื่นๆ และเป็นงานยากที่จะทำกับฟลูออรีน งานชิ้นนี้ตีพิมพ์เป็นภาษาอิตาลี ในวารสาร Nuovo Cimento และเขาได้ส่งให้เอร์เลนเมเยอร์ ในเยอรมนีซึ่งได้เขียนบทคัดย่อตีพิมพ์ในวารสาร Zeitschrift อย่างไรก็ตาม ในหลายปีต่อมา ได้มีการตีพิมพ์ผลงานที่คล้ายคลึงกันของฮุนสคีคเคอร์ บทความวิชาการระบุว่าเหตุที่ผลงานของโบโรดินไม่แพร่หลาย ก็เพราะการบรรยายของเขาไม่ชัดเจนเท่ากับผลงานในชั้นหลัง แม้ว่าเขาจะเป็นผู้บุกเบิกคนแรกก็ตาม
กลับเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
เมื่อปลายเดือนกันยายน 2405 โบโรดินก็เดินทางกลับสถาบันเดิม ที่เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก และได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด้านอินทรีย์เคมี นอกเหนือจากงานสอนแล้ว เขายังเป็นผู้บรรยายในสถาบันวนศาสตร์แห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นที่ปรึกษาด้านเคมีของนักอุตสาหกรรมและเมืองต่างๆ ในปี 2409 เขาได้รับเชิญให้ไปสำรวจแหล่งน้ำแร่และประเมินผลทางการแพทย์ในเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และยังมีทะเลสาบน้ำเค็มแห่งหนึ่งด้วย
ในฐานะเป็นผู้สอนนั้น โบโรดินเป็นที่รักใคร่ของลูกศิษย์และเพื่อนร่วมงานเสมอ เขาให้เวลาเต็มที่กับการตอบข้อสงสัยของนักศึกษาซึ่งสนิมสนมคุ้นเคยกันดี โบโรดินมักจะเตือนนักศึกษาเมื่อทำงานผิดพลาด ว่า “ถ้าเธอทำงานต่อไปอย่างนั้น ไม่นานเธอคงทำลายเครื่องมือดีๆ ของเราหมดแน่” หรือไม่ก็ “เธอทำกลิ่นร้ายๆ ในห้องทดลองสวยๆ นี่ได้ยังไง” แล้วเขาก็ให้นักศึกษาที่เลินเล่อผู้นั้นไปทำงานในห้องอื่น
นอกจากนี้ยังมีข้อความที่อ้างว่าโบโรดินกล่าวได้กล่าวไว้ เมื่อสอนนักศึกษาแพทย์ ให้ดูแลผู้ป่วยอย่างไร โดยกล่าวว่า “เราจะไม่รักษาไข้ แต่เราจะรักษาผู้ป่วย” (we never treat the sickness, we treat the sick)
แม้โบโรดินจะทำงานเป็นอาจารย์และนักวิจัยด้านเคมีที่นั่น ขณะเดียวกันเขาก็ยังรักงานด้านดนตรี แต่ไม่ค่อยจะมีเวลาให้มากนัก เนื่องจากภารกิจการงาน และภาระทางบ้าน กระนั้นก็ยังอุตส่าห์มีผลงานการประพันธ์ดนตรี อยู่บ้าง แม้ว่าไม่มากนัก โดยจัดเป็นหนึ่งใน “คีตกวีวันอาทิตย์”
ในช่วงต้นของการทำงาน โบโรดินได้พบกับมิลี บาลาคิเรฟ นักคณิตศาสตร์และนักดนตรี และได้ชักชวนให้รวมกลุ่มเป็น คณะพรรคทั้งห้า ได้แก่ มิลี บาลาคิเรฟ, เคซาร์ คุย, โมเดสท์ มุสซอร์กสกี, นิโคไล ริมสกี-คอร์ซาคอฟ และอะเล็กซานเดอร์ โบโรดิน (ชื่อกลุ่มในภาษารัสเซีย คือ มอร์กูซยา คูซคา ซึ่งหมายถึงกลุ่มเล็กๆ แต่ทรงพลัง อาจแปลว่า เล็กพริกขี้หนู ก็ได้) นักดนตรีกลุ่มนี้อุทิศตนเพื่อสร้างดนตรีสำนักใหม่ของรัสเซีย ในเวลาต่อมาทุกคนในกลุ่มได้มีส่วนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเมื่อถึงแก่กรรม ศพของทุกคนก็ถูกนำไปฝังในสุสานแห่งเดียวกันด้วย
โบโรดินนั้นเป็นนักดนตรีแนวชาตินิยมผู้ซื่อสัตย์ นิยมสอดแทรกดนตรีพื้นบ้านรัสเซียไว้ในงานดนตรีของเขา ครั้งหนึ่งเมื่อเขาเดินทางไปยุโรป เขาได้พบกับคีตกวีเอกท่านหนึ่ง คือ ฟรานซ์ ลิซท์ และได้สนิทสนมเป็นเพื่อนและที่ปรึกษางานดนตรีด้วย
แต่งงาน
“คาเทีย” ภรรยาของโบโรดิน
ภรรยาของโบโรดินชื่อ “คาเทีย” หรือ เอคาเทรีนา เซอร์เกเยฟนา โปรโตโปโปวา ทั้งสองพบกันครั้งแรกในเยอรมนี ขณะที่กำลังศึกษา ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งในสถาบันดังกล่าว และแต่งงานกันเมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2406 ภรรยาของเขาก็เป็นนักดนตรีด้วย เธอเป็นนักเปียโน โดยมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า "เพอร์เฟกต์พิตช์" คำนี้เป็นศัพท์ทางดนตรี หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะโน้ตเสียงและจังหวะทางดนตรีได้อย่างแม่นยำ รวมถึงการถ่ายทอดออกมาเป็นเสียงดนตรีที่แม่นยำตามนั้นด้วย แน่นอนว่าทั้งสองได้มีรสนิยมทางดนตรีที่คล้ายกัน และได้ชวนกันไปงานคอนเสิร์ตต่างๆ ของยุโรประหว่างที่ทั้งสองพักอยู่ที่นั่น ระหว่างนั้นโบโรดินได้ศึกษาแนวดนตรีของชาติต่างๆ ในยุโรป และซึมซับกับแนวดนตรีของเมนเดลส์ซอน ชูมันน์ และโชแปงด้วย
ชีวิตครอบครัวของทั้งสองนั้นค่อนข้างวุ่นวาย ที่อะพาร์ตเมนต์มักจะเต็มไปด้วยแขกที่ไม่ได้เชิญ และไม่มีเวลารับประทานอาหารที่แน่นอน นอกจากนี้ยังมีแมวจำนวนมาก ทั้งที่เลี้ยง และไม่ได้เลี้ยง เมื่อถึงช่วงฤดูร้อน โบโรดินและภรรยาจะเดินทางไปตากอากาศในชนบท เดินเท้าเปล่า โดยไม่มีภาระด้านการงานติดตัวมาด้วย
แม้ว่าคาเทียจะป่วยเรื้อรัง แต่โบโรดินก็เป็นสามีที่ซื่อสัตย์ และใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุขด้วยดี โดยไม่มีบุตร อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2412 โบโรดินได้เลี้ยงเด็กหญิงวัย 7 ขวบ ชื่อ ลิซา บาลาเนวา เป็นบุตรบุญธรรม และต่อมาก็รับเด็กหญิงอีกคนหนึ่ง ชื่อ "เอเลนา กูเซวา"
อาชีพนักเคมี
โบโรดินได้รับการยกย่องและได้รับความนับถืออย่างมากในรัสเซียเวลานั้นในฐานะนักเคมี โดยมีผลงานที่โดดเด่นคือ งานเกี่ยวกับสารประกอบจำพวกแอลดีไฮด์ (aldehydes) กล่าวคือ ในระหว่าง พ.ศ. 2402 – 2405 เขาได้ทำงานในฐานะนักวิจัยหลังปริญญาเอก ในเมืองไฮเดลเบิร์ก แห่งเยอรมนี โดยได้ทำงานเกี่ยวกับอนุพันธ์ของเบนซีน ในห้องปฏิบัติการของเอมิล เอร์เลนเมเยอร์ นอกจากนี้ยังเดินทางไปยังเมืองปิซา ประเทศอิตาลี เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบฮาโลเจน ในช่วงเวลาดังกล่าว รัสเซียถือว่าไม่ตื่นตัวมากนักในด้านเคมี ปฏิกิริยาที่เขาค้นพบ ได้แก่ การทำปฏิกิริยาของฟลูออรีนในสารประกอบอะโรมานิก (พ.ศ. 2405 แต่ผู้ได้รับการยกย่องคือ วูซ เลนซ์ ซึ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2420) และปฏิกิริยาอย่างใหม่ ระหว่างโบรมีน และเกลือเงินอินทรีย์ (พ.ศ. 2412 แต่ผู้ได้รับการยกย่อง คือ ฮุนสดีเคอร์ ซึ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2485)
มีการตีพิมพ์ผลงานวิชาการเมื่อ พ.ศ. 2405 เกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างคลอรีนและฟลูออรีน ในสารเบนซิลคลอไรด์ หลังจากนั้น ในปี 2482 ทางกลุ่มฮันสดีคเคอร์ได้ตีพิมพ์บทความว่าด้วยปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งทางตะวันตกเรียกกันว่า ปฏิกิริยาฮุนดีเดอร์ (Hunsdiecker reaction) แต่สหภาพโซเวียต เรียกปฏิกิริยานี้ว่า “ปฏิกิริยาโบโรดิน”
เมื่อ พ.ศ. 2404 โบโรดินเดินทางกลับยังสำนักการแพทย์-ศัลยศาสตร์ และทำงานอยู่ที่นั่น โดยได้ศึกษา ปฏิกิริยาการควบแน่นของแอลดีไฮด์ โมเลกุลเล็กๆ และตีพิมพ์ผลงานเหล่านี้เมื่อ พ.ศ. 2407 และ 2412 โดยเป็นงานที่ทำแข่งกับนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่ง คือ เอากุสต์ เคคูเล (August Kekule : 2372 - 2439)
ครั้งหนึ่งเมื่อโบโรดินไปประชุมสมาคมเคมีรัสเซีย เคคูเลกล่าวหาว่าโบโรดินขโมยผลงานของตน (ไม่ใช่ตัวงาน แต่หมายถึ’ความคิดในงานดังกล่าว) เขาตีพิมพ์เรื่องนี้ในวารสารของสมาคมเคมีเบอร์ลิน ทำให้โบโรดินอยากประกาศเรื่องที่ตนได้ค้บพบและบอกว่าตนเริ่มศึกษาปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ปี 2408 แต่เคคูเลเพิ่งเริ่มเมื่อปี 2413
ปฏิกิริยาอัลดอล
โบโรดินได้รับการยกย่องในฐานะผู้ค้นพบปฏิกิริยาอัลดอล (Aldol reaction) (ในภายหลังชาลส์ วูทซ์ ก็ได้ค้นพบปฏิกิริยาดังกล่าว) และเมื่อ พ.ศ. 2415 เขาได้ประกาศต่อสมาคมเคมีรัสเซีย ถึงการค้นพบผลพลอยได้ (by-product) ใหม่ในปฏิกิริยาแอลดีไฮดฺ์ โดยมีคุณสมบัติคล้ายกับผลพลอยได้ของแอลกอฮอล์ และเขาได้ตั้งข้อสังเกตถึงความคล้ายคลึงกันกับสารประกอบที่เคยอภิปรายมาแล้วในผลงานตีพิมพ์ของวูทซ์ ในปีนั้น
งานวิจัยทางเคมีส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับอินทรีย์เคมี เช่น การสำรวจเคมีของเบนซิดีน การเตรียมสารเอซิลฟลูออไรด์ การค้นพบปฏิกิริยาฮุนสดีคเคอร์ ตั้ง 73 ปีก่อนฮุนดีคเคอร์ พัฒนาวิธีการเชิงวิเคราะห์สำหรับยูเรีย และที่สำคัญที่สุด ก็คือ การศึกษาปฏิกิริยาการควบแน่นที่มีเบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และการพอลิเมอร์ไรซ์แอลดีไฮด์ อย่างไรก็ตามแวดวงการศึกษาที่นั่น (เมื่อเทียบกับที่อื่นในยุโรป) ยังถือว่าด้อย มีนักศึกษาวิจัยจำนวนน้อย มีหน้าที่รับผิดชอบการสอนสูง (เขายังเป็นหนึ่งในบุคคลยุคแรกๆ ที่ให้การศึกษาด้านการแพทย์สำหรับสตรีด้วย) ดังนั้นผลผลิตทางเคมีของเขา ก็มีจำนวนน้อย เช่นเดียวกับผลงานด้านดนตรี แต่หากจะพูดในแง่คุณภาพแล้ว นักวิจารณ์ส่วนหนึ่งยกย่องว่าผลงานด้านดนตรีของเขาโดดเด่นกว่าด้านเคมี
ในช่วงชีวิตของเขา การเป็นนักเคมีถือว่าสำคัญกว่า เขาเป็นเพื่อนสนิทของดมิตรี เมนเดเลเยฟ (ผู้คิดตารางฐานแบบปัจจุบัน) อ่านบทความวิชาการในเมืองไฮเดลเบิร์ก, บรัสเซลส์ และปารีส ตีพิมพ์ผลงานมากมายว่าด้วยแอลดีไฮด์ และเป็นศาสตราจารย์เต็มเวลา ที่สำนักการแพทย์-ศัลยศาสตร์ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่ออายุสามสิบเอ็ด และได้รับห้องปฏิบัติการเคมีส่วนตัวในปีต่อมา
โบโรดินตีพิมพ์ผลงานการวิจัยเกี่ยวกับไนโตรเจนน้อยมาก แต่การพัฒนาอุปกรณ์วัดยูเรียในปัสสาวะของสัตว์นั้นนับว่ามีนัยสำคัญ โดยในปี 2419 เขาได้ตีพิมพ์บทคัดย่อบรรยายถึงอุปกรณ์ดังกล่าว
บทความสมบูรณ์ชิ้นสุดท้ายของเขาตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2418 ว่าด้วยปฏิกิริยาของเอไมด์ และผลงานตีพิมพ์ครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับวิธีการเพื่อจำแนกยูเรียในปัสสาวะของสัตว์
นอกเหนือจากงานด้านปฏิบัติการแล้ว โบโรดินยังมีส่วนอย่างมากในการบริหารสถาบันดังกล่าว และยังได้ร่วมมือกับอาจารย์ท่านอื่นๆ ก่อตั้งหลักสูตรการแพทย์สำหรับสตรีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัสเซีย เพื่อ พ.ศ. 2415 ซึ่งเขาได้อุทิศตนกับงานดังกล่าวอย่างยิ่ง
งานด้านดนตรี
เนื่องจากต้องใช้เวลามากกับงานด้านเคมี โบโรดินจึงมีเวลาทำงานดนตรีไม่มากนัก งานดนตรีของเขาจึงเป็นงานอดิเรก เขาพูดติดตลก เตือนเพื่อนๆ ในแวดวงดนตรีว่าอวยพรให้เขามีสุขภาพดี เพราะเขาทำงานในห้องทดลองในช่วงที่สุขภาพดี และเขียนดนตรีในช่วงที่ไม่สบาย งานชิ้นเอก อย่างอุปรากรเรื่องเจ้าชายอิกอร์นั้น โบโรดินใช้เวลาประพันธ์ถึง 18 ปี แต่ก็ยังไม่เสร็จ นิโคไล ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ และอะเล็กซานดร กลาซูนอฟ มาช่วยแต่งต่อจนจบ ผลงานการแต่งเพลงชิ้นแรกของโบโรดินนั้น เป็นผลงานเมื่อเขาอายุเพียงเก้าขวบ เป็นเพลงโพลกา ในบันไดเสียงดี ไมเนอร์ ชื่อเพลง “เฮเลนา โปลกา” โดยแต่งเพื่อหญิงที่ชื่อเอเลนา
ฉากหนึ่งจากโอเปร่าเรื่อง "เจ้าชายอิกอร์"
โบโรดินยังได้ประพันธ์ดนตรีแชมเบอร์อีกจำนวนหนึ่ง และมีสตริงควอเตตอีกหลายชิ้น นอกจากนี้ยังมีทริโอ ในบันไดเสียงดีเมเจอร์ สำหรับไวโอลิน เชลโล และเปียโน ดนตรีที่ไพเราะเป็นพิเศษของเขานั้นเป็นที่นิยมกันในรัสเซีย และเริ่มมีการนำไปบรรเลงในตะวันตกด้วย และเริ่มมีการบรรเลงและบันทึกกันมากขึ้น
โบโรดินได้พบกับมิลี บาลากิเรฟ (Mily Balakirev) เมื่อ พ.ศ. 2405 ขณะที่เขากำลังแต่งซิมโฟนีเพลงแรกของเขา (โดยธรรมเนียม ก็จะเรียกว่า ซิมโฟนี หมายเลขหนึ่ง) มีการจัดบรรเลงครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยมีวาทยกร คือ มิลี บาลากิเรฟ และในปีเดียวกันนั้น โบโรดินก็เริ่มซิมโฟนีหมายเลขสอง (ในบันไดเสียง บี ไมเนอร์) แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ในการบรรเลงรอบปฐมฤกษ์ เมื่อปี 2422 แต่ในการบรรเลงครั้งย่อยๆ ในปีเดียวกัน กลับประสบความสำเร็จด้วยดี โดยวงดนตรีที่มีริมสกี-คอร์ซาคอฟควบคุมการบรรเลง
ในปี 2412 นั้น โบโรดินเริ่ม distracted จากงานช่วงแรกของซิมโฟนีหมายเลขสอง .. เจ้าชายอิกอร์ ซึ่งบางคนมองว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของเขา และเป็นหนึ่งในโอเปร่าที่มีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์เรื่องสำคัญที่สุดของรัสเซียทีเดียว ในโอเปร่าเรื่องนี้ยังมี Polovetsian Dances ซึ่งมักจะบรรเลงเป็นงานคอนเสิร์ตเอกเทศ ก็อาจนับเป็นผลงานประพันธ์ที่รู้จักกันดีที่สุดของโบโรดิน
ชื่อเสียงของโบโรดินด้านดนตรีในระดับนานาชาตินั้น เริ่มปรากฏ หลังจากปี พ.ศ. 2420 เมื่อเขาพบกับฟรานซ์ ลิสต์
ในปีเดียวกันนั้น เขาได้เริ่มเขียนโอเปร่า 3 องก์จบ เรื่อง เจ้าชายอิกอร์ โดยอิงเนื้อหาจากตำนานกองทัพของอิกอร์ ในสมัยคริสตศตวรรษที่สิบสอง เจ้าชายอิกอร์ถูกจับได้ พระองค์ชักชวนให้ทหารรื่นเริงโดยการเต้นรำแบบพื้นเมือง แต่ความคืบหน้าของงานนั้นดำเนินไปอย่างเชื่องช้า เพราะเขาต้องทำงานประจำ หลังจากปี พ.ศ. 2424 เขาได้วางมือจากโอเปร่านี้ไปราว 5 ปี
นับว่าน่าเสียดายที่โบโรดินต้องทิ้งผลงานโอเปร่านี้ และผลงานอื่นๆ จำนวนหนึ่งค้างไว้ สำหรับโอเปร่าเรื่องเจ้าชายอิกอร์นี้ นิโคไล ริมสกี-คอร์ซาคอฟ และอะเล็กซานเดอร์ กลาซูนอฟ ได้มาช่วยแต่งเพิ่มเติมจนเสร็จสมบูรณ์
ผลงานอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงของโบโรดิน ได้แก่ บทกวีซิมโฟนี ชื่อ ในทุ่งหญ้าสเตปปส์ของเอเชียกลาง และสตริงควอเตต ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์ (เขาแต่งสตริงควอเตตไว้สองเพลง) ประพันธ์ขึ้นในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 25 พรรษา ของพระเจ้าซาร์ อะเล็กซานเดอร์ที่สอง แห่งรัสเซีย ผลงานชิ้นนี้เขาอุทิศให้แก่ฟรานซ์ ลิสท์ นักประพันธ์ดนตรีชาวฮังการี ซึ่งโบโรดินเคยพบเมื่อ พ.ศ. 2420 เมื่อเขานำนักศึกษาวิชาเคมีสองคนเดินทางไปเยอรมนี เพื่อทำงานวิจัยที่เมืองเยนา
เมื่อถึงปี 2425 โบโรดินก็เริ่มแต่งซิมโฟนีเพลงที่สาม แต่แต่งไว้ยังไม่เสร็จ ก็ถึงแก่กรรมเสียก่อน ที่เขาแต่งค้างไว้สองท่าน มีนักประพันธ์ดนตรีมาแต่งและเรียบเรียงเพิ่มเติมจนสมบูรณ์ สำหรับผลงานอื่นๆ ได้แก่ บทเพลงเปียโนสั้นๆ และเพลงศิลปะ (art song) ที่มีชื่อเสียง ได้แก่เพลง Petite Suite
นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงสำหรับวงแชมเบอร์มิวสิกจำนวนหนึ่งด้วย เช่น สตริงควอเตตหลายเพลง และทริโอ ในบันไดเสียงดี เมเจอร์ สำหรับไวโอลิน เชลโล และเปียโน งานดนตรีของรัสเซียนั้นเริ่มเป็นที่รู้จักกันดีในเบลเยียมและฝรั่งเศส เมื่อโบโรดินเดินทางไปยังเบลเยียมในปี พ.ศ. 2428 – 2429 เขาก็พบว่างานของเขาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีในยุโรปตะวันตก ความไพเราะของบทเพลงเหล่านี้เป็นที่นิยมกันทั่วไปในรัสเซีย และเริ่มได้ยินไปในคอนเสิร์ตทางตะวันตกด้วย แม้กระทั่ง Kismet (1953) ท่วงทำนองก็มาจากบทเพลงของโบโรดิน ทำให้ผลงานของโบโรดินเป็นที่สนใจของโลกตะวันตก ซึ่งมีการแสดง และบันทึกกันมากขึ้น
อิทธิพลทางดนตรี
ชื่อเสียงของโบโรดินนอกจักรวรรดิรัสเซียในช่วงที่เขายังมีชีวิตนั้น อาจเป็นผลจากนักประพันธ์ดนตรีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง นั่นคือ ฟรานซ์ ลิสท์ ซึ่งได้จัดการบรรเลงซิมโฟนีเพลงแรกของโบโรดินในเยอรมนี เมื่อ พ.ศ. 2423 และโดยกองเตส เดอ แมกซี-อาร์เยนโตในประเทศเบลเยียมและฝรั่งเศส งานดนตรีของโบโรดินมีชื่อเสียงเป็นที่นิยม และมีอิทธิพลยืนยาวต่อนักประพันธ์ดนตรีรุ่นหนุ่มของฝรั่งเศส เช่น เคลาเดอ ดีบุชชี และเมาริซ ราเวล (ราเวลยังได้แต่งเพลงเพื่อรำลึกถึงโบโรดิน เมื่อ พ.ศ. 2456 เป็นบทเพลงเปียโน ตั้งชื่อว่า “À la manière de Borodine” มีความหมายว่า รำลึกถึงโบโรดิน นั่นเอง) ส่วนบทเพลง Borodin String Quartet ก็แต่งขึ้นและตั้งชื่อเพื่อรำลึกถึงเขา
ผลงานชิ้นสำคัญ
ออร์เคสตร้า
ซิมโฟนีหมายเลข 1 ในบันไดเสียง อีแฟลต (พ.ศ. 2405 -10)
ซิมโฟนีหมายเลข 2 ในบันไดเสียงบีไมเนอร์ (พ.ศ. 2412-9)
ซิมโฟนีหมายเลข 3 (แต่งไม่จบ)
บทกวีซิมโฟนี "In the Steppes of Central Asia" (ในทุ่งหญ้าสเตปปส์ของเอเชียกลาง) พ.ศ. 2423
สตริงควอเตต ในบันไดเสียง เอ
สตริงควอเตต ในบันไดเสียง ดี
Prince Igor (โอเปร่า) แต่งไม่จบ, ริมสกี-คอร์ซาคอฟ และกลาซูมอฟ มาช่วยแต่งต่อจนจบ
บทเพลงสั้น
Spyashchaya knyazhna (เจ้าหญิงนิทรา)
Morskaya tsarevna (เจ้าหญิงทะเล)
Pesnya tyomnovo lesa (บทเพลงแห่งป่าทึบ)
More (ทะเล)
Dlya beregov otchizni dal'noy (แก่ชายฝั่งมาตุภูมิของท่าน)
ผลงานด้านดนตรีของโบโรดินนับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับนักประพันธ์ดนตรีท่านอื่นๆ ทั้งนี้เพราะเขาต้องใช้เวลาในการสอนและวิจัยด้านเคมีไปด้วย
เขาได้ประพันธ์งานดนตรีชิ้นใหญ่เพียงสามชิ้นเท่านั้น มีซิมโฟนี 1 เพลง, สตริงควอเตต 1 เพลง และโทนโพเอ็มบทสั้นๆอีก 1 เพลง นอกจกานี้ก็มีเพลงอื่นๆประมาณ 5-6 เพลง และบทเพลงเปียโนชิ้นเล็กๆ ไม่กี่ชิ้น ส่วนซิมโฟนีเพลงที่ 2 และสตริงควอเตตเพลงที่ 2 ประพันธ์และบรรเลงขึ้น แต่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ (ปัจจุบันถือเป็นงานมาตรฐานทั้งสองชิ้น)
คุณลักษณะทั่วไปทางดนตรีของโบโรดินนั้นมีลักษณะประนีประนอม และแสดงความรักในชีวิต มีความโดดเด่นในเรื่องการใช้ภาษาบรรยายเนื้อเพลง เขาต้องการแสดงความเป็นรัสเซียในงานดนตรีของเขา แต่ไม่แสดงความรู้สึกของบุคลิกส่วนตัว
วาระสุดท้าย
รูปปั้นหน้าหลุมศพของโบโรดิน ในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ด้านหลังเป็นโน้ตจากบทเพลงที่เขาประพันธ์ขึ้น
โบโรดินเสียชีวิตเพราะหัวใจวาย ขณะไปร่วมงานเต้นรำ เมื่อวันที่ 15 (บางตำราว่า 27 หรือ 28) เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 ขณะที่เขามีอายุ 54 ปี เขาสวมเสื้อเชิร์ตสีแดง รองเท้าบู๊ตยาว อันเป็นชุดประจำชาติของรัสเซีย และไปเต้นรำด้วยความสนุกสนาน เวลานั้นภรรยาของเขาเดินทางไปพักผ่อนในกรุงมอสโคว์ งานนี้จัดขึ้นในหมู่อาจารย์และนักศึกษาสถาบันการแพทย์ทหารที่คุ้นเคย เขาเต้นรำกับคนโน้นคนนี้ ทักทายทุกคนอย่างเป็นกันเอง และในเวลาเที่ยงคืน ขณะที่เต้นอยู่นั้น โบโรดินก็ทรุดลงนอนกับพื้น แพทย์และอาจารย์ทุกคนตรูเข้าไปช่วย แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถรั้งชีวิตเขาเอาไว้ได้ ส่วนภรรยาของโบโรดินก็ถึงแก่กรรมหลังจากนั้นไม่กี่เดือน
สิบปีหลังจากโบโรดินถึงแก่กรรม รายได้จากอุปรากรเรื่องเจ้าชายอิกอร์มีมากถึง 50,000 รูเบิล เงินจำนวนนี้บริจาคแก่สถาบัน St. Petersburg Conservatoire ในรูปของทุนการศึกษาโบโรดิน สำหรับคอมโพสเซอร์รุ่นเยาว์
อนุสาวรีย์ของโบโรดินตั้งอยู่ในเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในฐานะผู้อำนวยการและผู้ร่วมก่อตั้งหลักสูตรการแพทย์สำหรับผู้หญิง เป็นครั้งแรกของรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2415
โบโรดินนั้นทุ่มเทกำลังกายกำลังใจแก่งานด้านเคมี การสอน และการศึกษาอย่างจริงจังในสถาบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และใช้เวลาที่เหลือกับงานอดิเรกที่ตนรัก คือการประพันธ์ดนตรี.
จูเซปเป แวร์ดี
จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (อังกฤษ: Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากโอเปร่าเรื่อง ลา ทราวิอาตา ไอด้า อัศวิโอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน
แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจอมจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเซโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรเวอร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของโอเปร่าเรื่อง ชายไว้เคราแห่งเมืองเซวิลยา (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคชิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโว ลาวินยา
ผลงานประพันธ์โอเปราเรื่องแรกของเขาได้แก่เรื่อง Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์เพลงประกอบละครตลกครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไกย์ นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของเวอร์ดิ และเขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขา
หลังจากที่โอเปร่าเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกัน
ในปีต่อมา โอเปร่าเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดีแต่เขาก็เห็นว่าการแสดงผลงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงโอเปร่าเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่างๆทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน
ในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์โอเปร่าเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซ
ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้ง จากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอะพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก
โอเปร่าเรื่องอื่น ๆ ได้ถูกประพันธืขึ้นในช่วงเวลานี้ได้แก่เรื่อง งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) เวอร์ดิได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่างๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก) จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่าๆมาแก้ไขเล็กๆน้อยๆ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส
ในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าและประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาก็ได้ประพันธ์บทเพลงให้ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครโอเปร่าแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ
ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงที่เขาได้ประพันธให้กับกลุ่มนักร้องประสานเสียงชาวยิวขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ)
เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิกเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิกเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้ริเริ่มการปลุกระดม ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») คีตกวีทราบถึงการนำชื่อของเขาไปใช้และตามหลักแล้วเขาควรจะบอกห้ามแต่ก็ไม่ได้ทำ เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกกนำเสนอในบทโอเปร่าเรื่อง I Lombardi
แวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสถ์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี
รายชื่อผลงาน
โอเปร่า
Oberto, Conte di San Bonifacio (17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1839 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
Un giorno di regno (5 กันยายน ค.ศ. 1840 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
Nabucco หรือ «Nabucodonosor» (9 มีตาคม ค.ศ. 1842 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
I Lombardi alla prima crociata (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1843 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
Ernani (9 มีนาคม ค.ศ. 1844 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
I due Foscari (3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1844 ที่โรงละครอาร์เจนตินา กรุงโรม)
Giovanna d'Arco (15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1845 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
Alzira (22 สิงหาคม ค.ศ. 1845 ที่โรงละครซันการ์โล เมืองเนเปิลล์)
Attila (17 มีนาคม ค.ศ. 1846 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
Macbeth (14 มีนาคม ค.ศ. 1847 ที่โรงละครเปอร์โกลา นครฟลอเรนซ์)
I Masnadieri (22 กรกฎาคม ค.ศ. 1847 ที่โรงละครควีนส์เทียเตอร์ กรุงลอนดอน)
Jérusalem ดัดแปลงจากเรื่อง «I Lombardi» (26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1847 ที่โรงอุปรากรแห่งกรุงปารีส)
Il Corsaro (25 ตุลาคม ค.ศ. 1848 ที่โรงละครเตอาโตรกรันเด เมืองทรีเอสต์)
La Battaglia di Legnano (27 มกราคม ค.ศ. 1849 ที่โรงละครอาร์เจนตินา ในกรุงโรม)
Luisa Miller (8 ธันวาคม ค.ศ. 1849 ที่โรงละครซันการ์โล เมืองเนเปิลส์)
Stiffelio 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1850 ที่โรงละครเตอาโตรกรันเด เมืองทรีเอสต์)
Rigoletto (11 มีนาคม ค.ศ. 1851 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
Il Trovatore (19 มกราคม ค.ศ. 1853 ที่โรงละครอาร์เจนตินา ในกรุงโรม)
La Traviata (6 มีนาคม ค.ศ. 1853 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
เรื่องงูพิษแห่งเกาะซิซิลี (13 มิถุนายน ค.ศ. 1855 ที่โรงอุปรากรแห่งกรุงปารีส)
Giovanna de Guzman ou «I vespri siciliani» ตัดแปลงจากเรื่องงูพิษแห่งเกาะซิซิลี (ค.ศ. 1856 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
Simon Boccanegra (12 มีนาคม ค.ศ. 1857 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
Aroldo ดัดแปลงจาเรื่อง «Stiffelio» (16 สิงหาคม ค.ศ. 1857 ที่โรงละครเตอาโตรนูโว เมืองทริมินี)
Un ballo in maschera (17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1859 ที่โรงละครอาร์เจนตินา ในกรุงโรม)
La Forza del Destino (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1862 ที่โรงละครหลวงแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)
Macbeth ภาคดัดแปลง (21 เมษายน ค.ศ. 1865 ที่โรงละครเตอาตร์ลีรีก กรุงปารีส)
Don Carlos (11 มีนาคม ค.ศ. 1867 ที่โรงอุปรากรแห่งกรุงปารีส)
ไอด้า (24 ธันวาคม ค.ศ. 1871 ที่โรงละครอิตาเลียน กรุงไคโร)
Don Carlo ดัดแปลงจากเรื่อง «Don Carlos» (ค.ศ. 1872 ที่โรงละครซันการ์โล เมืองเนเปิลส์)
Simon Boccanegra.
La force du destin ดัดแปลงจากเรื่อง «La Forza del Destino» (14 มีนาคม ค.ศ. 1883 ที่เมืองอองแวร์)
Don Carlo ดัดแปลงจากเรื่อง «Don Carlos» (10 มกราคม ค.ศ. 1884 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
อัศวินโอเทลโล (5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
Falstaff (9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1893 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
[แก้] บทเพลงขับร้อง
Sei Romanze (ค.ศ. 1838)
Non t'accostar all'urna (Jacopo Vittorelli)
More, Elisa, lo stanco poeta (Tommaso Bianchi)
In solitaria stanza (Vittorelli)
Nell' orror di note oscura (Carlo Angiolini)
Perduta ho la pace
Deh, pietoso, o addolorata
L'esule (ค.ศ. 1839) (Temistocle Solera)
La seduzione (ค.ศ. 1839) (Balestra)
Guarda che bianca luna: notturno (ค.ศ. 1839)
Album di Sei Romanze (ค.ศ. 1845)
Il tramonto (Andrea Maffei)
La zingara (S. Manfredo Maggioni)
Ad una stella (Maffei)
Lo Spazzocamino (Maggioni)
Il Mistero (Felice Romani)
Brindisi (Maffei)
Il poveretto (ค.ศ. 1847) (Maggioni)
L'Abandonée (ค.ศ. 1849) (Escudier?)
Stornello (ค.ศ. 1869) (annon.)
Pietà Signor (ค.ศ. 1894) (ประพันธ์ร่วมกับ Boito)
[แก้] บทเพลงทางศาสนา
เรควีเอ็ม (22 พฤษภาคม ค.ศ. 1874 ที่โรงละครลา สกาล่า นครมิลาน)
«Volgarizzati» da Dante (18 เมษายน ค.ศ. 1880 ที่นครมิลาน)
Pater noster (ค.ศ. 1873)
Ave Maria (ค.ศ. 1880)
Quattro Pezzi sacri (7 เมษายน ค.ศ. 1898 ที่กรุงปารีส)
Ave Maria
Stabat Mater
Laudi alla Vergine Maria
Te Deum
เพลงบรรเลง
Suona la tromba (ค.ศ. 1848) (Giuseppe Mameli)
Inno delle Nazioni (ค.ศ. 1862)
ควอร์เต็ตเครื่องสาย ในบันไดเสียงอีไมเนอร์ (ค.ศ. 1873)
วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
นักประพันธ์
1. Frédéric Chopin
Tags: [Frederic, Chopin, โชแปง, ประวัติ, นักประพันธ์] ... 2. Mozart กับ Twinkle Twinkle Little Star อะไรเกิดก่อนกัน
... ชื่อ "Twelve variations on Ah vous dirai-je, Maman K. 265 / K. 300e " เพื่อเป็นแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียน ซึ่งในขณะนั้นเขาอายุได้ประมาณ 26 ปี นอกจากนี้ ท่วงทำนองนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักประพันธ์อื่นอีกหลายท่านด้วยเช่น ... 3. Giacomo Puccini
... ระหว่างนักประพันธ์คำร้อง ลุยกิ อัลลิกา และ จูเซปเป จิอาโคซา ผู้ซึ่งร่วมงานกับเขาในโอเปร่าสามเรื่องต่อมา โดยมี La Bohème เป็นเรื่องแรก (จากโศกนาฏกรรมของอองรี มูร์แจร์) และได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของโอเปร่าโรแมนติก ... 4. Jacques Offenbach
... และที่ โรงละครชวน หัวฝรั่งเศสในกรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เข้าได้สร้างโรงละครส่วนตัวขึ้นเพื่อจะไว้เป็นที่เปิดแสดงผลงานที่เขา ประพันธ์ขึ้นเอง เขาได้ทำงานกับอองรี เมลัก และลุดวิก อาเลวี นักประพันธ์ละครสั้น ... 5. Franz Joseph Haydn
... ชีวิตไป เขาทำงานนานถึงสามสิบปี ซึ่งเป็นงานอันทรงเกียรติ ตลอดเวลาเขาจะได้สวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์อย่างสวยงาม ดำรงตำแหน่งที่มีมาแต่โบราณของตระกูลนี้ ไฮเดินมาหน้าที่ต้องรับผิดชอบมากมายหลายด้าน เป็นทั้งนักประพันธ์ ... 6. Erik Satie
เอริก ซาที เป็นคีตกวี นักเปียโน และนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อเดิม อัลเฟร็ด เอริก เลสลี่ ซาที เกิดที่เมืององเฟลอร์ จังหวัดกัลวาดอส วันที่17 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เสียชีวิตที่กรุงปารีส วันที่1 กรกฎาคม ... 7. Yuja wang (Pianist)
... 2009 ซึ่งทางนิตยสาร Gramophone กล่าวว่า “มันเป็นการผสมผสานของเทคนิคที่สุดยอดกับสัญชาตญาณอันหายากของนักประพันธ์เพลง” ซึ่งทางนิตยสารยังได้มอบรางวัล Classic Fm Gramophone Awards 2009 ในฐานะศิลปินรุ่นใหม่แห่งปีอีกด้วย ... 8. 23 กรกฏาคม Rachmaninoff and Wagner
เปียโนคอนแชร์โต้ เบอร์ 2 ของราคมานินอฟ กับวงไทยแลนด์ฟิลฮาร์โมนิคออเครสตร้า หนึ่งในบทเพลงที่ดังที่สุดของราคมานินอฟ การแสดงครั้งแรกนักประพันธ์เป็นผู้บรรเลงเปียโนเอง เปียโนคอนแชร์โต้ ... 9. ทริปเปิ้ล คอนแชร์โต้
... ตามต้นฉบับเพลงนี้จะมีความยาว 17 นาที นักเขียนชีวประวัติของเบโธเฟนผู้หนึ่งมีนามว่า Anton Schindler อ้างว่าเพลงทริปเปิ้ล คอนแชร์โต้ ถูกประพันธ์ขึ้นสำหรับเชื้อพระวงศ์นามว่า Archduke Rudolf ผู้ที่เป็นศิษย์และนักประพันธ์เพลงคนหนึ่งของเบโธเฟน ... 10. The Mozart Effect
นักประพันธ์เพลงคลาสสิคชั้นยอดของโลก ผู้ทิ้งผลงานสำคัญของโลกโดยจากไปเมื่ออายุเพียง 35 ปีเท่านั้น (เพิ่งรู้นะเนี่ย) โดยเรื่องราวที่เป็นประเด็นสนใจของคนในสมัยนี้ก็คือ The Mozart Effect นักประพันธ์เพลงคลาสสิคชั้นยอดของโลก ... 11. หมวดอักษร T
... ) คือทูบาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา ( ตั้งชื่อเป็นเกียรติยศแก่ จอห์น ฟิลิปส์ ซูซา นักประพันธ์เพลงชาวอเมริกัน ) โดยสวมพาดบ่าข้างซ้ายได้ ในขณะที่เล่น ลำโพงแตร ซึ่งมีขนาดใหญ่สามารถถอดเก็บไว้ในกล่องเพื่อการนำพาไปไหนมาไหนได้ ... 12. หมวดอักษร R
... เช่นกัน Romance ( โรมานซ์ ), (It. โรมานซา ) บทประพันธ์เพลงที่มีลักษณะโรแมนติกนุ่มนวลบทเพลงแห่งธรรมชาติที่น่าทะนุถนอม Romantic ( โรแมนติก ) แบบแผนการประพันธ์ที่พัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 19 ตามหลังยุคคลาสสิกดนตรีโรแมนติกย้ำทางด้านความรู้สึกมากกว่าคีตลักษณ์นักประพันธ์เพลงในยุคนีได้แก่ ... 13. หมวดอักษร O
... ฉากและเครื่องแต่งตัว พร้อมการบรรเลงประกอบด้วยออร์เคสตร้า Operetta ( โอเปอเรตตา ) ละครอุปรากรเรื่องขนาดสั้น ๆ ที่มีบทเจรจาอยู่บ้าง Opus ( โอปุส ) หมายถึงผลงานทางดนตรี คำย่อคือ op. หรือ Op. ส่วนมากนักประพันธ์เพลง ... 14. หมวดอักษร F
... 17และ 18 โดยมีพื้นฐานจากการร้อง ล้อเลียนกันอย่างอิสระ 2. ผลงานดนตรีที่นักประพันธ์เขียนขึ้นตามความรู้สึกไม่ได้เขียนตามข้อกำหนดไว้ของคีตลักษณ์ Feirlich (Gr. ไฟร์ลิคซ์) สนุกสนาน Fermamente (It. เฟอร์มาเม็นเต) ... 15. หมวดอักษร C
... ( ออร์แกนใช้ลม ) ขนาด 4 ฟุต มีเสียงแหลม 2. แตรอังกฤษขนาดเล็ก มีเสียงแหลม ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว Classical music ( คลาสสิคัล มิวสิก ) ดนตรีในระหว่างยุคสมัยของนักประพันธ์เพลงเช่นไฮเดิล , โมสาร์ท , และเบโธเฟน ... 16. หมวดอักษร A
... หรือการขับร้อง Arret ( อาเร้ท ) หยุด Ascap ( เอสเคพ ) ย่อมาจาก American society of composers, authors, and publishers ก่อตั้งในปี 1914 victor herbert เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของนักแต่งเพลง , นักประพันธ์ ... 17. Johann Sebastian Bach
... 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนนาค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น "แพชชั่น" บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค ... 18. Wolfgang Amadeus Mozart
วอล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท (เยอรมัน: Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคม พ.ศ. 2299 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1756 - 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซัลสบูร์ก ... 19. Canon in C (My Sassy Girl)
... เขาเป็นนักออร์แกนฝีมือดีและยังเป็นหัวหน้าคณะประสานเสียงอีกด้วย นอกจากนั้นเขายังเป็นนักประพันธ์เพลงสำหรับออร์แกนที่มีผลงานมากมาย รวมทั้งงานเพลงสำหรับฮาร์พสิคอร์ด เพลงร้อง (Arias) แชมเบอร์มิวสิค เพลงสวดในโบสถ์และ ... 20. Frédéric Chopin
... เขาได้กลายเป็นชู้รักของจอร์จเจอ ซ็องด์(George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของโช แปงทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด ...
Tags: [Frederic, Chopin, โชแปง, ประวัติ, นักประพันธ์] ... 2. Mozart กับ Twinkle Twinkle Little Star อะไรเกิดก่อนกัน
... ชื่อ "Twelve variations on Ah vous dirai-je, Maman K. 265 / K. 300e " เพื่อเป็นแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียน ซึ่งในขณะนั้นเขาอายุได้ประมาณ 26 ปี นอกจากนี้ ท่วงทำนองนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักประพันธ์อื่นอีกหลายท่านด้วยเช่น ... 3. Giacomo Puccini
... ระหว่างนักประพันธ์คำร้อง ลุยกิ อัลลิกา และ จูเซปเป จิอาโคซา ผู้ซึ่งร่วมงานกับเขาในโอเปร่าสามเรื่องต่อมา โดยมี La Bohème เป็นเรื่องแรก (จากโศกนาฏกรรมของอองรี มูร์แจร์) และได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของโอเปร่าโรแมนติก ... 4. Jacques Offenbach
... และที่ โรงละครชวน หัวฝรั่งเศสในกรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เข้าได้สร้างโรงละครส่วนตัวขึ้นเพื่อจะไว้เป็นที่เปิดแสดงผลงานที่เขา ประพันธ์ขึ้นเอง เขาได้ทำงานกับอองรี เมลัก และลุดวิก อาเลวี นักประพันธ์ละครสั้น ... 5. Franz Joseph Haydn
... ชีวิตไป เขาทำงานนานถึงสามสิบปี ซึ่งเป็นงานอันทรงเกียรติ ตลอดเวลาเขาจะได้สวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์อย่างสวยงาม ดำรงตำแหน่งที่มีมาแต่โบราณของตระกูลนี้ ไฮเดินมาหน้าที่ต้องรับผิดชอบมากมายหลายด้าน เป็นทั้งนักประพันธ์ ... 6. Erik Satie
เอริก ซาที เป็นคีตกวี นักเปียโน และนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อเดิม อัลเฟร็ด เอริก เลสลี่ ซาที เกิดที่เมืององเฟลอร์ จังหวัดกัลวาดอส วันที่17 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เสียชีวิตที่กรุงปารีส วันที่1 กรกฎาคม ... 7. Yuja wang (Pianist)
... 2009 ซึ่งทางนิตยสาร Gramophone กล่าวว่า “มันเป็นการผสมผสานของเทคนิคที่สุดยอดกับสัญชาตญาณอันหายากของนักประพันธ์เพลง” ซึ่งทางนิตยสารยังได้มอบรางวัล Classic Fm Gramophone Awards 2009 ในฐานะศิลปินรุ่นใหม่แห่งปีอีกด้วย ... 8. 23 กรกฏาคม Rachmaninoff and Wagner
เปียโนคอนแชร์โต้ เบอร์ 2 ของราคมานินอฟ กับวงไทยแลนด์ฟิลฮาร์โมนิคออเครสตร้า หนึ่งในบทเพลงที่ดังที่สุดของราคมานินอฟ การแสดงครั้งแรกนักประพันธ์เป็นผู้บรรเลงเปียโนเอง เปียโนคอนแชร์โต้ ... 9. ทริปเปิ้ล คอนแชร์โต้
... ตามต้นฉบับเพลงนี้จะมีความยาว 17 นาที นักเขียนชีวประวัติของเบโธเฟนผู้หนึ่งมีนามว่า Anton Schindler อ้างว่าเพลงทริปเปิ้ล คอนแชร์โต้ ถูกประพันธ์ขึ้นสำหรับเชื้อพระวงศ์นามว่า Archduke Rudolf ผู้ที่เป็นศิษย์และนักประพันธ์เพลงคนหนึ่งของเบโธเฟน ... 10. The Mozart Effect
นักประพันธ์เพลงคลาสสิคชั้นยอดของโลก ผู้ทิ้งผลงานสำคัญของโลกโดยจากไปเมื่ออายุเพียง 35 ปีเท่านั้น (เพิ่งรู้นะเนี่ย) โดยเรื่องราวที่เป็นประเด็นสนใจของคนในสมัยนี้ก็คือ The Mozart Effect นักประพันธ์เพลงคลาสสิคชั้นยอดของโลก ... 11. หมวดอักษร T
... ) คือทูบาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา ( ตั้งชื่อเป็นเกียรติยศแก่ จอห์น ฟิลิปส์ ซูซา นักประพันธ์เพลงชาวอเมริกัน ) โดยสวมพาดบ่าข้างซ้ายได้ ในขณะที่เล่น ลำโพงแตร ซึ่งมีขนาดใหญ่สามารถถอดเก็บไว้ในกล่องเพื่อการนำพาไปไหนมาไหนได้ ... 12. หมวดอักษร R
... เช่นกัน Romance ( โรมานซ์ ), (It. โรมานซา ) บทประพันธ์เพลงที่มีลักษณะโรแมนติกนุ่มนวลบทเพลงแห่งธรรมชาติที่น่าทะนุถนอม Romantic ( โรแมนติก ) แบบแผนการประพันธ์ที่พัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 19 ตามหลังยุคคลาสสิกดนตรีโรแมนติกย้ำทางด้านความรู้สึกมากกว่าคีตลักษณ์นักประพันธ์เพลงในยุคนีได้แก่ ... 13. หมวดอักษร O
... ฉากและเครื่องแต่งตัว พร้อมการบรรเลงประกอบด้วยออร์เคสตร้า Operetta ( โอเปอเรตตา ) ละครอุปรากรเรื่องขนาดสั้น ๆ ที่มีบทเจรจาอยู่บ้าง Opus ( โอปุส ) หมายถึงผลงานทางดนตรี คำย่อคือ op. หรือ Op. ส่วนมากนักประพันธ์เพลง ... 14. หมวดอักษร F
... 17และ 18 โดยมีพื้นฐานจากการร้อง ล้อเลียนกันอย่างอิสระ 2. ผลงานดนตรีที่นักประพันธ์เขียนขึ้นตามความรู้สึกไม่ได้เขียนตามข้อกำหนดไว้ของคีตลักษณ์ Feirlich (Gr. ไฟร์ลิคซ์) สนุกสนาน Fermamente (It. เฟอร์มาเม็นเต) ... 15. หมวดอักษร C
... ( ออร์แกนใช้ลม ) ขนาด 4 ฟุต มีเสียงแหลม 2. แตรอังกฤษขนาดเล็ก มีเสียงแหลม ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว Classical music ( คลาสสิคัล มิวสิก ) ดนตรีในระหว่างยุคสมัยของนักประพันธ์เพลงเช่นไฮเดิล , โมสาร์ท , และเบโธเฟน ... 16. หมวดอักษร A
... หรือการขับร้อง Arret ( อาเร้ท ) หยุด Ascap ( เอสเคพ ) ย่อมาจาก American society of composers, authors, and publishers ก่อตั้งในปี 1914 victor herbert เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของนักแต่งเพลง , นักประพันธ์ ... 17. Johann Sebastian Bach
... 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนนาค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น "แพชชั่น" บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค ... 18. Wolfgang Amadeus Mozart
วอล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท (เยอรมัน: Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคม พ.ศ. 2299 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1756 - 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซัลสบูร์ก ... 19. Canon in C (My Sassy Girl)
... เขาเป็นนักออร์แกนฝีมือดีและยังเป็นหัวหน้าคณะประสานเสียงอีกด้วย นอกจากนั้นเขายังเป็นนักประพันธ์เพลงสำหรับออร์แกนที่มีผลงานมากมาย รวมทั้งงานเพลงสำหรับฮาร์พสิคอร์ด เพลงร้อง (Arias) แชมเบอร์มิวสิค เพลงสวดในโบสถ์และ ... 20. Frédéric Chopin
... เขาได้กลายเป็นชู้รักของจอร์จเจอ ซ็องด์(George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของโช แปงทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด ...
วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
จูลส์ เวิร์น (Jules Verne)
นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส จูลส์ เวิร์น (Jules Verne) ผู้มีความสามารถ ในการแต่งนวนิยายวิทยาศาสตร์ ที่มีชื่อเสียง และนำมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ต่าง เช่น เรื่อง “ทเวนตี้ ทาวแซนด์ ลีกส์ อันเดอร์ เดอะ ซี” (Twenty Thousand Leagues Under the Sea) จูลส์เวิร์นเกิดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2371
จูลส์ เวิร์น นักประพันธ์ที่ได้ชื่อว่า สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วหน้าของศตวรรษที่ 20 ได้อย่างแม่นยำ เช่น การท่องเที่ยวไปในอวกาศ และเรือดำน้ำ เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญ ภายในบทประพันธ์ของเขานั้น ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ที่จูลส์ได้เขียนไว้ในนวนิยายของเขาเอง ซึ่งผลงานของเขา ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และยังมีการนำมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ เช่นเรื่อง “ทเวนตี้ ทาวแซนด์ ลีกส์ อันเดอร์ เดอะ ซี” (Twenty Thousand Leagues Under the Sea) ผลงานที่เขียนเมื่อปี 2413 และเรื่อง “อะราวน์ เดอะ เวิร์ล อิน เอทตี้ เดย์” (Around the World in Eighty Days )งานเขียนปี 2416
จูลส์ เวิร์น เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2371 ที่เมือง Nantes ประเทศฝรั่งเศส พ่อของเขามีอาชีพเป็นชาวประมง ซึ่งมันเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ภายในผลงานประพันธ์ของเขา เมื่อเป็นเด็กจูลส์ได้หลบหนีออกจากการเป็นเด็กรับใช้บนเรือสินค้า แต่เขาก็ถูกจับได้ และถูกส่งกลับไปหาพ่อ ต่อมาในปี พ.ศ.2390 จูลส์ถูกส่งไปเรียนวิชากฏหมายที่ปารีส ซึ่งที่นี่เองเขาเริ่มหลงใหลในความสวยงามของละครเวที หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2393 เขาก็ทำงานเขียนเป็นชิ้นแรก ในชีวิต ซึ่งพ่อของเขาโมโหมาก ที่จูลส์จะไม่เรียนด้านกฏหมายต่อไปแล้ว ดังนั้นพ่อจึงไม่ส่งเงินมาให้เขาใช้จ่ายในปารีสอีกเลย ซึ่งมันเป็นการฝืนใจจูลส์มาก ที่ต้องขายงานเขียนของเขาเพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่าย
หลังจากใช้เวลานานหลายชั่วโมง ในห้องสมุดของปารีส เพื่อศึกษาธรณีวิทยา วิศวกรรมและดาราศาสตร์ จูลส์จึงได้ตีพิมพ์นวนิยาย เรื่องแรกในชีวิต เรื่อง “ไฟว์วีค อิน อะ บอลลูน” (Five Weeks in a Balloon) ในไม่ช้า เขาก็มีนวนิยายออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น “เจอร์นี ทู เดอะ เซนเตอร์ ออฟเอิร์ธ” (Journey to the Center of the Earth) ปี พ.ศ.2407 , “ฟอร์ม เดอะ เอิร์ธ ทู เดอะมูน” (From the Earth to the Moon) ปี พ.ศ.2409 และเรื่อง “ทเวนตี้ ทาวแซนด์ ลีกส์ อันเดอร์ เดอะ ซี” (Twenty Thousand Leagues Under the Sea) ปี พ.ศ.2416 เพราะผลงานเหล่านี้ เป็นทิ่นิยมมาก และรวมไปถึงนวนิยายเรื่องอื่นด้วย จึงทำให้จูลส์ เวิร์นกลายเป็นคนที่รวยมาก ในปี พ.ศ.2419 เขาซื้อเรือยอร์ชขนาดใหญ่ และแล่นเรือท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป ซึ่งผลงานเรื่องสุดท้ายของเขาคือ เรื่อง “เดอะ อินเวชั่น ออฟ เดอะ ซี” (The Invasion of the Sea)ใ นปี พ.ศ.2448 จูลส์ เวริ์น เสียชีวิตในเมืองอามานี (Amines) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2448
จูลส์ เวิร์น นักประพันธ์ที่ได้ชื่อว่า สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วหน้าของศตวรรษที่ 20 ได้อย่างแม่นยำ เช่น การท่องเที่ยวไปในอวกาศ และเรือดำน้ำ เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญ ภายในบทประพันธ์ของเขานั้น ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ที่จูลส์ได้เขียนไว้ในนวนิยายของเขาเอง ซึ่งผลงานของเขา ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และยังมีการนำมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ เช่นเรื่อง “ทเวนตี้ ทาวแซนด์ ลีกส์ อันเดอร์ เดอะ ซี” (Twenty Thousand Leagues Under the Sea) ผลงานที่เขียนเมื่อปี 2413 และเรื่อง “อะราวน์ เดอะ เวิร์ล อิน เอทตี้ เดย์” (Around the World in Eighty Days )งานเขียนปี 2416
จูลส์ เวิร์น เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2371 ที่เมือง Nantes ประเทศฝรั่งเศส พ่อของเขามีอาชีพเป็นชาวประมง ซึ่งมันเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ภายในผลงานประพันธ์ของเขา เมื่อเป็นเด็กจูลส์ได้หลบหนีออกจากการเป็นเด็กรับใช้บนเรือสินค้า แต่เขาก็ถูกจับได้ และถูกส่งกลับไปหาพ่อ ต่อมาในปี พ.ศ.2390 จูลส์ถูกส่งไปเรียนวิชากฏหมายที่ปารีส ซึ่งที่นี่เองเขาเริ่มหลงใหลในความสวยงามของละครเวที หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2393 เขาก็ทำงานเขียนเป็นชิ้นแรก ในชีวิต ซึ่งพ่อของเขาโมโหมาก ที่จูลส์จะไม่เรียนด้านกฏหมายต่อไปแล้ว ดังนั้นพ่อจึงไม่ส่งเงินมาให้เขาใช้จ่ายในปารีสอีกเลย ซึ่งมันเป็นการฝืนใจจูลส์มาก ที่ต้องขายงานเขียนของเขาเพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่าย
หลังจากใช้เวลานานหลายชั่วโมง ในห้องสมุดของปารีส เพื่อศึกษาธรณีวิทยา วิศวกรรมและดาราศาสตร์ จูลส์จึงได้ตีพิมพ์นวนิยาย เรื่องแรกในชีวิต เรื่อง “ไฟว์วีค อิน อะ บอลลูน” (Five Weeks in a Balloon) ในไม่ช้า เขาก็มีนวนิยายออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น “เจอร์นี ทู เดอะ เซนเตอร์ ออฟเอิร์ธ” (Journey to the Center of the Earth) ปี พ.ศ.2407 , “ฟอร์ม เดอะ เอิร์ธ ทู เดอะมูน” (From the Earth to the Moon) ปี พ.ศ.2409 และเรื่อง “ทเวนตี้ ทาวแซนด์ ลีกส์ อันเดอร์ เดอะ ซี” (Twenty Thousand Leagues Under the Sea) ปี พ.ศ.2416 เพราะผลงานเหล่านี้ เป็นทิ่นิยมมาก และรวมไปถึงนวนิยายเรื่องอื่นด้วย จึงทำให้จูลส์ เวิร์นกลายเป็นคนที่รวยมาก ในปี พ.ศ.2419 เขาซื้อเรือยอร์ชขนาดใหญ่ และแล่นเรือท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป ซึ่งผลงานเรื่องสุดท้ายของเขาคือ เรื่อง “เดอะ อินเวชั่น ออฟ เดอะ ซี” (The Invasion of the Sea)ใ นปี พ.ศ.2448 จูลส์ เวริ์น เสียชีวิตในเมืองอามานี (Amines) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2448
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เฟรเดริก โชแปง
ประวัติ
โชแปงเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 (ตามบันทึกของสังฆมณฑลบอกว่าเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์) ที่เมือง เซลาโซวา โวลาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ บิดาของโชแปงเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมารังวิลล์-ซูร์-มาดง (Marainville-sur-Madon) ในแคว้นลอแรนน์ มารดาเป็นชาวโปแลนด์ โชแปงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุหกขวบ (พ.ศ. 2359) และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ (พ.ศ. 2360) และเปิดการแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่ออายุแปดขวบ (ค.ศ. 1818) ครูสอนดนตรีคนแรกของโชแปงได้แก่ โวซีเอค ซีนี(Wojciech Żywny) และหลังจากปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีจากโจเซฟ เอลส์เนอร์ (Joseph Elsner) เป็นหลัก
ในปี พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) เขาได้จากโปแลนด์ประเทศบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพนักดนตรีที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ใช้ช่วงชีวิตที่เหลือพำนักอยู่ที่กรุงปารีส หรือไม่ก็ในบริเวณใกล้เคียง เขาตกหลุมรักสาวนางหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ ความรักที่เขามีต่อหล่อนได้เป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง "บัลลาด หมายเลข 1 โอปุสที่ 23" ที่แสนไพเราะ รวมถึงมูฟเมนท์ที่สองของคอนแชร์โต้หมายเลขหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838) ถึง 2390 (ค.ศ. 1847) เขาได้กลายเป็นชู้รักของจอร์จเจอ ซ็องด์(George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของโชแปงทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด เห็นจะได้แก่เหตุการณ์ในเกาะมายอร์ก้า ประเทศสเปน ในช่วงที่โชแปงใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่อย่างอนาถในบ้านชาวนาโดยปราศจากเครื่องทำความร้อน บทเพลงเขาได้ประพันธ์ระหว่างช่วงเวลาอันน่าสังเวชนี้ได้แก่พรีลูด โอปุสที่ 28 อันพรรณนาถึงความสิ้นหวังของทั้งคู่ ช่วงเวลาดังกล่าวได้มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของโชแปง ที่ป่วยจากวัณโรคเรื้อรัง ทำให้เขาและจอร์จเจอ ซ็องด์ต้องตัดสินใจเดินทางกลับกรุงปารีสเพื่อรักษาชีวิตของโชแปงเอาไว้ เขารอดชีวิตมาได้ก็จริง แต่ก็ไม่หายขาดจากอาการป่วย จนกระทั่งจบชีวิตอย่างน่าสลดด้วยวัยเพียง 39 ปี
โชแปงสนิทกับฟรานซ์ ลิซท์ (Franz Liszt) วินเซนโซ เบลลินี (Vincenzo Bellini - ผู้ซึ่งศพถูกฝังอยู่ใกล้กับเขาที่สุสานแปร์ ลาแชสในกรุงปารีส) และยูจีน เดอลาครัวซ์ เขายังเป็นเพื่อนกับคีตกวีเฮกเตอร์ แบร์ลิออซ (Hector Berlioz) และโรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) และแม้ว่าโชแปงจะได้มอบบทเพลงบางบทเพื่ออุทิศให้เพื่อนนักประพันธ์ทั้งสองก็ตาม แต่เขาก็ไม่ค่อยประทับใจกับบทเพลงที่ทั้งสองแต่ขึ้นสักเท่าไหร่นัก เขาได้ขอร้องให้ร้องเพลงสวดเรควีเอ็มของโมซาร์ทในงานศพของเขา แต่เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) พิธีศพที่จัดขึ้นที่โบสถ์ ลา มัดเดอเล็น(La Madeleine)ไม่ได้ราบเรียบเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มีการขออนุญาตให้ใช้วงประสานเสียงสตรีในการร้องเพลงสวด ข่าวอื้อฉาวดังกล่าวได้แพร่ออกไปส่งผลให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไปอีกสองสัปดาห์ แต่ในที่สุดโบสถ์ก็ยอมรับคำขอดังกล่าว ทำให้คำขอร้องครั้งสุดท้ายของโชแปงก็เป็นจริงขึ้นมา
ผลงานทุกชิ้นของโชแปงเป็นผลงานชิ้นเอก รวมถึงเพลงบรรเลงสำหรับเปียโน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเดี่ยวเปียโน งานประพันธ์ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานมีเพียงคอนแชร์โต้สองบท โปโลเนส(polonaise)หนึ่งบท รอนโด้(rondo)หนึ่งบท และวาริอาซิยง(variation)อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวงออเคสตร้า เพลงเชมเบอร์มิวสิคมีเพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาได้นำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับออกุสต์ ฟร็องชอมม์ (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิคของโชแปงได้ใช้เชลโล่บรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน
บทเพลงสำหรับบรรเลงเปียโน เรียงลำดับตามหมายเลขของโอปุส
Opus
1 รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1825)
2 วาริอาซิยง สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า จาก „Lá ci darem la mano“ ของโมซาร์ท (Mozart) ในบันไดเสียง H (1827/8)
3 อังโทรดุกซิยง และโปโลเนส สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง c (1829)
4 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 1 ในบันไดเสียง c (1828)
5 รอนโด้ อา ลา มาซูร์ ในบันไดเสียง f (1826/7)
6 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง fis, cis, E, es(1830/2)
7 มาซูร์ก้าห้าบท ในบันไดเสียง B, a, f, As, C (1830/2)
8 ทริโอ้ สำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล่ ในบันไดเสียง g (1829)
9 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง b, Es, H (1830/2)
10 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่สหายฟร้านซ์ ลิซ)ในบันไดเสียง C, a, E, cis, Ges, es, C, F, f, As, Es, c (1830/2)
11 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 1 ในบันไดเสียง e (1830)
12 อังโทรดุกซิยง และวาริอาซิยง บริลย็องต์ จาก „Je vends des scapulaires“ ของ „Ludovic“ d’Hérold ในบันไดเสียง B (1833)
13 ฟ็องเตซีสำหรับเปียโนและออเคสตร้า จากทำนองเพลงของโปแลนด์ ในบันไดเสียง A (1829)
14 รอนโด้ของชาวคราโควี สำหรับเปียโนและออเคสตร้า ในบันไดเสียง F (1831/3)
15 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง F, Fis, g (1831/3)
16 อังโทรดุกซิยง และ รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1829)
17 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง B, e, As, a (1831/3)
18 กร็องด์ วาลซ์ บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1833)
19 โบเลอโรในบันไดเสียง C (etwa 1833)
20 แชโซหมายเลข 1 ในบันไดเสียง h (1831/4)
21 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 2 ในบันไดเสียง f (1829/30)
22 อานดันเต้ สปิอานาโต้ และ กร็องด์ โปโลเนส บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1830/6)
23 บัลลาด หมายเลข 1 ในบันไดเสียง g (1835)
24 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง g, C, As, b (1833/6)
25 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่มาดามก็องเตส โดกุลต์)ในบันไดเสียง As, f, F, a, e, gis, cis, Des, Ges, h, a, c (1833/7)
26 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง cis, es (1831/6)
27 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง cis, Des (1833/6)
28 พรีลูด 24 บทในทุกบันไดเสียง (1838/9)
29 อิมพร็อมตู หมายเลข 1 ในบันไดเสียง As (etwa 1837)
30 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง c, h, Des, cis (1836/7)
31 แชโซหมายเลข 2 ในบันไดเสียง b (1835/7)
32 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, As (1835/7)
33 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง gis, D, C, h (1836/8)
34 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง As, a, F (1831/8)
35 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 2 ในบันไดเสียง b-moll (1839)
36 อิมพร็อมตู หมายเลข 2 ในบันไดเสียง Fis (1839)
37 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง g, G (1837/9)
38 บัลลาด หมายเลข 2 ในบันไดเสียง F (1839)
39 แชโซหมายเลข 3 ในบันไดเสียง cis (1839)
40 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง A (เรียกอีกชื่อว่า„Militaire“)และบันไดเสียง c (1838/9)
41 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง cis, e, H, As (1838/9)
42 กร็องด์ วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1839/40)
43 ทาแรนเทลลาในบันไดเสียง as (1841)
44 โปโลเนส ในบันไดเสียง fis (1841)
45 พรีลูด (1838/39)
46 อัลเลโกร ของคอนแชร์โต้ (1832/41)
47 บัลลาด หมายเลข 3 ในบันไดเสียง As (1841)
48 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง c, fis (1841)
49 ฟ็องเตซีในบันไดเสียง f (1841)
50 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง G, As, cis (1841/2)
51 อิมพร็อมตู หมายเลข 3 ในบันไดเสียง Ges (1842)
52 บัลลาด หมายเลข 4 ในบันไดเสียง f (1842)
53 โปโลเนส ในบันไดเสียง As เรียกอีกชื่อว่า(„Héroïque“) (1842)
54 แชโซหมายเลข 4 ในบันไดเสียง E (1842)
55 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง f, Es (1843)
56 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, C, c (1843)
57 แบร์เซิร์ส (เพลงกล่อมเด็ก) ในบันไดเสียง Des (1844)
58 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 3 ในบันไดเสียง h (1844)
59 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง a, As, fis (1845)
60 บาคาโรเล่ ในบันไดเสียง fis (1846)
61 โปโลเนส ฟ็องเตซี ในบันไดเสียง As (1846)
62 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, E (1845/6)
63 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, f, cis (1846)
64 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Des เรียกอีกชื่อว่า(„Valse minute“), cis, As (1840/7)
65 โซนาต้า สำหรับ เชลโล่ และเปียโนในบันไดเสียง g (1846/7)
บทประพันธ์ที่ได้รับการเผยแพร่หลังจากการเสียชีวิต:
66 ฟ็องเตซี อิมพร็อมตู หมายเลข 4, cis (vers 1843)
67 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง G, g, C, a (1830/49)
68 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง C, a, F, f (1830/49)
69 วาลซ์ สองบท ในบันไดเสียง As, h (1829/35)
70 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Ges, As, Des (1829/41)
71 โปโลเนส สามบท ในบันไดเสียง d, B, f (1824/28)
72.1 น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e
72.2 บทเพลงไม่ทราบชื่อ
72.3 เอกอร์เซส สามบท ในบันไดเสียง D, G, Des (vers 1829)
73 รอนโด้ สำหรับเปียใน ในบันไดเสียง C (1828)
74 บทเพลง ที่ใช้ทำนองของโปแลนด์ (1829/47)
บทเพลงที่ปราศจากหมายเลขโอปุส:
โปโลเนส ในบันไดเสียง B (1817)
โปโลเนส ในบันไดเสียง g (1817)
โปโลเนส ในบันไดเสียง As (1821)
อังโทรดุกซิยงและวาริอาซิยง สำหรับบทเพลงของเยอรมัน ในบันไดเสียง E (1824)
โปโลเนส ในบันไดเสียง gis (1824)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1825/26)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1825/26)
วาริอาซิยง สำหรับเปียโนสี่มือ ในบันไดเสียง D (1825/26)
เพลงมาร์ชงานศพ ในบันไดเสียง c (1837)
โปโลเนส ในบันไดเสียง b (1826)
น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e (1828/30)
ซูเวอร์นีร์ เดอ ปากานีนี ในบันไดเสียง A (1829)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1829)
วาลซ์ ในบันไดเสียง E (1829)
วาลซ์ ในบันไดเสียง Es (1829)
มาซูร์ก้าพร้อมบทร้องบางส่วน ในบันไดเสียง G (1829)
วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1829)
วาลซ์ ในบันไดเสียง e (1830)
ซารี่พร้อมบทร้องบางส่วน (1830)
โปโลเนส ในบันไดเสียง Ges (1830)
เลนโต้ ก็อน กราน เอสเปรสซิออน (Lento con gran espressione) ในบันไดเสียง cis (1830)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1832)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง D (1832)
คอนแชร์โต้ กร็องด์ ดูโอ สำหรับบทละครเรื่อง "Robert le Diable" ของ เมอแยร์แบร์ (Meyerbeer) สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง E (1832/33)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง C (1833)
คานตาบิลเล ในบันไดเสียง B (1834)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง As (1834)
โชแปงเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 (ตามบันทึกของสังฆมณฑลบอกว่าเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์) ที่เมือง เซลาโซวา โวลาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ บิดาของโชแปงเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมารังวิลล์-ซูร์-มาดง (Marainville-sur-Madon) ในแคว้นลอแรนน์ มารดาเป็นชาวโปแลนด์ โชแปงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุหกขวบ (พ.ศ. 2359) และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ (พ.ศ. 2360) และเปิดการแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่ออายุแปดขวบ (ค.ศ. 1818) ครูสอนดนตรีคนแรกของโชแปงได้แก่ โวซีเอค ซีนี(Wojciech Żywny) และหลังจากปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีจากโจเซฟ เอลส์เนอร์ (Joseph Elsner) เป็นหลัก
ในปี พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) เขาได้จากโปแลนด์ประเทศบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพนักดนตรีที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ใช้ช่วงชีวิตที่เหลือพำนักอยู่ที่กรุงปารีส หรือไม่ก็ในบริเวณใกล้เคียง เขาตกหลุมรักสาวนางหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ ความรักที่เขามีต่อหล่อนได้เป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง "บัลลาด หมายเลข 1 โอปุสที่ 23" ที่แสนไพเราะ รวมถึงมูฟเมนท์ที่สองของคอนแชร์โต้หมายเลขหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838) ถึง 2390 (ค.ศ. 1847) เขาได้กลายเป็นชู้รักของจอร์จเจอ ซ็องด์(George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของโชแปงทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด เห็นจะได้แก่เหตุการณ์ในเกาะมายอร์ก้า ประเทศสเปน ในช่วงที่โชแปงใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่อย่างอนาถในบ้านชาวนาโดยปราศจากเครื่องทำความร้อน บทเพลงเขาได้ประพันธ์ระหว่างช่วงเวลาอันน่าสังเวชนี้ได้แก่พรีลูด โอปุสที่ 28 อันพรรณนาถึงความสิ้นหวังของทั้งคู่ ช่วงเวลาดังกล่าวได้มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของโชแปง ที่ป่วยจากวัณโรคเรื้อรัง ทำให้เขาและจอร์จเจอ ซ็องด์ต้องตัดสินใจเดินทางกลับกรุงปารีสเพื่อรักษาชีวิตของโชแปงเอาไว้ เขารอดชีวิตมาได้ก็จริง แต่ก็ไม่หายขาดจากอาการป่วย จนกระทั่งจบชีวิตอย่างน่าสลดด้วยวัยเพียง 39 ปี
โชแปงสนิทกับฟรานซ์ ลิซท์ (Franz Liszt) วินเซนโซ เบลลินี (Vincenzo Bellini - ผู้ซึ่งศพถูกฝังอยู่ใกล้กับเขาที่สุสานแปร์ ลาแชสในกรุงปารีส) และยูจีน เดอลาครัวซ์ เขายังเป็นเพื่อนกับคีตกวีเฮกเตอร์ แบร์ลิออซ (Hector Berlioz) และโรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) และแม้ว่าโชแปงจะได้มอบบทเพลงบางบทเพื่ออุทิศให้เพื่อนนักประพันธ์ทั้งสองก็ตาม แต่เขาก็ไม่ค่อยประทับใจกับบทเพลงที่ทั้งสองแต่ขึ้นสักเท่าไหร่นัก เขาได้ขอร้องให้ร้องเพลงสวดเรควีเอ็มของโมซาร์ทในงานศพของเขา แต่เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) พิธีศพที่จัดขึ้นที่โบสถ์ ลา มัดเดอเล็น(La Madeleine)ไม่ได้ราบเรียบเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มีการขออนุญาตให้ใช้วงประสานเสียงสตรีในการร้องเพลงสวด ข่าวอื้อฉาวดังกล่าวได้แพร่ออกไปส่งผลให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไปอีกสองสัปดาห์ แต่ในที่สุดโบสถ์ก็ยอมรับคำขอดังกล่าว ทำให้คำขอร้องครั้งสุดท้ายของโชแปงก็เป็นจริงขึ้นมา
ผลงานทุกชิ้นของโชแปงเป็นผลงานชิ้นเอก รวมถึงเพลงบรรเลงสำหรับเปียโน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเดี่ยวเปียโน งานประพันธ์ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานมีเพียงคอนแชร์โต้สองบท โปโลเนส(polonaise)หนึ่งบท รอนโด้(rondo)หนึ่งบท และวาริอาซิยง(variation)อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวงออเคสตร้า เพลงเชมเบอร์มิวสิคมีเพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาได้นำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับออกุสต์ ฟร็องชอมม์ (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิคของโชแปงได้ใช้เชลโล่บรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน
บทเพลงสำหรับบรรเลงเปียโน เรียงลำดับตามหมายเลขของโอปุส
Opus
1 รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1825)
2 วาริอาซิยง สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า จาก „Lá ci darem la mano“ ของโมซาร์ท (Mozart) ในบันไดเสียง H (1827/8)
3 อังโทรดุกซิยง และโปโลเนส สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง c (1829)
4 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 1 ในบันไดเสียง c (1828)
5 รอนโด้ อา ลา มาซูร์ ในบันไดเสียง f (1826/7)
6 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง fis, cis, E, es(1830/2)
7 มาซูร์ก้าห้าบท ในบันไดเสียง B, a, f, As, C (1830/2)
8 ทริโอ้ สำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล่ ในบันไดเสียง g (1829)
9 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง b, Es, H (1830/2)
10 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่สหายฟร้านซ์ ลิซ)ในบันไดเสียง C, a, E, cis, Ges, es, C, F, f, As, Es, c (1830/2)
11 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 1 ในบันไดเสียง e (1830)
12 อังโทรดุกซิยง และวาริอาซิยง บริลย็องต์ จาก „Je vends des scapulaires“ ของ „Ludovic“ d’Hérold ในบันไดเสียง B (1833)
13 ฟ็องเตซีสำหรับเปียโนและออเคสตร้า จากทำนองเพลงของโปแลนด์ ในบันไดเสียง A (1829)
14 รอนโด้ของชาวคราโควี สำหรับเปียโนและออเคสตร้า ในบันไดเสียง F (1831/3)
15 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง F, Fis, g (1831/3)
16 อังโทรดุกซิยง และ รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1829)
17 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง B, e, As, a (1831/3)
18 กร็องด์ วาลซ์ บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1833)
19 โบเลอโรในบันไดเสียง C (etwa 1833)
20 แชโซหมายเลข 1 ในบันไดเสียง h (1831/4)
21 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 2 ในบันไดเสียง f (1829/30)
22 อานดันเต้ สปิอานาโต้ และ กร็องด์ โปโลเนส บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1830/6)
23 บัลลาด หมายเลข 1 ในบันไดเสียง g (1835)
24 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง g, C, As, b (1833/6)
25 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่มาดามก็องเตส โดกุลต์)ในบันไดเสียง As, f, F, a, e, gis, cis, Des, Ges, h, a, c (1833/7)
26 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง cis, es (1831/6)
27 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง cis, Des (1833/6)
28 พรีลูด 24 บทในทุกบันไดเสียง (1838/9)
29 อิมพร็อมตู หมายเลข 1 ในบันไดเสียง As (etwa 1837)
30 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง c, h, Des, cis (1836/7)
31 แชโซหมายเลข 2 ในบันไดเสียง b (1835/7)
32 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, As (1835/7)
33 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง gis, D, C, h (1836/8)
34 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง As, a, F (1831/8)
35 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 2 ในบันไดเสียง b-moll (1839)
36 อิมพร็อมตู หมายเลข 2 ในบันไดเสียง Fis (1839)
37 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง g, G (1837/9)
38 บัลลาด หมายเลข 2 ในบันไดเสียง F (1839)
39 แชโซหมายเลข 3 ในบันไดเสียง cis (1839)
40 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง A (เรียกอีกชื่อว่า„Militaire“)และบันไดเสียง c (1838/9)
41 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง cis, e, H, As (1838/9)
42 กร็องด์ วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1839/40)
43 ทาแรนเทลลาในบันไดเสียง as (1841)
44 โปโลเนส ในบันไดเสียง fis (1841)
45 พรีลูด (1838/39)
46 อัลเลโกร ของคอนแชร์โต้ (1832/41)
47 บัลลาด หมายเลข 3 ในบันไดเสียง As (1841)
48 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง c, fis (1841)
49 ฟ็องเตซีในบันไดเสียง f (1841)
50 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง G, As, cis (1841/2)
51 อิมพร็อมตู หมายเลข 3 ในบันไดเสียง Ges (1842)
52 บัลลาด หมายเลข 4 ในบันไดเสียง f (1842)
53 โปโลเนส ในบันไดเสียง As เรียกอีกชื่อว่า(„Héroïque“) (1842)
54 แชโซหมายเลข 4 ในบันไดเสียง E (1842)
55 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง f, Es (1843)
56 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, C, c (1843)
57 แบร์เซิร์ส (เพลงกล่อมเด็ก) ในบันไดเสียง Des (1844)
58 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 3 ในบันไดเสียง h (1844)
59 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง a, As, fis (1845)
60 บาคาโรเล่ ในบันไดเสียง fis (1846)
61 โปโลเนส ฟ็องเตซี ในบันไดเสียง As (1846)
62 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, E (1845/6)
63 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, f, cis (1846)
64 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Des เรียกอีกชื่อว่า(„Valse minute“), cis, As (1840/7)
65 โซนาต้า สำหรับ เชลโล่ และเปียโนในบันไดเสียง g (1846/7)
บทประพันธ์ที่ได้รับการเผยแพร่หลังจากการเสียชีวิต:
66 ฟ็องเตซี อิมพร็อมตู หมายเลข 4, cis (vers 1843)
67 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง G, g, C, a (1830/49)
68 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง C, a, F, f (1830/49)
69 วาลซ์ สองบท ในบันไดเสียง As, h (1829/35)
70 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Ges, As, Des (1829/41)
71 โปโลเนส สามบท ในบันไดเสียง d, B, f (1824/28)
72.1 น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e
72.2 บทเพลงไม่ทราบชื่อ
72.3 เอกอร์เซส สามบท ในบันไดเสียง D, G, Des (vers 1829)
73 รอนโด้ สำหรับเปียใน ในบันไดเสียง C (1828)
74 บทเพลง ที่ใช้ทำนองของโปแลนด์ (1829/47)
บทเพลงที่ปราศจากหมายเลขโอปุส:
โปโลเนส ในบันไดเสียง B (1817)
โปโลเนส ในบันไดเสียง g (1817)
โปโลเนส ในบันไดเสียง As (1821)
อังโทรดุกซิยงและวาริอาซิยง สำหรับบทเพลงของเยอรมัน ในบันไดเสียง E (1824)
โปโลเนส ในบันไดเสียง gis (1824)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1825/26)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1825/26)
วาริอาซิยง สำหรับเปียโนสี่มือ ในบันไดเสียง D (1825/26)
เพลงมาร์ชงานศพ ในบันไดเสียง c (1837)
โปโลเนส ในบันไดเสียง b (1826)
น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e (1828/30)
ซูเวอร์นีร์ เดอ ปากานีนี ในบันไดเสียง A (1829)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1829)
วาลซ์ ในบันไดเสียง E (1829)
วาลซ์ ในบันไดเสียง Es (1829)
มาซูร์ก้าพร้อมบทร้องบางส่วน ในบันไดเสียง G (1829)
วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1829)
วาลซ์ ในบันไดเสียง e (1830)
ซารี่พร้อมบทร้องบางส่วน (1830)
โปโลเนส ในบันไดเสียง Ges (1830)
เลนโต้ ก็อน กราน เอสเปรสซิออน (Lento con gran espressione) ในบันไดเสียง cis (1830)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1832)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง D (1832)
คอนแชร์โต้ กร็องด์ ดูโอ สำหรับบทละครเรื่อง "Robert le Diable" ของ เมอแยร์แบร์ (Meyerbeer) สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง E (1832/33)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง C (1833)
คานตาบิลเล ในบันไดเสียง B (1834)
มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง As (1834)
โรเบิร์ต ชูมันน์
โรเบิร์ต อะเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ (อังกฤษ: Robert Alexander Schumann 8 มิถุนายน พ.ศ. 2353 ที่เมือง ซวิคโคว์ (Zwickau) - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2399) เกิดที่เมือง (Endenich) ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี ชูมันน์เป็นคีตกวี ชาวเยอรมัน ในยุคโรแมนติก อย่าสับสนโรเบิร์ต ชูมันน์กับ โรแบร์ ชูม็อง (Robert Schuman) นักการเมืองชาวฝรั่งเศส (พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2506)
ประวัติ
ในวัยเด็ก โรเบิร์ต ชูมันน์ มีความสนใจในศิลปะสองแขนง นั่นคือเปียโนกับวรรณคดี (บิดาของเขาเป็นคนบ้าเซกซ์มากๆจึงทำไห้ไม่มีความน่าเชื่อถือ) ดังนั้นในวัยเด็ก เขาจึงทั้งแต่งเพลง และแต่งหนังสือ รวมถึงบทกวีด้วย เมื่อบิดาที่เขารักเสียชีวิตลง เขาจึงสูญเสียผู้ให้การสนับสนุนในโครงการต่างๆที่จะทำให้เขาได้เป็นนักดนตรีอาชีพ
มารดาของเขาผลักดันให้เขาเรียนด้านกฎหมาย ระหว่างการรับการศึกษาด้านกฎหมายที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) เขาก็ได้เรียนเปียโนกับ เฟรดริก ไวค์ (Friedrich Wieck) ผู้ที่กลายเป็นพ่อตาของเขาภายหลัง เมื่อเขาแต่งงานกับบุตรสาวของไวค์ ชื่อคลาร่า เขายอมทำทุกวิถีทางเพื่อยอมเป็นนักดนตรีเอก ทั้งการฝึกฝนด้วยความขยันขันแข็ง และได้ใช้เครื่องกลช่วยเพิ่มความเร็วให้กับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ จนทำให้นิ้วโป้งมือขวาใช้การไม่ได้ ความฝันที่จะกลายเป็นนักเปียโนเอกต้องสิ้นสุดลงเมื่อเขามีอายุได้เพียง 22 ปีเท่านั้น
หลังจากช่วงเวลาที่เขาต้องซึมเศร้ากับความพิการและการตกหลุมรักสตรีที่แต่งงานแล้ว ในปี พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) ชูมันน์ได้หันมาสนใจและใส่ใจกับการประพันธ์เพลงและการเขียนบทความใน "เนอ ไซท์ชริฟต์ ฟูร์ มิวซิก" (Neue Zeitschrift für Musik) (นิตยสารเพื่อการดนตรีเล่มใหม่) ซึ่งเขาได้ทำหน้าที่เป็นนักวิจารณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี เขาปกป้องแนวคิดด้านดนตรีที่เป็นดนตรีแท้จริงจากแนวคิดของพวกนายทุน (ภาษาเยอรมันเรียกว่า "Philister") ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานอย่าง "คาร์นิวัล โอปุสที่ 9" (Carnaval op.9)
ในปี พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) หลังจากถูกบังคับให้แยกทางกับคลาร่า เขาได้ประพันธ์บทเพลง "โซนาต้า แห่งความรัก" ให้แก่เธอ แต่คำขอแต่งงานของเขาถูกพ่อของคลาร่าปฏิเสธ ทำให้เขาตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าอีกครั้ง เขายังคงประพันธ์ผลงานต่อไปและเป็นงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจ เพลงที่โด่งดังได้แก่ เซน ด็องฟ็อง ฟ็องเตซี โนเวลเล็ต เกิดขึ้นมาในช่วงนี้เอง เขาได้หนีไปที่รักษาแผลใจที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และประพันธ์เพลงต่างระหว่างที่รอขอแต่งงานกับคลาร่า
ปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) เป็นปีนำโชคของชูมันน์ เขาได้แต่งงานกับคลาร่าในที่สุด ความสุขนี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงของเขา เขาได้ประพันธ์เพลงมากมายจากบทกวีของ โยฮันน์ โวล์ฟกัง วอน เกอเธ่ ชิลเลอร์ หรือ ไฮน์ เช่นเพลง Liederkreis ความรักของนักกวี และ ความรักและชีวิตของหญิงคนหนึ่ง ในปีต่อมา เขาได้ลองแต่งเพลงออเคสตร้า (ซิมโฟนีหมายเลขหนึ่ง ซิมโฟนีหมายเลข 4 ฯลฯ) ในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) เขาได้หันมาโปรดปราน แชมเบอร์มิวสิก โดยเขาได้ประพันธ์ไว้หลายชิ้น ในปีถัดมา เขาได้แต่ง โอราโตริโอ "oratorio" "Le Paradis et la Péri และได้ติดตามคลาร่า ภรรยาที่อ่อนโยนและแสนดีของเขา ผู้ซึ่งเป็นนักเปียโนฝีมือฉกาจ ออกเปิดการแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายทั่วทวีปยุโรป หรือแม้กระทั่งในประเทศรัสเซีย
ในปี พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) คู่รักไดตั้งถิ่นฐานที่เมืองเดรสเด้น (Dresden) ที่ๆเขาได้ประพันธ์โอเปร่าชิ้นแรกและชิ้นเดียว ชื่อ เจโนเววา แต่เขาก็ยังคงแต่งฟู้ก ซิมโฟนี เพลงสำหรับเปียโน คอนเทท ฯลฯ ไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) เขาได้กลายเป็นวาทยากรแห่งเมืองดุสเซลดอร์ฟ (Düsseldorf) แต่เมื่อถึงปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) สภาพร่างกายของเขาเสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก และความเจ็บปวดจากโรคซิฟิลิส ทำให้เขาพยายามฆ่าตัวตายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) ด้วยการกระโดดแม่น้ำไรน์ที่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง ถึงเขาจะโชคดีรอดมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากพวกกะลาสี แต่ก็ต้องก็ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ จากนั้นเขาก็ถูกส่งตัวไปพักฟื้นที่เมืองเอนเดอนิช (Endenich)
ไม่มีสิ่งใดสามารถทำให้เขาคลายความทุกข์ลงได้ เขาเสียสติไปแล้ว เนื่องด้วยคิดถึงคลาร่าสุดที่รัก แลเพื่อนรักเฟลิกซ์ เมนเดลโซน และนักดนตรีวัยรุ่น โจฮานเนส บราห์ม ที่เขาได้พบเมื่อสองปีที่แล้ว ในขณะที่เขามีสภาพกึ่งดีกึ่งร้าย ก็ได้ประพันธ์ (บทเพลงแห่งรุ่งอรุณ) ชูมันน์จบชีวิตลงเมื่อวันที่29 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) ซึ่งทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด
ผลงาน
บทความนี้ควรปรับปรุงภาษาหรือรูปแบบการเขียน เนื่องจากมีเนื้อหาที่ไม่ได้แปลหรือแปลไม่สมบูรณ์ (ดูเพิ่ม) สะกดหรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง หรือเขียนด้วยลักษณะภาษาพูด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ และแก้ไขรูปแบบให้เป็นสารานุกรม
ผลงานบางส่วน:
Symphonies :
Symphonie n°1 en si bémol majeur op 38, dite le « printemps »
Symphonie n°2 en ut majeur op 38
Symphonie n°3 en mi bémol majeur op 97 « rhénane »
Symphonie n°4 en ré mineur op 120
บทเพลงสำหรับ piano
Variations Abegg op 1
Papillons op2,
Toccata op 7 1830
Études symphoniques op.13, 1834
Carnaval op 9 1835
Fantaisie op. 17 (qui se distingue par ses dimensions et une présentation plus abstraite) 1836
Drei romanzen op.28
Davidsbündlertänze op. 6 1837
Fantaisiestücke op. 12 1837 aussi adaptées pour violoncelle et piano
Scènes d'enfants op.15 1838
Kreisleirianas op.16 1838
Novelettes op. 21, 1838
Carnaval de Vienne op. 26
Scènes d'enfance op.15
Kreisleriana op.17
Fantaisiestücke op.12
Humoresque op.20
บทเพลงสำหรับขับร้อง
Les amours du poète
L'amour et la vie d'une femme
แชมเบอร์มิวสิก
Les Fées (pour alto et piano)
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
"เอลนีโญ่"ถล่ม ปี 54 แล้งวิกฤติ-แม่น้ำเหือดเขื่อนแห้ง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระแสน้ำทั่วโลก
"เอลนีโญ่"ถล่ม ปี 54 แล้งวิกฤติ-แม่น้ำเหือดเขื่อนแห้ง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระแสน้ำทั่วโลก
อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่ง 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกระส่ำ เจอพายุความร้อน "เอลนีโญ่" ถล่ม ไทยร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เตือนปี 54 เผาจริง เขื่อนและแหล่งน้ำทั่วประเทศแห้ง
ตั้งแต่ปี 2552 นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังกระแสน้ำทะเลแปซิฟิก เนื่องจากมีความแปรปรวนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 10 ปี ปกติลมจะพัดจากฝั่งทะเลตะวันออก หรือแถวประเทศเปรู ชิลี เอกวาดอร์ ไปยังฝั่งตะวันตกใกล้อินโดนีเซียและออสเตรเลีย แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำอุ่นธรรมดา แต่เป็นน้ำทะเลที่อุ่นมากจากฝั่งตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นฝั่งตะวันออก นั่นคือปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" ขั้นรุนแรง ?!!
เช้าตรู่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ชาวประมงชิลีตกตะลึงกับภาพที่เห็นตรงหน้า สิงโตทะเลเกือบ 200 ตัว นอนตายเกลื่อนชายหาด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เกิดจาก "เอลนีโญ่" ส่วนนักอนุรักษ์ธรรมชาติเชื่อว่า เป็นเพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ลูกสิงโตฝืนมีชีวิตในน้ำทะเลเน่าต่อไปไม่ไหว
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ อากาศหนาวเย็นจัดในหลายทวีป บางประเทศหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ที่กรุงปักกิ่ง หิมะสะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ผสมกับพายุหิมะที่พัดมาเป็นระลอก ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนเตือนว่า นี่คือวิกฤติอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี อีกไม่นานภาคใต้ของจีนอาจไม่ได้เจอแค่พายุหิมะ แต่เป็นพายุน้ำแข็ง ล่าสุดผู้นำประเทศเวเนซุเอลาประกาศว่า น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ แทบไม่เหลือแล้ว เชื่อว่า "เอลนีโญ่" ครั้งนี้ทำให้เวเนซุเอลาเผชิญกับภัยแล้งที่สุดในรอบ 100 ปี อาจจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในประเทศไทย มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาเตือนว่า "เอลนีโญ่" จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วประเทศ อุณหภูมิหน้าร้อนปีนี้จะสูงทะลุเกิน 40 องศาเซลเซียส อย่างแน่นอน
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ 1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส
สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนัก และ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554
วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554 จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552 ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554 จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541 ไทยเจอ 'เอลนีโญ่' ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก เพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม"
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 ว่า ฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ หลายพื้นที่จะประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก
อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2543 วัดได้ 35-36 องศาเซลเซียส แต่คำพยากรณ์ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2553 อากาศจะร้อนจนทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทั่วประเทศ โดยภาคเหนือและภาคอีสานจะสูงที่สุด 41-43 องศาเซลเซียส ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิเฉลี่ย 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯ จะดีกว่าเล็กน้อย คือ 37-39 องศาเซลเซียส
"สงกรานต์ อักษร" ผอ.สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากข้อมูลการวัดทุ่นในน้ำทะเลกลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลการวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจากดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ ยืนยันได้ว่า น้ำอุ่นขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบไปยังแต่ละประเทศทั่วโลกไม่เท่ากัน เช่น อินโดนีเซีย ตอนนี้เจออากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แต่ในไทยยังมีโอกาสที่ฝนจะตกมากกว่า เพราะสภาพอากาศของไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมมากกว่ากระแสน้ำทะเล
อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่ง 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกระส่ำ เจอพายุความร้อน "เอลนีโญ่" ถล่ม ไทยร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เตือนปี 54 เผาจริง เขื่อนและแหล่งน้ำทั่วประเทศแห้ง
ตั้งแต่ปี 2552 นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังกระแสน้ำทะเลแปซิฟิก เนื่องจากมีความแปรปรวนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 10 ปี ปกติลมจะพัดจากฝั่งทะเลตะวันออก หรือแถวประเทศเปรู ชิลี เอกวาดอร์ ไปยังฝั่งตะวันตกใกล้อินโดนีเซียและออสเตรเลีย แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำอุ่นธรรมดา แต่เป็นน้ำทะเลที่อุ่นมากจากฝั่งตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นฝั่งตะวันออก นั่นคือปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" ขั้นรุนแรง ?!!
เช้าตรู่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ชาวประมงชิลีตกตะลึงกับภาพที่เห็นตรงหน้า สิงโตทะเลเกือบ 200 ตัว นอนตายเกลื่อนชายหาด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เกิดจาก "เอลนีโญ่" ส่วนนักอนุรักษ์ธรรมชาติเชื่อว่า เป็นเพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ลูกสิงโตฝืนมีชีวิตในน้ำทะเลเน่าต่อไปไม่ไหว
พันธ์ 2552ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ อากาศหนาวเย็นจัดในหลายทวีป บางประเทศหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ที่กรุงปักกิ่ง หิมะสะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ผสมกับพายุหิมะที่พัดมาเป็นระลอก ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนเตือนว่า นี่คือวิกฤติอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี อีกไม่นานภาคใต้ของจีนอาจไม่ได้เจอแค่พายุหิมะ แต่เป็นพายุน้ำแข็ง ล่าสุดผู้นำประเทศเวเนซุเอลาประกาศว่า น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ แทบไม่เหลือแล้ว เชื่อว่า "เอลนีโญ่" ครั้งนี้ทำให้เวเนซุเอลาเผชิญกับภัยแล้งที่สุดในรอบ 100 ปี อาจจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในประเทศไทย มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาเตือนว่า "เอลนีโญ่" จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วประเทศ อุณหภูมิหน้าร้อนปีนี้จะสูงทะลุเกิน 40 องศาเซลเซียส อย่างแน่นอน
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ 1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส
สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนัก และ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554
"วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554 จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552 ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554 จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541 ไทยเจอ 'เอลนีโญ่' ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก เพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม"
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 ว่า ฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ หลายพื้นที่จะประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก
อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2543 วัดได้ 35-36 องศาเซลเซียส แต่คำพยากรณ์ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2553 อากาศจะร้อนจนทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทั่วประเทศ โดยภาคเหนือและภาคอีสานจะสูงที่สุด 41-43 องศาเซลเซียส ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิเฉลี่ย 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯ จะดีกว่าเล็กน้อย คือ 37-39 องศาเซลเซียส
"สงกรานต์ อักษร" ผอ.สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากข้อมูลการวัดทุ่นในน้ำทะเลกลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลการวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจากดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ ยืนยันได้ว่า น้ำอุ่นขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบไปยังแต่ละประเทศทั่วโลกไม่เท่ากัน เช่น อินโดนีเซีย ตอนนี้เจออากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แต่ในไทยยังมีโอกาสที่ฝนจะตกมากกว่า เพราะสภาพอากาศของไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมมากกว่ากระแสน้ำทะเล
อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่ง 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกระส่ำ เจอพายุความร้อน "เอลนีโญ่" ถล่ม ไทยร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เตือนปี 54 เผาจริง เขื่อนและแหล่งน้ำทั่วประเทศแห้ง
ตั้งแต่ปี 2552 นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังกระแสน้ำทะเลแปซิฟิก เนื่องจากมีความแปรปรวนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 10 ปี ปกติลมจะพัดจากฝั่งทะเลตะวันออก หรือแถวประเทศเปรู ชิลี เอกวาดอร์ ไปยังฝั่งตะวันตกใกล้อินโดนีเซียและออสเตรเลีย แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำอุ่นธรรมดา แต่เป็นน้ำทะเลที่อุ่นมากจากฝั่งตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นฝั่งตะวันออก นั่นคือปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" ขั้นรุนแรง ?!!
เช้าตรู่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ชาวประมงชิลีตกตะลึงกับภาพที่เห็นตรงหน้า สิงโตทะเลเกือบ 200 ตัว นอนตายเกลื่อนชายหาด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เกิดจาก "เอลนีโญ่" ส่วนนักอนุรักษ์ธรรมชาติเชื่อว่า เป็นเพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ลูกสิงโตฝืนมีชีวิตในน้ำทะเลเน่าต่อไปไม่ไหว
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ อากาศหนาวเย็นจัดในหลายทวีป บางประเทศหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ที่กรุงปักกิ่ง หิมะสะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ผสมกับพายุหิมะที่พัดมาเป็นระลอก ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนเตือนว่า นี่คือวิกฤติอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี อีกไม่นานภาคใต้ของจีนอาจไม่ได้เจอแค่พายุหิมะ แต่เป็นพายุน้ำแข็ง ล่าสุดผู้นำประเทศเวเนซุเอลาประกาศว่า น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ แทบไม่เหลือแล้ว เชื่อว่า "เอลนีโญ่" ครั้งนี้ทำให้เวเนซุเอลาเผชิญกับภัยแล้งที่สุดในรอบ 100 ปี อาจจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในประเทศไทย มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาเตือนว่า "เอลนีโญ่" จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วประเทศ อุณหภูมิหน้าร้อนปีนี้จะสูงทะลุเกิน 40 องศาเซลเซียส อย่างแน่นอน
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ 1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส
สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนัก และ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554
วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554 จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552 ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554 จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541 ไทยเจอ 'เอลนีโญ่' ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก เพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม"
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 ว่า ฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ หลายพื้นที่จะประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก
อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2543 วัดได้ 35-36 องศาเซลเซียส แต่คำพยากรณ์ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2553 อากาศจะร้อนจนทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทั่วประเทศ โดยภาคเหนือและภาคอีสานจะสูงที่สุด 41-43 องศาเซลเซียส ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิเฉลี่ย 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯ จะดีกว่าเล็กน้อย คือ 37-39 องศาเซลเซียส
"สงกรานต์ อักษร" ผอ.สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากข้อมูลการวัดทุ่นในน้ำทะเลกลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลการวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจากดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ ยืนยันได้ว่า น้ำอุ่นขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบไปยังแต่ละประเทศทั่วโลกไม่เท่ากัน เช่น อินโดนีเซีย ตอนนี้เจออากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แต่ในไทยยังมีโอกาสที่ฝนจะตกมากกว่า เพราะสภาพอากาศของไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมมากกว่ากระแสน้ำทะเล
อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่ง 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกระส่ำ เจอพายุความร้อน "เอลนีโญ่" ถล่ม ไทยร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เตือนปี 54 เผาจริง เขื่อนและแหล่งน้ำทั่วประเทศแห้ง
ตั้งแต่ปี 2552 นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังกระแสน้ำทะเลแปซิฟิก เนื่องจากมีความแปรปรวนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 10 ปี ปกติลมจะพัดจากฝั่งทะเลตะวันออก หรือแถวประเทศเปรู ชิลี เอกวาดอร์ ไปยังฝั่งตะวันตกใกล้อินโดนีเซียและออสเตรเลีย แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำอุ่นธรรมดา แต่เป็นน้ำทะเลที่อุ่นมากจากฝั่งตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นฝั่งตะวันออก นั่นคือปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" ขั้นรุนแรง ?!!
เช้าตรู่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ชาวประมงชิลีตกตะลึงกับภาพที่เห็นตรงหน้า สิงโตทะเลเกือบ 200 ตัว นอนตายเกลื่อนชายหาด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เกิดจาก "เอลนีโญ่" ส่วนนักอนุรักษ์ธรรมชาติเชื่อว่า เป็นเพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ลูกสิงโตฝืนมีชีวิตในน้ำทะเลเน่าต่อไปไม่ไหว
พันธ์ 2552ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ อากาศหนาวเย็นจัดในหลายทวีป บางประเทศหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ที่กรุงปักกิ่ง หิมะสะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ผสมกับพายุหิมะที่พัดมาเป็นระลอก ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนเตือนว่า นี่คือวิกฤติอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี อีกไม่นานภาคใต้ของจีนอาจไม่ได้เจอแค่พายุหิมะ แต่เป็นพายุน้ำแข็ง ล่าสุดผู้นำประเทศเวเนซุเอลาประกาศว่า น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ แทบไม่เหลือแล้ว เชื่อว่า "เอลนีโญ่" ครั้งนี้ทำให้เวเนซุเอลาเผชิญกับภัยแล้งที่สุดในรอบ 100 ปี อาจจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในประเทศไทย มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาเตือนว่า "เอลนีโญ่" จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วประเทศ อุณหภูมิหน้าร้อนปีนี้จะสูงทะลุเกิน 40 องศาเซลเซียส อย่างแน่นอน
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ 1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส
สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนัก และ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554
"วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554 จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552 ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554 จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541 ไทยเจอ 'เอลนีโญ่' ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก เพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม"
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 ว่า ฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ หลายพื้นที่จะประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก
อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2543 วัดได้ 35-36 องศาเซลเซียส แต่คำพยากรณ์ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2553 อากาศจะร้อนจนทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทั่วประเทศ โดยภาคเหนือและภาคอีสานจะสูงที่สุด 41-43 องศาเซลเซียส ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิเฉลี่ย 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯ จะดีกว่าเล็กน้อย คือ 37-39 องศาเซลเซียส
"สงกรานต์ อักษร" ผอ.สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากข้อมูลการวัดทุ่นในน้ำทะเลกลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลการวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจากดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ ยืนยันได้ว่า น้ำอุ่นขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบไปยังแต่ละประเทศทั่วโลกไม่เท่ากัน เช่น อินโดนีเซีย ตอนนี้เจออากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แต่ในไทยยังมีโอกาสที่ฝนจะตกมากกว่า เพราะสภาพอากาศของไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมมากกว่ากระแสน้ำทะเล
การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
แม้ว่าความแตกต่างของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี) จะมีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิตามฤดูกาลต่าง ๆ น้อยก็ตาม แต่จะมีบทบาทที่สำคัญมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ในช่วงระยะเวลานับพันปีระยะทางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ที่ไกลที่สุด (Aphelion) ประมาณ 94.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูร้อน กับระยะทางที่ใกล้ที่สุด (Perihelion) ประมาณ 91.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 3 มกราคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูหนาว แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ทำให้โลกได้รับพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคม มากกว่าในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 6% อย่างไรก็ตาม รูปร่างวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 90,000-100,000 ปี วงโคจรจะยาวและรีมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น ประมาณพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับขณะที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มากกว่าขณะที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดถึง 20 - 30% ซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิอากาศแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนที่สุด
เวลาสุริยะคติ (Solar time) เป็นเวลาพื้นฐานตามความรู้สึกของมนุษย์ วันสุริยะคติ (Solar day) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันครั้งหนึ่งถึงเที่ยงวันครั้งถัดไป ซึ่งเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก แต่เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และแกนหมุนของโลกเอียงไปจากแนวตั้งฉากของระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น ในแต่ละวัน เราจึงเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเปลี่ยนตำแหน่งไปตามเส้นสุริยะวิถี และความยาวนานของแต่ละวันมีค่าไม่เท่ากัน จึงมีการนิยามวันสุริยะคติเฉลี่ย (Mean solar day) ขึ้นมา เป็นวันที่เกิดจากวงอาทิตย์สมมติหรือดวงอาทิตย์เฉลี่ยที่มีทางโคจรที่สม่ำเสมอบนท้องฟ้ามาพิจารณาแทนดวงอาทิตย์จริง 24 ชม. วันดาราคติจะมีเพียงแค่ 23 ชม. 56 น. 4 วิ. ของเวลาสุริยะคติ
เวลาสุริยะคติ (Solar time) เป็นเวลาพื้นฐานตามความรู้สึกของมนุษย์ วันสุริยะคติ (Solar day) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันครั้งหนึ่งถึงเที่ยงวันครั้งถัดไป ซึ่งเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก แต่เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และแกนหมุนของโลกเอียงไปจากแนวตั้งฉากของระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น ในแต่ละวัน เราจึงเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเปลี่ยนตำแหน่งไปตามเส้นสุริยะวิถี และความยาวนานของแต่ละวันมีค่าไม่เท่ากัน จึงมีการนิยามวันสุริยะคติเฉลี่ย (Mean solar day) ขึ้นมา เป็นวันที่เกิดจากวงอาทิตย์สมมติหรือดวงอาทิตย์เฉลี่ยที่มีทางโคจรที่สม่ำเสมอบนท้องฟ้ามาพิจารณาแทนดวงอาทิตย์จริง 24 ชม. วันดาราคติจะมีเพียงแค่ 23 ชม. 56 น. 4 วิ. ของเวลาสุริยะคติ
วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
มารี กีมาร์ เดอ ปีนา หรือ ท้าวทองกีบม้า
ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (Marie Guimar de Pihna) (พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 - พ.ศ. 2265) ภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เธอเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับทำขนมไทย ประเภททองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าวิเสท ซึ่งได้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตฝรั่งเศสที่มาเยือนในสมัยนั้น มีผู้ยกย่องว่าท้าวทองกีบม้าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย"
ประวัติ
ท้าวทองกีบม้าคนนี้เกิดที่กรุงศรีอยุธยา ชื่อจริงว่า ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ดอนญ่า ในภาษาสเปนหรือโปรตุเกสแปลว่า คุณหญิง) หรือตองกีมาร์ (Tanquimar) เป็นลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอลโดยมารดาของท้าวทองกีบม้าชื่อ อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada) หรือหนังสือบางเล่มเรียกว่า เออร์ซูลา ยามาดะ ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพลี้ภัยทางศาสนาเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ส่วนบิดาชื่อ ฟานิก กูโยมา (Phanick Guimar หรือ Fanik Guyomar) ที่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอลและโปรตุเกสจากอาณานิคมกัว(ปัจจุบันคือรัฐกัว ประเทศอินเดีย)
ครอบครัวของยามาดะเป็นตระกูลที่เคร่งครัดในคริสต์ศาสนามาก เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ ยายของท้าวทองกีบม้า เคยเล่าว่า เขาเป็นหลานสาวของนักบุญฟรังซิส ซาเวียร์ (Saint Francis Xavier) คริสต์ศาสนิกชนคนแรกของประเทศญี่ปุ่น และนักบุญชื่อดัง โดยได้ประทานศีลล้างบาปและตั้งนามทางศาสนาให้
ราวปี พ.ศ. 2135 ฮิเดโยชิ (Toyotomi Hideyoshi, 豊臣 秀吉) ผู้สำเร็จราชการของญี่ปุ่น ต้องการล้มล้างวัฒนธรรมตะวันตก จึงออกพระราชฎีกาในนามของพระจักรพรรดิ์ให้จับกุม ลงโทษ และริบสมบัติชาวคริสต์ ยายของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นชาวคริสต์จึงถูกลงโทษด้วย นางถูกจับยัดใส่กระสอบนำลงเรือมาที่นางาซากิ เพื่อเนรเทศไปยังเมืองไฟโฟ (Faifo)ปัจจุบันคือ ฮอยอัน ในประเทศเวียดนามเพราะมีชาวคริสต์อยู่มาก บนเรือนี่เองที่ทำให้ยายของท้าวทองกีบม้า พบกับตาของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ทั้งสองคนจึงมาตั้งหลักปักฐานที่กรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นประเทศที่ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ และไม่รังเกียจคนต่างศาสนา
ท้าวทองกีบม้า เป็นหญิงสาวที่มีนิสัยเรียบร้อย ซื่อสัตย์ และเคร่งครัดในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะมีเรื่องของมารดาเธอที่ถูกกล่าวหาโดยบาทหลวงชาวอังกฤษผู้หนึ่งว่า ยามาดะ (มารดาของท้าวทองกีบม้า) เป็นสตรีที่ประพฤติไม่เรียบร้อย ชอบคบผู้ชายไม่เลือกหน้า แม้จะแต่งงานกับฟานิกแล้ว ยังแอบปันใจให้ชายอื่นเสมอ โดยเฉพาะหนุ่มโปรตุเกสในค่ายที่ยามาดะอาศัยอยู่ แต่ฟานิกผู้เป็นบิดาของท้าวทองกีบม้ามีผิวดำ แต่มีลูกผิวขาวหลายคนรวมทั้งท้าวทองกีบม้า และทำให้ฟานิกบิดาของท้าวทองกีบม้าถูกชาวยุโรปดูถูกดูแคลนเสมอ อย่างไรก็ตามท้าวทองกีบม้าก็ได้แต่งงานตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี กับคอนสแตนติน ฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) ชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่นิสัยต่างกันมาก ก่อนที่จะแต่งงานกับฟอลคอน ฟอลคอนเคยมีภรรยามาแล้วหลายคน แต่ส่งไปอยู่เมืองพิษณุโลก ส่วนลูกนั้นมารี กีมาร์นำมาเลี้ยงเองเนื่องจากเธอเป็นคนใจบุญสุนทาน เธอรับเลี้ยงเด็กสาวที่ยากจน และเด็กที่มีบิดาเป็นชาวยุโรป และมีมารดาเป็นชาวไทยแต่ถูกทอดทิ้ง เธอนำมาเลี้ยงดูมากมายหลายคน แม้เธอจะมีปัญหาระหองระแหงกับฟอลคอน แต่ก็ยังประคองความรักจนมีบุตรด้วยกัน 2 คนได้แก่ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2227 และฮวน ฟอลคอน (Juan Phaulkon) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2231 ต่อมาเมื่อสามีนางถูกลงโทษข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และถูกประหารชีวิต ท้าวทองกีบม้าถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ในพระราชวัง และได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวัง ท้าวทองกีบม้าได้ประดิษฐ์ขนมขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา โดยดัดแปลงตำรับเดิมโปรตุเกส และเอาวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีในสยามเข้ามาผสมผสาน ซึ่งหลักๆได้แก่ มะพร้าว แป้งและน้ำตาล จนทำให้เกิดขนมใหม่ที่มีรสชาติอร่อย พระราชวังก็ได้ให้ความชื่นชมมากและถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น
บั้นปลายชีวิต
แม้ท้าวทองกีบม้าจะมีชีวิตในระยะแรกๆ ค่อนข้างลำบาก สามีถูกประหาร ต้องมีชีวิตระหกระเหิน ถูกส่งตัวไปเป็นคนรับใช้ แต่ด้วยความสามารถ และอุปนิสัยดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บั้นปลายชีวิตของเธอจึงสุขสบายและได้รับการยกย่องตามควร ท้าวทองกีบม้ามีอายุยืนถึง 4 รัชกาล คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าเสือและสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สันนิษฐานว่าชื่อตำแหน่ง ทองกีบม้า เพี้ยนมาจากชื่อ ตองกีมาร์ นั้นเอง มีหลักฐานบ่งว่าท้าวทองกีบม้าถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 66 ปี
ขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าทำขึ้น
ท้าวทองกีบม้า เมื่อเข้าไปรับราชการในพระราชวังได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงมาจากตำรับอาหารโปรตุเกส ให้เป็นขนมหวานของไทย และเผยแพร่ไปโดยทั่วไป ท้าวทองกีบม้าจึงได้ชื่อเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" โดยขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น มีดังอไปนี้
กะหรี่ปั๊บ,ขนมหม้อแกง,ทองม้วน,ทองหยอด,ทองหยิบ,ฝอยทอง,สังขยา,ขนมผิง เป็นต้น
ประวัติ
ท้าวทองกีบม้าคนนี้เกิดที่กรุงศรีอยุธยา ชื่อจริงว่า ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ดอนญ่า ในภาษาสเปนหรือโปรตุเกสแปลว่า คุณหญิง) หรือตองกีมาร์ (Tanquimar) เป็นลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอลโดยมารดาของท้าวทองกีบม้าชื่อ อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada) หรือหนังสือบางเล่มเรียกว่า เออร์ซูลา ยามาดะ ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพลี้ภัยทางศาสนาเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ส่วนบิดาชื่อ ฟานิก กูโยมา (Phanick Guimar หรือ Fanik Guyomar) ที่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอลและโปรตุเกสจากอาณานิคมกัว(ปัจจุบันคือรัฐกัว ประเทศอินเดีย)
ครอบครัวของยามาดะเป็นตระกูลที่เคร่งครัดในคริสต์ศาสนามาก เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ ยายของท้าวทองกีบม้า เคยเล่าว่า เขาเป็นหลานสาวของนักบุญฟรังซิส ซาเวียร์ (Saint Francis Xavier) คริสต์ศาสนิกชนคนแรกของประเทศญี่ปุ่น และนักบุญชื่อดัง โดยได้ประทานศีลล้างบาปและตั้งนามทางศาสนาให้
ราวปี พ.ศ. 2135 ฮิเดโยชิ (Toyotomi Hideyoshi, 豊臣 秀吉) ผู้สำเร็จราชการของญี่ปุ่น ต้องการล้มล้างวัฒนธรรมตะวันตก จึงออกพระราชฎีกาในนามของพระจักรพรรดิ์ให้จับกุม ลงโทษ และริบสมบัติชาวคริสต์ ยายของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นชาวคริสต์จึงถูกลงโทษด้วย นางถูกจับยัดใส่กระสอบนำลงเรือมาที่นางาซากิ เพื่อเนรเทศไปยังเมืองไฟโฟ (Faifo)ปัจจุบันคือ ฮอยอัน ในประเทศเวียดนามเพราะมีชาวคริสต์อยู่มาก บนเรือนี่เองที่ทำให้ยายของท้าวทองกีบม้า พบกับตาของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ทั้งสองคนจึงมาตั้งหลักปักฐานที่กรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นประเทศที่ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ และไม่รังเกียจคนต่างศาสนา
ท้าวทองกีบม้า เป็นหญิงสาวที่มีนิสัยเรียบร้อย ซื่อสัตย์ และเคร่งครัดในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะมีเรื่องของมารดาเธอที่ถูกกล่าวหาโดยบาทหลวงชาวอังกฤษผู้หนึ่งว่า ยามาดะ (มารดาของท้าวทองกีบม้า) เป็นสตรีที่ประพฤติไม่เรียบร้อย ชอบคบผู้ชายไม่เลือกหน้า แม้จะแต่งงานกับฟานิกแล้ว ยังแอบปันใจให้ชายอื่นเสมอ โดยเฉพาะหนุ่มโปรตุเกสในค่ายที่ยามาดะอาศัยอยู่ แต่ฟานิกผู้เป็นบิดาของท้าวทองกีบม้ามีผิวดำ แต่มีลูกผิวขาวหลายคนรวมทั้งท้าวทองกีบม้า และทำให้ฟานิกบิดาของท้าวทองกีบม้าถูกชาวยุโรปดูถูกดูแคลนเสมอ อย่างไรก็ตามท้าวทองกีบม้าก็ได้แต่งงานตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี กับคอนสแตนติน ฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) ชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่นิสัยต่างกันมาก ก่อนที่จะแต่งงานกับฟอลคอน ฟอลคอนเคยมีภรรยามาแล้วหลายคน แต่ส่งไปอยู่เมืองพิษณุโลก ส่วนลูกนั้นมารี กีมาร์นำมาเลี้ยงเองเนื่องจากเธอเป็นคนใจบุญสุนทาน เธอรับเลี้ยงเด็กสาวที่ยากจน และเด็กที่มีบิดาเป็นชาวยุโรป และมีมารดาเป็นชาวไทยแต่ถูกทอดทิ้ง เธอนำมาเลี้ยงดูมากมายหลายคน แม้เธอจะมีปัญหาระหองระแหงกับฟอลคอน แต่ก็ยังประคองความรักจนมีบุตรด้วยกัน 2 คนได้แก่ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2227 และฮวน ฟอลคอน (Juan Phaulkon) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2231 ต่อมาเมื่อสามีนางถูกลงโทษข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และถูกประหารชีวิต ท้าวทองกีบม้าถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ในพระราชวัง และได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวัง ท้าวทองกีบม้าได้ประดิษฐ์ขนมขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา โดยดัดแปลงตำรับเดิมโปรตุเกส และเอาวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีในสยามเข้ามาผสมผสาน ซึ่งหลักๆได้แก่ มะพร้าว แป้งและน้ำตาล จนทำให้เกิดขนมใหม่ที่มีรสชาติอร่อย พระราชวังก็ได้ให้ความชื่นชมมากและถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น
บั้นปลายชีวิต
แม้ท้าวทองกีบม้าจะมีชีวิตในระยะแรกๆ ค่อนข้างลำบาก สามีถูกประหาร ต้องมีชีวิตระหกระเหิน ถูกส่งตัวไปเป็นคนรับใช้ แต่ด้วยความสามารถ และอุปนิสัยดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บั้นปลายชีวิตของเธอจึงสุขสบายและได้รับการยกย่องตามควร ท้าวทองกีบม้ามีอายุยืนถึง 4 รัชกาล คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าเสือและสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สันนิษฐานว่าชื่อตำแหน่ง ทองกีบม้า เพี้ยนมาจากชื่อ ตองกีมาร์ นั้นเอง มีหลักฐานบ่งว่าท้าวทองกีบม้าถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 66 ปี
ขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าทำขึ้น
ท้าวทองกีบม้า เมื่อเข้าไปรับราชการในพระราชวังได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงมาจากตำรับอาหารโปรตุเกส ให้เป็นขนมหวานของไทย และเผยแพร่ไปโดยทั่วไป ท้าวทองกีบม้าจึงได้ชื่อเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" โดยขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น มีดังอไปนี้
กะหรี่ปั๊บ,ขนมหม้อแกง,ทองม้วน,ทองหยอด,ทองหยิบ,ฝอยทอง,สังขยา,ขนมผิง เป็นต้น
สมเด็จพระศรีสุริโยทัย
สมเด็จพระศรีสุริโยทัย หรือ พระสุริโยทัย วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 15 ของกรุงศรีอยุธยาแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยทัย ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ในปี พ.ศ. 2091 พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยทัย เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย
พระราชประวัติ
สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์
พระวีรกรรม
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก สมเด็จพระสุริโยทัยพร้อมกับพระราชโอรส-พระราชธิดารวม 4 พระองค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรียขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย เนื่องจากสมเด็จพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างสมเด็จพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์ พระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือ พระบรมดิลก บนช้างทรงเชือกเดียวกัน
อนุสาวรีย์
หลังสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยที่สวนหลวง แล้วสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลพระราชทาน คือ วัดสบสวรรค์ สถูปขนาดใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเก็บพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย ถูกเรียกว่า เจดีย์พระศรีสุริโยทัย
ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์
ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย แต่ตัวตนและความเสียสละของพระองค์ยังเป็นหัวข้อที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากความจริงที่ว่าพระนามของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงหรือบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่าเลยและข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ถูกคัดมาจากบางตอนของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยาและการบรรยายของนักสำรวจชาวโปรตุเกส โดมิงโก ซีซัส
พระราชประวัติ
สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์
พระวีรกรรม
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก สมเด็จพระสุริโยทัยพร้อมกับพระราชโอรส-พระราชธิดารวม 4 พระองค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรียขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย เนื่องจากสมเด็จพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างสมเด็จพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์ พระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือ พระบรมดิลก บนช้างทรงเชือกเดียวกัน
อนุสาวรีย์
หลังสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยที่สวนหลวง แล้วสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลพระราชทาน คือ วัดสบสวรรค์ สถูปขนาดใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเก็บพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย ถูกเรียกว่า เจดีย์พระศรีสุริโยทัย
ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์
ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย แต่ตัวตนและความเสียสละของพระองค์ยังเป็นหัวข้อที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากความจริงที่ว่าพระนามของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงหรือบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่าเลยและข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ถูกคัดมาจากบางตอนของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยาและการบรรยายของนักสำรวจชาวโปรตุเกส โดมิงโก ซีซัส
วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ไมเคิลแองเจลโล
ไมเคิล แอง เจลโล หรือ มิเคลันเจโล บูโอนารอตติ (MICHELANGELO di Lodovico Buonarroti Simoni ) ศิลปินชาวฟลอเรนซ์เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาเปรเซ ( Caprese) ในคาเซนติโน ( Casentino) ห่างจากนครฟลอเรนซ์ประมาณ 40 ไมล์ บิดาข้าราชการชื่อ Lodovico di Leo nardo Buonarrot มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1446-1531 มารดาชื่อ Francesa di Neri มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1455-1481 หลังจากเขาเกิดได้ 2-3 สัปดาห์ ครอบครัวก็อพยพเข้าไปอยู่ในนครฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1488 มิเคลันเจโลก็ได้เข้าฝึกงานกับโดมิเนโก จิร์ลันไดโอ ( Domemico Ghirlandaio จิตรกรชาวฟลอเรนซ์ผู้เชี่ยวชาญในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบปูนเปียกหรือเฟรสโก ( Fresco ) ต่อมาเขาได้ใช้ความรู้นี้เมื่อเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิหารซิสติน ( The Sistine Chapel ) ในวาติกันในอีก 20 ปีถัดมา ระหว่างสามปีที่ฝึกงานอยู่ที่มิเคลันเจโลได้ศึกษางานจิตรกรรมและวาดเส้นด้วยการลาออกงานจิตรกรรมของสิลปินรุ่นก่อน ๆ ได้แก่ คัดลอกผลงานจิตรกรรมของจอตโต ( Giotto di Bondone จิตรกรมชั้นครูชาวฟลอเรนซ์ยุคแรก ๆ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1266-1337) และมาที่แวคซิดอ ( Tommaso di Ser Giovan ni di Mone เรียกกันโดยทั่วไปว่า Masaccio เป็นจิตรกรรมเรเนสซองค์ยุคแรก เกิดเมื่อค.ศ. 1401- ไม่ทราบปีที่ถึงแก่กรรม ) เป็นการฝึกฝนและการศึกษางานจิตรกรรมขั้นพื้นฐาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1489 มิเคลันเจโลได้เข้าเรียนและฝึกงานในสายตระกูลเมตดิชิ ซึ่งมีลักษณะโรงเรียนคล้ายศิลปะ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นสถาบันศิลปะหรือ อะคาเดมี ( Academy ) ภายใต้การอุปถัมภ์ของ ลอเรนโซ ( Lorenzo de Medici หรือ Lorenzo the Magnificent ) อันเป็นโอกาสสำคัญทำให้มริเคลันเจโลได้ศึกษางานประติมากรรมของกรีกและโรมันที่ตระกูลเมดิชิสะสมไว้ นอกจากนี้เขายังได้สมาคมกับศิลปิน นักปรัชญาและกวีคนสำคัญ ๆ ในยุคนั้น การได้คบหาสมาคมกับบุคคลเหล่านั้นทำให้เขาได้รับอิทธิพลทางความคิดปรัชญามาผสมผสานกับแนวคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปะของตน แทนที่ให้ความสำคัญกับทักษะฝีมือเท่านั้น
หลังจากตระกูลเมดิชิหมดอำนาจลง ในปี ค.ศ. 1492 มิเคลันเจโลได้เดินทางไปเมืองโบโลญา เพื่อรับจ้างทำงานประติมากรรมประดับสุสาน ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1496-1501 เขาได้เดินทางไปพำนักอยุ่นกรุงโรม เพื่อรับจ้างเขียนรูปและรับงานประติมากรรมต่าง ๆ ในช่วงเวลานี้เองเขามีโอกาสสร้างผลงานสำคัญที่ทำให้ชื่อเสียงของเขาได้รับการกล่าวขวัญในฐานะประติมากรยิ่งใหญ่แห่งยุค คือ ประติมากรรมหินอ่อน “ ปิเอตา ” ( Pieta )
ซึ่งเป็นพระเยซูนอนอยุ่บนตักพระแม่มาเรียสลักหินอ่อนเนื้อขาวบริสุทธิ์สุง 5 ฟุต 9 นิ้ว แสดงให้เห็นความสามารถในการแกะสลักที่มีฝีมือสูงยิ่งและแฝงไว้ด้วยปรัชญาของคริสต์ศาสนา งานประติมากรรมชิ้นนี้ปัจจุบันชิ้นอยู่ที่โบสถ์เวนตืปีเตอร์กรุงโรมเมื่อแกะสลักรูปปีเอตาเสร็จแล้วเขาได้เดินทางกลับฟลอเรนซ์ในปีค.ศ.1501เพื่อรับงานแกะสลักหินอ่อนที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ ประติมากรรมหินอ่อนรูป “ เดวิด ” ( David ) ซึ่งแกะสลักจากแท่งหินอ่อนขนาดใหญ่ยาวประมาณ 18 ฟุต เป็นแท่งหินอ่อนเก่าแก่ที่วางทิ้งไว้โดยไม่มีประติมากรคนใดกล้าแกะสลัก มิเคลันเจโลใช้เวลาถึง 4 ปี เพื่อนฤมิตรแท่งหินอ่อนก้อนใหญ่นี้ให้เป็นชายหนุ่มรูปงามและเมื่อเขาแกะสลักรูปเดวิดเสร็จ มิเคลันเจดลกลายเป็นวีรบุรุษของชาวฟลอเรนซ์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วอิตาลี ( รูปเดวิดได้ทำจำลองขึ้นหลายรูป รูปต้นแบบปัจจุบันอยู่ที่ Gallerlia dell Academia นครฟลอเรนซ์ เป็นศิลปกรรมเด่นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดชิ้นหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ )
มิเคลันเจโล หรือ ไมเคิลแอนเจโลเกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างแท้จริง เขาทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็กจนถึงสองสามวันก่อนที่จะถึงแก่แรรมในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 เวลาประมาณ 16.30 น. ที่บ้านพักกรุงโรม อายุ 89 ปี ขณะที่แกะสลักงานประติมากรรมหินอ่อนชื่อ “ ปิเอตา รอนดานินี ” (Pieta Rondanini) ค้างอยู่ หลังจากถึงแก่กรรมแล้วศพถูกนำไปฝังไว้ที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ซึ่งเขาเป็นผู้ออกแบบ แต่ไม่สามารถกระทำได้ เพราะ Leonardo Buonarroti หลานชายของเขาได้นำศพมิเคลันเจโล กลับไปฝังที่โบสถ์ Santi Apostoli ในนครฟลอเรนซ์ถิ่นกำเนิดของเขาในวันที่ 10 มีนาคมปีเดียวกัน
ไมเคิล แองเจลโล ถือเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคที่รุ่งเรืองที่สุด คือ ยุคเรเนซองส์ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่รู้จักกันดีถึงความเจริญทางด้านศิลปกรรม ความก้าวหน้าทั้งทาง ด้านวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์คิดค้น วรรณกรรมตลอดจนไปถึงเรื่องของการต่อสู้ ทางการเมือง สำหรับทางด้านศิลปะนั้น ถือเป็นความเจริญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้ และไมเคิล แองเจิลโล ก็เป็นศิลปินที่นำหน้าศิลปินอื่นๆ ในยุคนี้ทั้งหมด เขามี ความสามารถเป็นเลิศในการเอาใจจดจ่ออยู่กับการใช้ความคิด การถ่ายทอดพลัง จากมือของเขาไปสู่ผลงานต่างๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น ในการทำงานของ ไมเคิล แองเจิลโล นั้น เขาจะทานขนมปังเป็นอาหารเพียงเล็กน้อย เท่านั้น เวลานอนก็นอนบนพื้น หรือผ้าใบข้างๆ ภาพเขียน และรูปแกะสลักที่ยังไม่เสร็จ เขาจะสวมเสื้อผ้าชุดเดิมไปจนกว่างานที่เขาทำจะเสร็จสมบูรณ์ลง ชีวิตของศิลปินผู้นี้นั้น มีเพียงเพื่อนสนิทอยู่ไม่กี่คนเท่านั้นที่ยังคงรักและบูชาเขา แต่โดยทั่วไปแล้ว คนส่วนมากจะคิดว่าเขาเป็นคนเย็นชา และไม่เป็นมิตรกับใคร ไมเคิล แองเจิลโล ใช้ชีวิตอยู่อย่างเป็นโสดโดยไม่ได้แต่งงานกับใครเลยไปจนตลอดชีวิตของเขา
ช่างแกะสลักผู้ชาญฉลาด
ในปี ค.ศ. 1496 ไมเคิล แองเจลโลได้มาที่กรุงโรมเป็นครั้งแรก และที่นี่เขาถูกว่าจ้าง ให้แกะสลัก "เปียตต้า" เปียตต้า เป็นรูปแกะสลักหินอ่อนทั้งหลัง โดยแกะเป็นรูปของ พระแม่มารี ซึ่งกำลังอุ้มพระศพของพระเยซูคริสต์อยู่บนหัวเข่ารูปแกะสลักนี้เป็นที่ รู้จักกันดีในนามของ "มาดอนน่า เดอะ เปียตต้า" ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับ ไมเคิล แองเจิลโลเป็นอย่างมาก รูปแกะสลักนี้ถูกนำไปตั้งไว้ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์
ที่บาซิริกา ในโรม
เมื่อไมเคิล แองเจลโลอายุได้ 26 ปี เขาได้กลับมาที่ฟลอเรนซ์อีกครั้งหนึ่ง เขาได้รับ หินอ่อนที่มีขนาดใหญ่ คือ มีขนาด 18 ฟุต หรือ 5.5 เมตร เป็นหินอ่อนที่ช่างแกะ คนก่อนแกะทิ้งเอาไว้แต่ยังไม่เสร็จและหินอ่อนก็อยู่ในสภาพ ที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไมเคิล แองเจลโล เอาใจใส่และทุ่มเทให้กับการแกะสลักหินก้อนนี้ เป็นเวลาถึง 2 ปี โดยปราศจากความหวั่นเกรงของอุปสรรคต่างๆ ทั้งในเรื่องความใหญ่โตของขนาด และความยากในการแกะเนื่องด้วยเป็นหินที่ผ่านการแกะสลักมาแล้วและด้วยความ เป็นช่างแกะผู้ปราชญ์เปรื่อง เขาก็ได้สร้างรูปแกะสลักที่งดงามที่สุดในโลกขึ้นเป็นรูป ของชายหนุ่มผู้กล้าหาญ ซึ่งมีนามว่า "เดวิด"
ในปี ค.ศ. 1505 ไมเคิล แองเจลโล ตัดสินใจไปยังโรม เพื่อไปทำงานสร้างสุสานของ พระสันตปาปา จูเลียสที่ 2 ที่เสียชีวิตลงสุสานนี้มีขนาดของ โครงสร้างที่ใหญ่โตมาก และประกอบด้วยรูปแกะถึง 40 ชิ้น โดยจัดวางเรียงเป็น 3 ชั้น ไล่ระดับกันลงมา เขาต้องใช้เวลาทั้งหมดหลายเดือนเพื่อทำการคัดเลือกหินอ่อนที่จะมาใช้ในงานนี้ แต่อุปสรรคต่างๆก็เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนอำนาจจากพระสันตปาปาคนก่อน ไปสู่มือพระสันตปาปาคนใหม่ เมื่อการเมืองเปลี่ยน ก็ก่อให้เกิดความอิจฉาริษยาขึ้น โดยมีการวางแผนงานใหม่ เพื่อขัดขวางการทำงานในการสร้างสุสานของไมเคิล แองเจลโล จนกระทั่งหลายปีผ่านไป เขาสามารถแกะสลักหินอ่อนได้เพียงไม่กี่รูป แต่ท่ามกลางงานแล้วนั้น เขาได้สร้างรูปแกะของ "โมเสส" ที่เป็นงานที่ทรงพลัง มากที่สุดของเขา ปัจจุบันรูปแกะสลักนี้ตั้งอยู่ในวิหารที่ซานเปียตโต ในวินซ์ลี่
วิหาร "ซิสทายส์" (Sistine Chapel)
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1508 ถึง 1512 ไมเคิล แองเจิลโล ได้รับมอบหมายให้ทำการ เขียนภาพบนหลังคาโค้งของวิหารซิสทายในโรมซึ่งประกอบด้วยภาพเขียนขนาดใหญ่ นับร้อยๆ ภาพ และแต่ละภาพที่ถูกเขียนขึ้นนั้นได้สร้างความตกตะลึงให้กับสายตา ของชาวโลกมาแล้ว ไมเคิล แองเจิลโล ต้องทำงานอยู่บนนั่งร้านที่สูงถึง 60 ฟุต หรือ
18 เมตรจากพื้น และครอบคลุมพื้นที่อีก 10,000 ตารางฟุต หรือ 930 ตารางเมตร ตลอดเวลาเขาต้องเขียนรูปในท่านอนให้หลังแนบติดกับนั่งร้านจนเป็นตะคริวทุกๆวัน ปูนเปียกจะถูกทาบนหลังคา และไมเคิลก็จำเป็นที่จะต้องเขียนภาพในแต่ละส่วนให้ เสร็จก่อนที่ปูนจะแห้ง และไม่สามารถที่จะแก้ไขถ้ารูปเกิดผิดพลาดได้เลย ในที่สุด
ไมเคิล แองเจิลโล ก็สามารถเขียนภาพเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดด้วยตัวของเขาเอง ภาพเขียน ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็น 9 ตอนด้วยกัน โดยเริ่มด้วยภาพการสร้างสิ่งต่างๆ ใน พระคัมภีร์บทปฐมกาล จนไปถึงตอนที่น้ำท่วมโลก ภาพเขียนอีกส่วนหนึ่งแสดงถึง บรรพบุรุษของพระคริสต์ โดยเขียนตามประวัติจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาพเขียนทั้งหมด นั้นต่างมีขนาดใหญ่และแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างงดงาม จนน่าอรรศจรรย์ เป็นเวลากว่า 20 ปีหลังจากเขียนภาพ บนหลังคาวิหารซิสทายเสร็จแล้ว ไมเคิลแองเจิลโล ได้เขียนภาพ "การพิพากษาครั้งสุดท้าย " เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่มากและครอบคลุม พื้นที่กำแพงทั้งหมดที่อยู่หลังแท่นบูชาในโบสถ์ ด้วยขนาดและฝีมือในการเขียนที่เป็นเลิศ รวมทั้งความหมายของภาพทำให้ภาพเขียนนี้เป็นงานเขียนบนฝาผนังอันทรงคุณค่าอย่างสูง
งานด้านอื่นๆ
ความเป็นอัจฉริยะของไมเคิลแองเจิลโลนั้น ไม่ได้ปรากฎอยู่แค่ในการเขียนภาพและ งานแกะสลักเท่านั้น เขายังมีพรสวรรค์ในอีกหลายสาขาด้วยกัน เช่นในงานเขียนบทกวี ในช่วงบั้นปลายของชีวิตเขานั้น ไมเคิล แองเจิลโลได้ออกแบบสถาปัตยกรรมให้กับ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ซึ่งถือเป็นแบบของสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดในสมัย เรเนซองส์ ไมเคิล แองเจิลโล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ในปีค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 89 ปี ศพของเขาถูกฝังที่โบสถ์ซานตาครู๊ส ในเมืองฟลอเรนซ์
ไมเคิล แองเจิลโล มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับศิลปินชื่อดังหลายคนด้วยกัน รวมทั้งได้ ทำงานให้กับผู้นำของอิตาลี และพระสันตปาปา ศิลปินร่วมสมัยกับไมเคิล แองเจิลโล ได้แก่ ลีโอนาโด ดาวินซี และราฟาแอล โดยที่ไมเคิล แองเจิลโล ถือเป็นศิลปินที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด และเป็นศิลปินเอกคนสุดท้ายในยุคทองของศิลปะในอิตาลี
ไมเคิล แองเจิลโล เป็นผู้ที่อุทิศทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ ให้กับการสร้างสรรค์ผลงาน เขาได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางโลก และทางศาสนาเข้าไว้ด้วยกันและถ่ายทอดเป็น ผลงานให้ชาวโลกได้ชม จนก่อให้เกิดเป็นยุคสมัยที่รุ่งเรือง และยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้
ศิลปินหลายคนก่อนที่จะมาถึงยุคของไมเคิล แองเจิลโล ได้วาดภาพของ อดัม (หนึ่งในมนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าทรง
สร้างขึ้นมา-ผู้แปล) นอนอยู่บนพื้นดิน ซึ่งกำลังยื่นมือออกไป
เพื่อสัมผัสกับมือของพระเป็นเจ้า แต่ไม่มีศิลปินคนไหนแสดง
ออกมาได้ อย่างน่าทึ่ง ดูเรียบง่าย และมีพลังแห่งการสร้างสรรค์
เท่ากับไมเคิล แองเจิลโลจากภาพ อดัมนอนเหยียดยาวอยู่บนพื้นที่แห้งแล้ง ทางด้านขวาเป็นภาพ ของพระผู้สร้างและเหล่าเทวดา ด้านหลังเป็นภาพของท้องฟ้าที่ว่างเปล่าจุดเดียวที่เป็นจุดสัมผัส ระหว่างอดัมผู้เป็นมนุษย์กับ พระเป็นเจ้านั้น คือ ปลายนิ้วชี้ของทั้งสองฝ่ายที่ยื่นมาเพื่อสัมผัสซึ่งกัน และกันนิ้วมืออันเปี่ยม ด้วยพลังแห่งชีวิตของพระผู้สร้างและนิ้วมืออันไร้ซึ่งชีวิตของอดัมพระผู้เป็นเจ้า ได้ถ่ายทอด การมีชีวิตให้กับอดัม ไมเคิล แองเจิลโล สามารถเขียนภาพนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบและ สามารถถ่ายทอดให้เราได้เห็นถึง พลังอำนาจที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดของพระผู้สร้างได้อย่างชัดเจน
หลังจากตระกูลเมดิชิหมดอำนาจลง ในปี ค.ศ. 1492 มิเคลันเจโลได้เดินทางไปเมืองโบโลญา เพื่อรับจ้างทำงานประติมากรรมประดับสุสาน ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1496-1501 เขาได้เดินทางไปพำนักอยุ่นกรุงโรม เพื่อรับจ้างเขียนรูปและรับงานประติมากรรมต่าง ๆ ในช่วงเวลานี้เองเขามีโอกาสสร้างผลงานสำคัญที่ทำให้ชื่อเสียงของเขาได้รับการกล่าวขวัญในฐานะประติมากรยิ่งใหญ่แห่งยุค คือ ประติมากรรมหินอ่อน “ ปิเอตา ” ( Pieta )
ซึ่งเป็นพระเยซูนอนอยุ่บนตักพระแม่มาเรียสลักหินอ่อนเนื้อขาวบริสุทธิ์สุง 5 ฟุต 9 นิ้ว แสดงให้เห็นความสามารถในการแกะสลักที่มีฝีมือสูงยิ่งและแฝงไว้ด้วยปรัชญาของคริสต์ศาสนา งานประติมากรรมชิ้นนี้ปัจจุบันชิ้นอยู่ที่โบสถ์เวนตืปีเตอร์กรุงโรมเมื่อแกะสลักรูปปีเอตาเสร็จแล้วเขาได้เดินทางกลับฟลอเรนซ์ในปีค.ศ.1501เพื่อรับงานแกะสลักหินอ่อนที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ ประติมากรรมหินอ่อนรูป “ เดวิด ” ( David ) ซึ่งแกะสลักจากแท่งหินอ่อนขนาดใหญ่ยาวประมาณ 18 ฟุต เป็นแท่งหินอ่อนเก่าแก่ที่วางทิ้งไว้โดยไม่มีประติมากรคนใดกล้าแกะสลัก มิเคลันเจโลใช้เวลาถึง 4 ปี เพื่อนฤมิตรแท่งหินอ่อนก้อนใหญ่นี้ให้เป็นชายหนุ่มรูปงามและเมื่อเขาแกะสลักรูปเดวิดเสร็จ มิเคลันเจดลกลายเป็นวีรบุรุษของชาวฟลอเรนซ์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วอิตาลี ( รูปเดวิดได้ทำจำลองขึ้นหลายรูป รูปต้นแบบปัจจุบันอยู่ที่ Gallerlia dell Academia นครฟลอเรนซ์ เป็นศิลปกรรมเด่นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดชิ้นหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ )
มิเคลันเจโล หรือ ไมเคิลแอนเจโลเกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างแท้จริง เขาทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็กจนถึงสองสามวันก่อนที่จะถึงแก่แรรมในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 เวลาประมาณ 16.30 น. ที่บ้านพักกรุงโรม อายุ 89 ปี ขณะที่แกะสลักงานประติมากรรมหินอ่อนชื่อ “ ปิเอตา รอนดานินี ” (Pieta Rondanini) ค้างอยู่ หลังจากถึงแก่กรรมแล้วศพถูกนำไปฝังไว้ที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ซึ่งเขาเป็นผู้ออกแบบ แต่ไม่สามารถกระทำได้ เพราะ Leonardo Buonarroti หลานชายของเขาได้นำศพมิเคลันเจโล กลับไปฝังที่โบสถ์ Santi Apostoli ในนครฟลอเรนซ์ถิ่นกำเนิดของเขาในวันที่ 10 มีนาคมปีเดียวกัน
ไมเคิล แองเจลโล ถือเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคที่รุ่งเรืองที่สุด คือ ยุคเรเนซองส์ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่รู้จักกันดีถึงความเจริญทางด้านศิลปกรรม ความก้าวหน้าทั้งทาง ด้านวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์คิดค้น วรรณกรรมตลอดจนไปถึงเรื่องของการต่อสู้ ทางการเมือง สำหรับทางด้านศิลปะนั้น ถือเป็นความเจริญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้ และไมเคิล แองเจิลโล ก็เป็นศิลปินที่นำหน้าศิลปินอื่นๆ ในยุคนี้ทั้งหมด เขามี ความสามารถเป็นเลิศในการเอาใจจดจ่ออยู่กับการใช้ความคิด การถ่ายทอดพลัง จากมือของเขาไปสู่ผลงานต่างๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น ในการทำงานของ ไมเคิล แองเจิลโล นั้น เขาจะทานขนมปังเป็นอาหารเพียงเล็กน้อย เท่านั้น เวลานอนก็นอนบนพื้น หรือผ้าใบข้างๆ ภาพเขียน และรูปแกะสลักที่ยังไม่เสร็จ เขาจะสวมเสื้อผ้าชุดเดิมไปจนกว่างานที่เขาทำจะเสร็จสมบูรณ์ลง ชีวิตของศิลปินผู้นี้นั้น มีเพียงเพื่อนสนิทอยู่ไม่กี่คนเท่านั้นที่ยังคงรักและบูชาเขา แต่โดยทั่วไปแล้ว คนส่วนมากจะคิดว่าเขาเป็นคนเย็นชา และไม่เป็นมิตรกับใคร ไมเคิล แองเจิลโล ใช้ชีวิตอยู่อย่างเป็นโสดโดยไม่ได้แต่งงานกับใครเลยไปจนตลอดชีวิตของเขา
ช่างแกะสลักผู้ชาญฉลาด
ในปี ค.ศ. 1496 ไมเคิล แองเจลโลได้มาที่กรุงโรมเป็นครั้งแรก และที่นี่เขาถูกว่าจ้าง ให้แกะสลัก "เปียตต้า" เปียตต้า เป็นรูปแกะสลักหินอ่อนทั้งหลัง โดยแกะเป็นรูปของ พระแม่มารี ซึ่งกำลังอุ้มพระศพของพระเยซูคริสต์อยู่บนหัวเข่ารูปแกะสลักนี้เป็นที่ รู้จักกันดีในนามของ "มาดอนน่า เดอะ เปียตต้า" ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับ ไมเคิล แองเจิลโลเป็นอย่างมาก รูปแกะสลักนี้ถูกนำไปตั้งไว้ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์
ที่บาซิริกา ในโรม
เมื่อไมเคิล แองเจลโลอายุได้ 26 ปี เขาได้กลับมาที่ฟลอเรนซ์อีกครั้งหนึ่ง เขาได้รับ หินอ่อนที่มีขนาดใหญ่ คือ มีขนาด 18 ฟุต หรือ 5.5 เมตร เป็นหินอ่อนที่ช่างแกะ คนก่อนแกะทิ้งเอาไว้แต่ยังไม่เสร็จและหินอ่อนก็อยู่ในสภาพ ที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไมเคิล แองเจลโล เอาใจใส่และทุ่มเทให้กับการแกะสลักหินก้อนนี้ เป็นเวลาถึง 2 ปี โดยปราศจากความหวั่นเกรงของอุปสรรคต่างๆ ทั้งในเรื่องความใหญ่โตของขนาด และความยากในการแกะเนื่องด้วยเป็นหินที่ผ่านการแกะสลักมาแล้วและด้วยความ เป็นช่างแกะผู้ปราชญ์เปรื่อง เขาก็ได้สร้างรูปแกะสลักที่งดงามที่สุดในโลกขึ้นเป็นรูป ของชายหนุ่มผู้กล้าหาญ ซึ่งมีนามว่า "เดวิด"
ในปี ค.ศ. 1505 ไมเคิล แองเจลโล ตัดสินใจไปยังโรม เพื่อไปทำงานสร้างสุสานของ พระสันตปาปา จูเลียสที่ 2 ที่เสียชีวิตลงสุสานนี้มีขนาดของ โครงสร้างที่ใหญ่โตมาก และประกอบด้วยรูปแกะถึง 40 ชิ้น โดยจัดวางเรียงเป็น 3 ชั้น ไล่ระดับกันลงมา เขาต้องใช้เวลาทั้งหมดหลายเดือนเพื่อทำการคัดเลือกหินอ่อนที่จะมาใช้ในงานนี้ แต่อุปสรรคต่างๆก็เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนอำนาจจากพระสันตปาปาคนก่อน ไปสู่มือพระสันตปาปาคนใหม่ เมื่อการเมืองเปลี่ยน ก็ก่อให้เกิดความอิจฉาริษยาขึ้น โดยมีการวางแผนงานใหม่ เพื่อขัดขวางการทำงานในการสร้างสุสานของไมเคิล แองเจลโล จนกระทั่งหลายปีผ่านไป เขาสามารถแกะสลักหินอ่อนได้เพียงไม่กี่รูป แต่ท่ามกลางงานแล้วนั้น เขาได้สร้างรูปแกะของ "โมเสส" ที่เป็นงานที่ทรงพลัง มากที่สุดของเขา ปัจจุบันรูปแกะสลักนี้ตั้งอยู่ในวิหารที่ซานเปียตโต ในวินซ์ลี่
วิหาร "ซิสทายส์" (Sistine Chapel)
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1508 ถึง 1512 ไมเคิล แองเจิลโล ได้รับมอบหมายให้ทำการ เขียนภาพบนหลังคาโค้งของวิหารซิสทายในโรมซึ่งประกอบด้วยภาพเขียนขนาดใหญ่ นับร้อยๆ ภาพ และแต่ละภาพที่ถูกเขียนขึ้นนั้นได้สร้างความตกตะลึงให้กับสายตา ของชาวโลกมาแล้ว ไมเคิล แองเจิลโล ต้องทำงานอยู่บนนั่งร้านที่สูงถึง 60 ฟุต หรือ
18 เมตรจากพื้น และครอบคลุมพื้นที่อีก 10,000 ตารางฟุต หรือ 930 ตารางเมตร ตลอดเวลาเขาต้องเขียนรูปในท่านอนให้หลังแนบติดกับนั่งร้านจนเป็นตะคริวทุกๆวัน ปูนเปียกจะถูกทาบนหลังคา และไมเคิลก็จำเป็นที่จะต้องเขียนภาพในแต่ละส่วนให้ เสร็จก่อนที่ปูนจะแห้ง และไม่สามารถที่จะแก้ไขถ้ารูปเกิดผิดพลาดได้เลย ในที่สุด
ไมเคิล แองเจิลโล ก็สามารถเขียนภาพเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดด้วยตัวของเขาเอง ภาพเขียน ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็น 9 ตอนด้วยกัน โดยเริ่มด้วยภาพการสร้างสิ่งต่างๆ ใน พระคัมภีร์บทปฐมกาล จนไปถึงตอนที่น้ำท่วมโลก ภาพเขียนอีกส่วนหนึ่งแสดงถึง บรรพบุรุษของพระคริสต์ โดยเขียนตามประวัติจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาพเขียนทั้งหมด นั้นต่างมีขนาดใหญ่และแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างงดงาม จนน่าอรรศจรรย์ เป็นเวลากว่า 20 ปีหลังจากเขียนภาพ บนหลังคาวิหารซิสทายเสร็จแล้ว ไมเคิลแองเจิลโล ได้เขียนภาพ "การพิพากษาครั้งสุดท้าย " เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่มากและครอบคลุม พื้นที่กำแพงทั้งหมดที่อยู่หลังแท่นบูชาในโบสถ์ ด้วยขนาดและฝีมือในการเขียนที่เป็นเลิศ รวมทั้งความหมายของภาพทำให้ภาพเขียนนี้เป็นงานเขียนบนฝาผนังอันทรงคุณค่าอย่างสูง
งานด้านอื่นๆ
ความเป็นอัจฉริยะของไมเคิลแองเจิลโลนั้น ไม่ได้ปรากฎอยู่แค่ในการเขียนภาพและ งานแกะสลักเท่านั้น เขายังมีพรสวรรค์ในอีกหลายสาขาด้วยกัน เช่นในงานเขียนบทกวี ในช่วงบั้นปลายของชีวิตเขานั้น ไมเคิล แองเจิลโลได้ออกแบบสถาปัตยกรรมให้กับ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ซึ่งถือเป็นแบบของสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดในสมัย เรเนซองส์ ไมเคิล แองเจิลโล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ในปีค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 89 ปี ศพของเขาถูกฝังที่โบสถ์ซานตาครู๊ส ในเมืองฟลอเรนซ์
ไมเคิล แองเจิลโล มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับศิลปินชื่อดังหลายคนด้วยกัน รวมทั้งได้ ทำงานให้กับผู้นำของอิตาลี และพระสันตปาปา ศิลปินร่วมสมัยกับไมเคิล แองเจิลโล ได้แก่ ลีโอนาโด ดาวินซี และราฟาแอล โดยที่ไมเคิล แองเจิลโล ถือเป็นศิลปินที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด และเป็นศิลปินเอกคนสุดท้ายในยุคทองของศิลปะในอิตาลี
ไมเคิล แองเจิลโล เป็นผู้ที่อุทิศทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ ให้กับการสร้างสรรค์ผลงาน เขาได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางโลก และทางศาสนาเข้าไว้ด้วยกันและถ่ายทอดเป็น ผลงานให้ชาวโลกได้ชม จนก่อให้เกิดเป็นยุคสมัยที่รุ่งเรือง และยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้
ศิลปินหลายคนก่อนที่จะมาถึงยุคของไมเคิล แองเจิลโล ได้วาดภาพของ อดัม (หนึ่งในมนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าทรง
สร้างขึ้นมา-ผู้แปล) นอนอยู่บนพื้นดิน ซึ่งกำลังยื่นมือออกไป
เพื่อสัมผัสกับมือของพระเป็นเจ้า แต่ไม่มีศิลปินคนไหนแสดง
ออกมาได้ อย่างน่าทึ่ง ดูเรียบง่าย และมีพลังแห่งการสร้างสรรค์
เท่ากับไมเคิล แองเจิลโลจากภาพ อดัมนอนเหยียดยาวอยู่บนพื้นที่แห้งแล้ง ทางด้านขวาเป็นภาพ ของพระผู้สร้างและเหล่าเทวดา ด้านหลังเป็นภาพของท้องฟ้าที่ว่างเปล่าจุดเดียวที่เป็นจุดสัมผัส ระหว่างอดัมผู้เป็นมนุษย์กับ พระเป็นเจ้านั้น คือ ปลายนิ้วชี้ของทั้งสองฝ่ายที่ยื่นมาเพื่อสัมผัสซึ่งกัน และกันนิ้วมืออันเปี่ยม ด้วยพลังแห่งชีวิตของพระผู้สร้างและนิ้วมืออันไร้ซึ่งชีวิตของอดัมพระผู้เป็นเจ้า ได้ถ่ายทอด การมีชีวิตให้กับอดัม ไมเคิล แองเจิลโล สามารถเขียนภาพนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบและ สามารถถ่ายทอดให้เราได้เห็นถึง พลังอำนาจที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดของพระผู้สร้างได้อย่างชัดเจน
วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553
Airbus A380
เครื่องบิน แอร์บัส A380 เป็นเครื่องบินห้องโดยสารสองชั้นขนาดใหญ่ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 800 คน หรือ 500 คนถ้าวางที่นั่งแบบ 3 ชั้นผู้โดยสารตามเครื่องบินพาณิชย์ปกติ เครื่องบินรุ่นนี้ได้ผ่านกำหนดการทดสอบการบินเที่ยวแรกในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบินขึ้นจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และได้ส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายการบินแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550
การผลิต
เครื่องบิน A380 สร้างขึ้นจากหลายๆ ประเทศใน ยุโรปได้แก่ Aeroapatiale-Matra ที่ Toulouse จะทำการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องบินในช่วงสุดท้าย การสร้างภายในลำตัว ดำเนินการ โดย DASA ที่ Hamburg ทั้ง Aerospatiale และ DASA สร้างส่วนต่างๆของโครงสร้างลำตัวด้วย, บริษัท BAE Systems สร้างส่วนของปีก, บริษัท CASA ของสเปน สร้างส่วนของแพนหาง, เครื่องยนต์ก็มีความก้าวหน้าในโครงการค้นคว้า บริษัท Rolls-Royce ก็ดำเนินการเองโดยลำพัง โดยพัฒนาจากเครื่องยนต์ตระกูล Trent
สิงคโปร์แอร์ไลน์เลือกเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent 900 ส่วนบริษัท Pratt และบริษัท GE ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องยนต์ จากตระกูล GE90 และ PW4000 โดยให้ชื่อว่า GP7200 ซึ่งแผนการปัจจุบันจะมีใบพัด (fan blade) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 นิ้ว มีอัตราส่วนของอากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เท่ากับ 8:1 สำหรับใช้กับเครื่องบิน A380 ซึ่งมีแรงขับดันระหว่าง 67,000-80,000 ปอนด์ เพื่อใช้กับโครงการ A380 (B747X จะใช้เครื่องยนต์รุ่น GP 7100 ซึ่งใบพัดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 101 นิ้ว อัตราส่วนของอากาศที่ผ่าน เครื่องยนต์เท่ากับ 7:1) ราคาของเครื่องบินลำนี้ประมาณ 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
[แก้] ระบบไฮดรอลิก
ระบบไฮดรอลิกของ A380 จะใช้ระบบที่มีแรงดัน 5000 psi. (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แทนการใช้ระบบ 3000 psi. (ปัจจุบัน เครื่องบินพาณิชย์ใช้อยู่คือ 3000 psi.) เพื่อใช้ในการควบคุมส่วนของโครงสร้างที่ใช้บังคับการบิน และทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิกที่ใช้เล็กลง ( แรง = แรงดัน x พื้นที่) และ สามารถลดน้ำหนักของเครื่องบินได้ประมาณถึงตัน
บริษัท Airbus ได้ประกาศ บริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ ผลิตอุปกรณ์บางชนิดเพื่อมาใช้กับเครื่อง A380 ดังนี้:
บริษัท Parker Hannifin Corp.แผนก Electronic Systems Division ได้รับคัดเลือกให้ผลิตระบบเครื่องวัด และระบบบริหารการใช้เชื้อเพลิง
บริษัท TRW / Thales ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมกัน พัฒนาระบบไฟฟ้าแบบความถี่ไม่คงที่
บริษัท Goodrich Corp. ได้รับการคัดเลือก ให้ผลิตระบบการออกฉุกเฉิน (evacuation systems) และระบบล้อประธาน (main landing gear) สำหรับ A380
บริษัท Rolls-Royce ได้รับให้ผลิตระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าเครื่องยนต์ Trent 900 ของตัวเอง
วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
เกิด 20 เม.ย. ปีค.ศ.1889 ที่เมืองเบราเนา ประเทศออสเตรีย ติดชายแดนเยอรมนี ทั้งพ่อ-อาลัวส์ และแม่คาร่า มาจากครอบครัวเกษตรกรที่ยากจน แต่พ่อเป็นคนฉลาดและทะเยอทะยาน จึงก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าหน้าที่ภาษี ช่วงที่มาแต่งงานกับแม่ อายุห่างกันถึง 23 ปี และมีลูกติดมา 2 คน ทำให้ฮิตเลอร์มีพี่น้องถึง 5 คน แต่โตขึ้นมาเหลือรอดอยู่ 2 คน คือฮิตเลอร์และน้องสาว
พ่อฮิตเลอร์เป็นคนที่เข้มงวดมาก และนิยมใช้ความรุนแรงลงโทษหากลูกไม่เชื่อฟัง ฮิตเลอร์จึงเป็นเด็กเรียนดีในตอนต้น เพื่อนๆ ยกย่องให้เป็นผู้นำ ทั้งยังเคร่งศาสนา จนใครๆ คิดว่าโตขึ้นมาจะเป็นนักบวช
แต่พอขึ้นเรียนชั้นสูงขึ้น วิชาต่างๆ ก็เริ่มยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสอบไม่ได้ที่ 1 พ่อเริ่มเกรี้ยวกราด เพราะกลัวลูกจะเข้ารับราชการไม่ได้ ส่วนเพื่อนๆ ก็เริ่มไม่ปลื้มให้เป็นหัวหน้า ความกดดันต่างๆ ทำให้ฮิตเลอร์เบี่ยงไปสนใจการต่อสู้
ครูชั้นมัธยมฯ คนเดียวที่ฮิตเลอร์ชื่นชอบ คือลีโอโพลด์ พอตช์ ซึ่งเป็นคนนิยมความสำเร็จของเยอรมนี จึงมักเล่าถึงชัยชนะต่างๆ ของเยอรมันเหนือฝรั่งเศส ในศึกปีค.ศ.1870-1871 และต่อว่าออสเตรียว่าไม่ยอมเข้าร่วมกับเยอรมนี ฮิตเลอร์พานชอบเยอรมันไปด้วย โดยมีออตโต วอน บิสมาร์ก นายกรัฐมนตรีของอาณาจักรเยอรมนี เป็นฮีโร่ในดวงใจ
สำหรับวิชาที่ฮิตเลอร์สนใจมากอีกวิชาคือศิลปะ ซึ่งทำให้ทะเลาะรุนแรงกับพ่อ เพราะไม่เห็นด้วยเลยที่จะให้ลูกเป็นศิลปิน ศึกพ่อลูกสิ้นสุดลงในปีค.ศ.1903 เมื่อพ่อฮิตเลอร์เสียชีวิต ตอนนั้นครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากทางการเงิน แต่ฮิตเลอร์ยังคงไม่รักเรียนเช่นเดิม จนแม่ยอมให้ออกจากโรงเรียน
ต่อมาในช่วงอายุ 18 ปี ฮิตเลอร์ได้รับมรดกของพ่อ และใช้เงินเดินทางไปกรุงเวียนนา หวังว่าจะไปเรียนวิชาศิลปะที่นั่น ฮิตเลอร์คิดว่าตนเองมีความสามารถทางศิลปะที่เหนือชั้น แต่พอไปถึงจริงกลับถูกสถาบันวิชาการศิลปะเวียนนาปฏิเสธใบสมัคร จากนั้นจึงย้ายไปสมัครที่โรงเรียนสถาปัตยกรรม แต่ไม่ได้อีก เพราะไม่มีใบรับรองจากโรงเรียนเก่า
ฮิตเลอร์อับอายมากที่ล้มเหลวเช่นนี้ จนไม่กล้าบอกความจริงกับแม่ว่าเกิดอะไรขึ้น แสร้งทำเป็นอยู่ในเวียนนาต่อไปว่าตนเองเป็นนักเรียนศิลปะ
หลังจากฮิตเลอร์ย้ายจากเมืองเบราเนาไปกรุงเวียนนา และเข้าเรียนศิลปะอย่างที่ใจหวังไม่ได้ ก็ไม่กล้าบอกแม่ว่าเกิดอะไรขึ้น แสร้งทำเป็นว่าเป็นนักเรียนศิลปะอยู่ที่กรุงเวียนนาอย่างนั้น โดยใช้เงินบำนาญมรดกของพ่อดำรงชีวิตในเมืองหลวงอย่างสบาย วันๆ ก็นอนเล่นอ่านหนังสือ ตกบ่ายไปพิพิธภัณฑ์ศิลปะ จนกระทั่งปีค.ศ.1907 แม่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
การเสียชีวิตของแม่ทำให้ฮิตเลอร์เสียใจสุดซึ้ง เพราะรักแม่มากและมากกว่าพ่อ ตามประวัติศาสตร์ฮิตเลอร์ถือรูปแม่ไปทุกที่แม้กระทั่งวาระสุดท้ายรูปก็ยังอยู่ในมือ
ในปีค.ศ.1909 ซึ่งเป็นปีที่ควรเกณฑ์ทหาร ฮิตเลอร์กลับไม่ยอมรับใช้กองทัพออสเตรียของตัวเอง เพราะแค้นอยู่ลึกๆ ที่สถาบันการศึกษาออสเตรียไม่เปิดโอกาสให้เรียน นอกจากนี้ยังชื่นชมอาณาจักรเยอรมนีที่เหนือกว่าออสเตรียมาตั้งแต่เด็ก จึงไปเป็นอาสาสมัครในกองทัพเยอรมนี ขึ้นชื่อว่าเป็นทหารกล้าตาย สู้เลือดเดือด
ช่วงเวลานี้ชีวิตของฮิตเลอร์มีทั้งขึ้นและลง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฮิตเลอร์ ย้ายไปอยู่มิวนิกและเริ่มชีวิตทางการเมือง ซึ่งล้มลุกคลุกคลานอยู่นาน จนกระทั่งปีค.ศ.1921 ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคนาซี มีนโยบายต่อต้านชาวยิวและผู้นิยมลัทธิสังคมนิยม
ในปี 1933 ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและหนึ่งปีถัดจากนั้นตั้งตนเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบ สร้างกองทัพยึดคืนแคว้นไรน์ และในปี 1936 ร่วมมือกับเผด็จการมุสโสลินีของอิตาลีบุกยึดออสเตรีย ชาติเกิดของตนเอง ตามด้วยเชโกสโลวะเกีย
สำหรับเชโกฯ นั้นบุกยากกว่าออสเตรีย เพราะมีฝรั่งเศสเป็นพันธมิตร ทางด้านอังกฤษจึงเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยแบ่งพื้นที่บางส่วนของเชโกฯ ให้เยอรมัน แต่ภายหลังถูกฮิตเลอร์หักหลังเข้ายึดทั้งประเทศ ทำให้อังกฤษอับอายมาก
ด้วยความที่ได้คืบจะเอาศอก ฮิตเลอร์ลุยต่อไปที่โปแลนด์ คราวนี้อังกฤษกับฝรั่งเศสไม่ยอมอีกแล้ว วันที่ 3 ก.ย.1939 จึงประกาศสงครามโลกครั้งที่ 2 กับเยอรมัน ฝ่ายพันธมิตรและอักษะสู้รบกันอยู่นานถึงปี 1945 ฝ่ายอักษะพ่ายแพ้ ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายพร้อมหญิงคนรัก อีวา วันที่ 30 เม.ย. ปีค.ศ.1945
วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553
10 ห้องโปรดในโรงเรียน ที่นักเรียนชอบเข้า
1.ห้องดนตรี - ห้องแห่งเสียงเพลงและทำนอง สำหรับคนที่เรียนวิชาดนตรี ในที่นี้มีทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากลนะคะ ห้องดนตรีสากล จะออกแนวบันเทิง เป็นแหล่งฝึกฝนวิชากันไป ส่วนห้องดนตรีไทย ก็ต้องสงบๆ และเคารพกันนิดหนึ่ง
2.ห้องศิลปะ - ห้องนี้สำหรับสร้างสรรค์จินตนาการค่ะ บรรยากาศก็จะอิสระนิดๆ คนที่ชอบวาดนั่นนี่ เข้าห้องนี้แล้วสุขสุดๆ หรือใครเก็บกดอารมณ์อะไรมา แอบมาติสท์แตกในนี้ ก็ถือว่าถูกทาง
3.ห้องคอมพิวเตอร์ - จะชอบมากเวลาพัก หรือเวลาว่าง เพราะชอบเข้าเน็ตมาดูข่าวสารความเคลื่อนไหว ดูรูป ดูคลิปนักร้องสุดที่รัก หรือเข้ามาหาสังคมออนไลน์
4.ห้องโสตทัศนศึกษา - เรียนสั้นๆว่าห้องโสตฯ สำหรับวิชาที่ต้องดูวิดิโอหรือมีฉายสไลด์ บางครั้งเวลาว่างก็อาจขออาจารย์มาเปิดดูหนังดูอะไรพักผ่อนได้บ้าง ยิ่งถ้ามีชุมนุมโสตฯด้วยละก็ จะเป็นชุมนุมที่คนเต็มไวที่สุดเลยไม่รู้ทำไม
5.ห้องพยาบาล - รู้สึกรุมๆ ตัวร้อนๆ ก็แวะไปห้องนี้สักหน่อย ได้กินยา หรือได้นอนพักในห้องนี้ แต่เห็นหลายคนอยากป่วย หรือทำตัวเหมือนป่วย ไปนอนบ่อยๆ
6.ห้องสมุด - ขึ้นชื่อว่าห้องสมุด ต้องรักษาความสงบเงียบอย่างเคร่งครัด เหมาะนักที่จะไปหาสมาธิ หลบลี้หนีจากผู้คน หรือแอบหลับตรงมุมชั้นวางหนังสือก็ยังได้
7.ห้องแลป - ห้องปฏิบัติการทางวิชาวิทยาศาสตร์ ดูน่าเรียนกว่าตอนจำสูตร จำสมการตั้งเยอะ
8.ห้องการงาน(ครัว) - โปรดสุดแล้วพี่น้อง ยิ่งห้องไหนมีวิชาการงานที่ต้องทำอาหาร พิฆาตคนทั้งโรงเรียนได้ด้วยกลิ่นอันหอมหวน จนอยากจะมาเกาะขอส่วนแบ่ง
9.ห้องแนะแนว - ห้องนี้จะได้รับความนิยมสูงสุดจากเด็ก ม.ปลายที่เตรียมแอดมิชชั่น เพราะต้องเข้าไปขอคำปรึกษาจากอาจารย์ในหลายๆเรื่อง บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องเรียนซะทีเดียว แต่เป็นเหมือนห้องปรึกษาปัญหาชีวิตของนักเรียนเลยหล่ะ
10.ห้องน้ำ - พลาดได้ยังไงห้องนี้ ประหนึ่งห้องแห่งสวรรค์ ถ้าไม่มี...ชีวิตนี้คงเศร้า พวกเราจะไปปลดทุกข์กันที่ไหน บางทีก็แอบไปตรวจความเรียบร้อยบนใบหน้า ส่องกระจก โบ๊ะแป้งแต่งหล่อ
2.ห้องศิลปะ - ห้องนี้สำหรับสร้างสรรค์จินตนาการค่ะ บรรยากาศก็จะอิสระนิดๆ คนที่ชอบวาดนั่นนี่ เข้าห้องนี้แล้วสุขสุดๆ หรือใครเก็บกดอารมณ์อะไรมา แอบมาติสท์แตกในนี้ ก็ถือว่าถูกทาง
3.ห้องคอมพิวเตอร์ - จะชอบมากเวลาพัก หรือเวลาว่าง เพราะชอบเข้าเน็ตมาดูข่าวสารความเคลื่อนไหว ดูรูป ดูคลิปนักร้องสุดที่รัก หรือเข้ามาหาสังคมออนไลน์
4.ห้องโสตทัศนศึกษา - เรียนสั้นๆว่าห้องโสตฯ สำหรับวิชาที่ต้องดูวิดิโอหรือมีฉายสไลด์ บางครั้งเวลาว่างก็อาจขออาจารย์มาเปิดดูหนังดูอะไรพักผ่อนได้บ้าง ยิ่งถ้ามีชุมนุมโสตฯด้วยละก็ จะเป็นชุมนุมที่คนเต็มไวที่สุดเลยไม่รู้ทำไม
5.ห้องพยาบาล - รู้สึกรุมๆ ตัวร้อนๆ ก็แวะไปห้องนี้สักหน่อย ได้กินยา หรือได้นอนพักในห้องนี้ แต่เห็นหลายคนอยากป่วย หรือทำตัวเหมือนป่วย ไปนอนบ่อยๆ
7.ห้องแลป - ห้องปฏิบัติการทางวิชาวิทยาศาสตร์ ดูน่าเรียนกว่าตอนจำสูตร จำสมการตั้งเยอะ
8.ห้องการงาน(ครัว) - โปรดสุดแล้วพี่น้อง ยิ่งห้องไหนมีวิชาการงานที่ต้องทำอาหาร พิฆาตคนทั้งโรงเรียนได้ด้วยกลิ่นอันหอมหวน จนอยากจะมาเกาะขอส่วนแบ่ง
9.ห้องแนะแนว - ห้องนี้จะได้รับความนิยมสูงสุดจากเด็ก ม.ปลายที่เตรียมแอดมิชชั่น เพราะต้องเข้าไปขอคำปรึกษาจากอาจารย์ในหลายๆเรื่อง บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องเรียนซะทีเดียว แต่เป็นเหมือนห้องปรึกษาปัญหาชีวิตของนักเรียนเลยหล่ะ
10.ห้องน้ำ - พลาดได้ยังไงห้องนี้ ประหนึ่งห้องแห่งสวรรค์ ถ้าไม่มี...ชีวิตนี้คงเศร้า พวกเราจะไปปลดทุกข์กันที่ไหน บางทีก็แอบไปตรวจความเรียบร้อยบนใบหน้า ส่องกระจก โบ๊ะแป้งแต่งหล่อ
7 สิ่งที่ไม่ควรทำหลังการทานอาหาร
1. อย่าสูบบุหรี่ !!
จากผลการทดลองของผู้เชี่ยวชาญพบว่า
การสูบบุหรี่หลังอาหาร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ยามปกติถึง 10 มวน
(ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น ซึ่งสูบปกติก็มีโอกาสเป็นอยู่แล้ว)
2. อย่ากินผลไม้ทันทีหลังอาหาร !!
เพราะมันไปพองในท้องคุณ
ให้กินผลไม้ 1 หรือ 2 ชม. ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้จะดีกว่า
3. อย่าดื่มน้ำชา !!
เพราะว่าใบชามีความเป็นกรดสูง
ทำให้โปรตีนในอาหารที่เรากินกระด้างขึ้นทำให้ย่อยยาก
4. อย่าขยายเข็มขัดหลังกินอิ่ม !!
เพราะเป็นเหตุให้ลำไส้ไม่ปกติ
5. อย่าอาบน้ำหลังกินข้าว !!
เพราะการอาบน้ำ จะทำให้โลหิตไหลเวียนไปที่มือ และเท้าทั่วร่างกาย
เป็นเหตุให้ปริมาณโลหิตไหลเวียนบริเวณท้องก็เพิ่มขึ้น
ซึ่งส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่
6. อย่าเดินหลังอาหาร !!
แม้คุณจะเคยได้ยินว่า
กินข้าวแล้วให้เดินสัก 100 ก้าวจะทำให้อายุยืนถึง 99 ปี !?!
การเดินทันทีทำให้การย่อยเพื่อดูดซึมสารอาหารทำได้ไม่ดี
ควรรออย่างน้อยสักชั่วโมงค่อยเดินถ้าต้องการ
7. อย่านอนทันที !!
อาหารที่รับประทานเข้าไปไม่สามารถย่อยได้เต็มที่
อาจทำให้เกิดลมหรือแก๊สในทางเดินอาหาร
จากผลการทดลองของผู้เชี่ยวชาญพบว่า
การสูบบุหรี่หลังอาหาร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ยามปกติถึง 10 มวน
(ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น ซึ่งสูบปกติก็มีโอกาสเป็นอยู่แล้ว)
2. อย่ากินผลไม้ทันทีหลังอาหาร !!
เพราะมันไปพองในท้องคุณ
ให้กินผลไม้ 1 หรือ 2 ชม. ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้จะดีกว่า
3. อย่าดื่มน้ำชา !!
เพราะว่าใบชามีความเป็นกรดสูง
ทำให้โปรตีนในอาหารที่เรากินกระด้างขึ้นทำให้ย่อยยาก
4. อย่าขยายเข็มขัดหลังกินอิ่ม !!
เพราะเป็นเหตุให้ลำไส้ไม่ปกติ
5. อย่าอาบน้ำหลังกินข้าว !!
เพราะการอาบน้ำ จะทำให้โลหิตไหลเวียนไปที่มือ และเท้าทั่วร่างกาย
เป็นเหตุให้ปริมาณโลหิตไหลเวียนบริเวณท้องก็เพิ่มขึ้น
ซึ่งส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่
6. อย่าเดินหลังอาหาร !!
แม้คุณจะเคยได้ยินว่า
กินข้าวแล้วให้เดินสัก 100 ก้าวจะทำให้อายุยืนถึง 99 ปี !?!
การเดินทันทีทำให้การย่อยเพื่อดูดซึมสารอาหารทำได้ไม่ดี
ควรรออย่างน้อยสักชั่วโมงค่อยเดินถ้าต้องการ
7. อย่านอนทันที !!
อาหารที่รับประทานเข้าไปไม่สามารถย่อยได้เต็มที่
อาจทำให้เกิดลมหรือแก๊สในทางเดินอาหาร
12 วิชาเลือกของเด็กนอก ที่เด็กไทยต้องร้องว้าววว !
Yearbook Production (การทำหนังสือรุ่น)
วิชานี้คือการสอนขั้นตอนการทำหนังสือรุ่น โดยจะได้เรียนการทำแบบละเอียดสุดๆ ตั้งแต่การเก็บข้อมูลจากเพื่อนๆ การจัดหน้าหนังสือ การออกแบบกราฟฟิค การส่งเข้าโรงพิมพ์ การพิสูจน์อักษร
Photography (การถ่ายภาพ)
การเรียนถ่ายภาพที่ไฮสคูล เค้าเรียนกันตั้งแต่ม.ต้นเลย การเรียนของเค้ามีถึงขั้นการไปออกทริป ส่งประกวดระดับโรงเรียนระดับเขต คนที่สนใจเรียนก็ต้องมีกล้องเป็นของตัวเองสะก่อน จะกล้องแบบไหนก็ได้ เพราะการเรียนภาพถ่ายระดับไฮสคูล เค้าจะสอนกันในระบบเบื้องต้น + มุมมองการถ่ายภาพมากกว่า
Cosmetology (เครื่องสำอางศึกษา)
ชื่อวิชานี้ก็มาจากคอสเมติกซึ่งแปลว่า เครื่องสำอาง นั้นเเหละ แต่ไม่ได้หมายถึงการผลิตเครื่องสำอางออกมาขายนะ แต่ระดับไฮสคูล จะสอนเกี่ยวกับการผสมง่ายๆในเครื่องสำอางที่เราพบเจอกันบ่อยๆ และดูว่าส่วนผสมไหนเหมาะกับผิวไหน เพื่อจะได้ใช้เครื่องสำอางที่เหมาะสม
Orchestra (ออเครสตร้า)
เหมาะกับคนใจรักเสียงดนตรีที่อยากจะเปล่งเสียงออกมา ซึ่งอันนี้อาจจะเป็นข้อได้เปรียบของประเทศตะวันตกที่เค้ามีบุคลากรที่ชำนาญด้านวงออเครสตร้าเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการที่จะหาอาจารย์มาสอนออเครสตร้าของไทยยังมีไม่มากนักและลำบากด้วย
Animal care (การดูแลสัตว์)
ซึ่งส่วนมากจะหมายถึงสัตว์พวกหมา แมว กระรอก หรืออะไรที่เราเลี้ยงได้ เพราะคนส่วนมากชอบเลี้ยงสัตว์กันแต่ก็ดูแลสัตว์กันผิดๆ ดังนั้น จึงเหมาะกับคนที่รักสัตว์และพร้อมที่จะเรียนรู้วิธีการดูแลพวกเขาอย่างถูกวิธี
World Literature (วรรณกรรมโลก)
ในวิชานี้จะได้เรียนกับวรรณกรรมชื่อดังของโลกมากมายหลายประเทศ เช่น Napoleon and Josephine, Romeo and Juliet, Pinocchio พร้อมทั้งเรียนรู้ประวัติของผู้ประพันธ์และวิเคราะห์วรรณกรรมอย่างง่ายๆ
Anatomy (กายวิภาคศาสตร์)
เป็นวิชาสุดมันของนิสิตนักศึกษาแพทย์ศาสตร์ ที่เมืองนอกจะเรียนกันตั้งแต่ไฮสคูล ซึ่งจะแยกวิชานี้ออกเป็นวิชาโดดๆ ต่างจากบ้านเราที่จะไปรวมกันในคาบของวิชาชีววิทยาที่ผ่าหัวใจหมู ... ซึ่งการผ่าเนี่ย จะผ่ากันแบบอลังการมาก เช่น ผ่าซากปลาโลมา ผ่าซากแมว ซึ่งทางโรงเรียนจะมีซากพวกนี้มาใหเราเรียนกัน
Child Service (การดูแลเด็ก)
วิชานี้เหมาะกับคนที่รักเด็กและใจเย็น เพราะจะได้ลองเลี้ยงเด็กกันจริงจังมาก ตอนแรกอาจจะเป็นลูกของครูในโรงเรียนนี้แหละ แต่พอเริ่มเก่งแล้ว อาจจะออกไปตามสถานที่เลี้ยงเด็กต่างๆ เพื่อลองเป็นพี่เลี้ยงเด็กกันจริงๆ
Theatre (การละคร)
เน้นหลักๆที่การแสดงละครเวที ใครถนัดอะไรก็เลือกได้เลย พระเอก พระรอง นางเอก นางรอง นางร้าย ฯลฯ ซึ่งใครมีแววก็จะได้เล่นในงานต่างๆของโรงเรียน ซึ่งสนุกกันมากเพราะเด็กฝรั่งกล้าแสดงออก เล่นที่สุดเหวี่ยง อินได้อีก
Graphic Design (กราฟฟิคดีไซน์)
เป็นวิชาที่น่าสนใจและน่าเรียนมาก เพราะไฮเทคและอินเตอร์สุดๆ แถมยังเก็บเป็นพอร์มฟอลิโอไว้สมัครเข้ามหาวิทยาลัยได้ด้วย โดยจะเริ่มสอนตั้งแต่โปรแกรมพื้นฐาน Photoshop ไปยัง Illustrator, Maya 3D ซึ่งในเมืองไทยบางโรงเรียนก็มีเปิดสอนแล้ว ถือว่าเป็นประโยชน์กับตัวเอง
Tourism (การท่องเที่ยว)
วิชาที่แสนจะน่าสนใจมาก และหลายคนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มีเฉพาะเที่ยวอย่างเดียว เพราะมันมีมากกว่านั้นและยากกว่านั้น การที่จะเป็นไกด์จะต้องรู้ครอบคลุมจักรวาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
Sign Language (ภาษามือ)
จะได้เรียนรู้การใช้ภาษามือสื่อสารเป็นคำๆและเป็นประโยคง่ายๆ วิชานี้เป็นวิชาที่ฮิตมากๆ เพราะถือว่าเป็นวิชาที่แปลกใหม่ เรียนแล้วได้ประสบการณ์เพียบ แถมยัมีโรงเรียนที่เปิดสอนวิชานี้เยอะมาก
วิชานี้คือการสอนขั้นตอนการทำหนังสือรุ่น โดยจะได้เรียนการทำแบบละเอียดสุดๆ ตั้งแต่การเก็บข้อมูลจากเพื่อนๆ การจัดหน้าหนังสือ การออกแบบกราฟฟิค การส่งเข้าโรงพิมพ์ การพิสูจน์อักษร
Photography (การถ่ายภาพ)
การเรียนถ่ายภาพที่ไฮสคูล เค้าเรียนกันตั้งแต่ม.ต้นเลย การเรียนของเค้ามีถึงขั้นการไปออกทริป ส่งประกวดระดับโรงเรียนระดับเขต คนที่สนใจเรียนก็ต้องมีกล้องเป็นของตัวเองสะก่อน จะกล้องแบบไหนก็ได้ เพราะการเรียนภาพถ่ายระดับไฮสคูล เค้าจะสอนกันในระบบเบื้องต้น + มุมมองการถ่ายภาพมากกว่า
Cosmetology (เครื่องสำอางศึกษา)
ชื่อวิชานี้ก็มาจากคอสเมติกซึ่งแปลว่า เครื่องสำอาง นั้นเเหละ แต่ไม่ได้หมายถึงการผลิตเครื่องสำอางออกมาขายนะ แต่ระดับไฮสคูล จะสอนเกี่ยวกับการผสมง่ายๆในเครื่องสำอางที่เราพบเจอกันบ่อยๆ และดูว่าส่วนผสมไหนเหมาะกับผิวไหน เพื่อจะได้ใช้เครื่องสำอางที่เหมาะสม
Orchestra (ออเครสตร้า)
เหมาะกับคนใจรักเสียงดนตรีที่อยากจะเปล่งเสียงออกมา ซึ่งอันนี้อาจจะเป็นข้อได้เปรียบของประเทศตะวันตกที่เค้ามีบุคลากรที่ชำนาญด้านวงออเครสตร้าเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการที่จะหาอาจารย์มาสอนออเครสตร้าของไทยยังมีไม่มากนักและลำบากด้วย
Animal care (การดูแลสัตว์)
ซึ่งส่วนมากจะหมายถึงสัตว์พวกหมา แมว กระรอก หรืออะไรที่เราเลี้ยงได้ เพราะคนส่วนมากชอบเลี้ยงสัตว์กันแต่ก็ดูแลสัตว์กันผิดๆ ดังนั้น จึงเหมาะกับคนที่รักสัตว์และพร้อมที่จะเรียนรู้วิธีการดูแลพวกเขาอย่างถูกวิธี
World Literature (วรรณกรรมโลก)
ในวิชานี้จะได้เรียนกับวรรณกรรมชื่อดังของโลกมากมายหลายประเทศ เช่น Napoleon and Josephine, Romeo and Juliet, Pinocchio พร้อมทั้งเรียนรู้ประวัติของผู้ประพันธ์และวิเคราะห์วรรณกรรมอย่างง่ายๆ
Anatomy (กายวิภาคศาสตร์)
เป็นวิชาสุดมันของนิสิตนักศึกษาแพทย์ศาสตร์ ที่เมืองนอกจะเรียนกันตั้งแต่ไฮสคูล ซึ่งจะแยกวิชานี้ออกเป็นวิชาโดดๆ ต่างจากบ้านเราที่จะไปรวมกันในคาบของวิชาชีววิทยาที่ผ่าหัวใจหมู ... ซึ่งการผ่าเนี่ย จะผ่ากันแบบอลังการมาก เช่น ผ่าซากปลาโลมา ผ่าซากแมว ซึ่งทางโรงเรียนจะมีซากพวกนี้มาใหเราเรียนกัน
Child Service (การดูแลเด็ก)
วิชานี้เหมาะกับคนที่รักเด็กและใจเย็น เพราะจะได้ลองเลี้ยงเด็กกันจริงจังมาก ตอนแรกอาจจะเป็นลูกของครูในโรงเรียนนี้แหละ แต่พอเริ่มเก่งแล้ว อาจจะออกไปตามสถานที่เลี้ยงเด็กต่างๆ เพื่อลองเป็นพี่เลี้ยงเด็กกันจริงๆ
Theatre (การละคร)
เน้นหลักๆที่การแสดงละครเวที ใครถนัดอะไรก็เลือกได้เลย พระเอก พระรอง นางเอก นางรอง นางร้าย ฯลฯ ซึ่งใครมีแววก็จะได้เล่นในงานต่างๆของโรงเรียน ซึ่งสนุกกันมากเพราะเด็กฝรั่งกล้าแสดงออก เล่นที่สุดเหวี่ยง อินได้อีก
Graphic Design (กราฟฟิคดีไซน์)
เป็นวิชาที่น่าสนใจและน่าเรียนมาก เพราะไฮเทคและอินเตอร์สุดๆ แถมยังเก็บเป็นพอร์มฟอลิโอไว้สมัครเข้ามหาวิทยาลัยได้ด้วย โดยจะเริ่มสอนตั้งแต่โปรแกรมพื้นฐาน Photoshop ไปยัง Illustrator, Maya 3D ซึ่งในเมืองไทยบางโรงเรียนก็มีเปิดสอนแล้ว ถือว่าเป็นประโยชน์กับตัวเอง
Tourism (การท่องเที่ยว)
วิชาที่แสนจะน่าสนใจมาก และหลายคนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มีเฉพาะเที่ยวอย่างเดียว เพราะมันมีมากกว่านั้นและยากกว่านั้น การที่จะเป็นไกด์จะต้องรู้ครอบคลุมจักรวาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
Sign Language (ภาษามือ)
จะได้เรียนรู้การใช้ภาษามือสื่อสารเป็นคำๆและเป็นประโยคง่ายๆ วิชานี้เป็นวิชาที่ฮิตมากๆ เพราะถือว่าเป็นวิชาที่แปลกใหม่ เรียนแล้วได้ประสบการณ์เพียบ แถมยัมีโรงเรียนที่เปิดสอนวิชานี้เยอะมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)