วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"เอลนีโญ่"ถล่ม ปี 54 แล้งวิกฤติ-แม่น้ำเหือดเขื่อนแห้ง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระแสน้ำทั่วโลก

"เอลนีโญ่"ถล่ม ปี 54 แล้งวิกฤติ-แม่น้ำเหือดเขื่อนแห้ง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระแสน้ำทั่วโลก



อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่ง 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกระส่ำ เจอพายุความร้อน "เอลนีโญ่" ถล่ม ไทยร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เตือนปี 54 เผาจริง เขื่อนและแหล่งน้ำทั่วประเทศแห้ง
ตั้งแต่ปี 2552 นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังกระแสน้ำทะเลแปซิฟิก เนื่องจากมีความแปรปรวนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 10 ปี ปกติลมจะพัดจากฝั่งทะเลตะวันออก หรือแถวประเทศเปรู ชิลี เอกวาดอร์ ไปยังฝั่งตะวันตกใกล้อินโดนีเซียและออสเตรเลีย แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำอุ่นธรรมดา แต่เป็นน้ำทะเลที่อุ่นมากจากฝั่งตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นฝั่งตะวันออก นั่นคือปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" ขั้นรุนแรง ?!!
เช้าตรู่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ชาวประมงชิลีตกตะลึงกับภาพที่เห็นตรงหน้า สิงโตทะเลเกือบ 200 ตัว นอนตายเกลื่อนชายหาด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เกิดจาก "เอลนีโญ่" ส่วนนักอนุรักษ์ธรรมชาติเชื่อว่า เป็นเพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ลูกสิงโตฝืนมีชีวิตในน้ำทะเลเน่าต่อไปไม่ไหว
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ อากาศหนาวเย็นจัดในหลายทวีป บางประเทศหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ที่กรุงปักกิ่ง หิมะสะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ผสมกับพายุหิมะที่พัดมาเป็นระลอก ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนเตือนว่า นี่คือวิกฤติอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี อีกไม่นานภาคใต้ของจีนอาจไม่ได้เจอแค่พายุหิมะ แต่เป็นพายุน้ำแข็ง ล่าสุดผู้นำประเทศเวเนซุเอลาประกาศว่า น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ แทบไม่เหลือแล้ว เชื่อว่า "เอลนีโญ่" ครั้งนี้ทำให้เวเนซุเอลาเผชิญกับภัยแล้งที่สุดในรอบ 100 ปี อาจจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน

ในประเทศไทย มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาเตือนว่า "เอลนีโญ่" จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วประเทศ อุณหภูมิหน้าร้อนปีนี้จะสูงทะลุเกิน 40 องศาเซลเซียส อย่างแน่นอน
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ 1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส

สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนัก และ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554

วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554 จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552 ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554 จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541 ไทยเจอ 'เอลนีโญ่' ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก เพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม"
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 ว่า ฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ หลายพื้นที่จะประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก
อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2543 วัดได้ 35-36 องศาเซลเซียส แต่คำพยากรณ์ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2553 อากาศจะร้อนจนทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทั่วประเทศ โดยภาคเหนือและภาคอีสานจะสูงที่สุด 41-43 องศาเซลเซียส ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิเฉลี่ย 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯ จะดีกว่าเล็กน้อย คือ 37-39 องศาเซลเซียส
"สงกรานต์ อักษร" ผอ.สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากข้อมูลการวัดทุ่นในน้ำทะเลกลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลการวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจากดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ ยืนยันได้ว่า น้ำอุ่นขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบไปยังแต่ละประเทศทั่วโลกไม่เท่ากัน เช่น อินโดนีเซีย ตอนนี้เจออากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แต่ในไทยยังมีโอกาสที่ฝนจะตกมากกว่า เพราะสภาพอากาศของไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมมากกว่ากระแสน้ำทะเล

อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่ง 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกระส่ำ เจอพายุความร้อน "เอลนีโญ่" ถล่ม ไทยร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เตือนปี 54 เผาจริง เขื่อนและแหล่งน้ำทั่วประเทศแห้ง
ตั้งแต่ปี 2552 นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังกระแสน้ำทะเลแปซิฟิก เนื่องจากมีความแปรปรวนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 10 ปี ปกติลมจะพัดจากฝั่งทะเลตะวันออก หรือแถวประเทศเปรู ชิลี เอกวาดอร์ ไปยังฝั่งตะวันตกใกล้อินโดนีเซียและออสเตรเลีย แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำอุ่นธรรมดา แต่เป็นน้ำทะเลที่อุ่นมากจากฝั่งตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นฝั่งตะวันออก นั่นคือปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" ขั้นรุนแรง ?!!
เช้าตรู่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ชาวประมงชิลีตกตะลึงกับภาพที่เห็นตรงหน้า สิงโตทะเลเกือบ 200 ตัว นอนตายเกลื่อนชายหาด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เกิดจาก "เอลนีโญ่" ส่วนนักอนุรักษ์ธรรมชาติเชื่อว่า เป็นเพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ลูกสิงโตฝืนมีชีวิตในน้ำทะเลเน่าต่อไปไม่ไหว


พันธ์ 2552ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ อากาศหนาวเย็นจัดในหลายทวีป บางประเทศหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ที่กรุงปักกิ่ง หิมะสะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ผสมกับพายุหิมะที่พัดมาเป็นระลอก ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนเตือนว่า นี่คือวิกฤติอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี อีกไม่นานภาคใต้ของจีนอาจไม่ได้เจอแค่พายุหิมะ แต่เป็นพายุน้ำแข็ง ล่าสุดผู้นำประเทศเวเนซุเอลาประกาศว่า น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ แทบไม่เหลือแล้ว เชื่อว่า "เอลนีโญ่" ครั้งนี้ทำให้เวเนซุเอลาเผชิญกับภัยแล้งที่สุดในรอบ 100 ปี อาจจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในประเทศไทย มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาเตือนว่า "เอลนีโญ่" จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วประเทศ อุณหภูมิหน้าร้อนปีนี้จะสูงทะลุเกิน 40 องศาเซลเซียส อย่างแน่นอน
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ 1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส

 สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนัก และ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554
"วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554 จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552 ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554 จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541 ไทยเจอ 'เอลนีโญ่' ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก เพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม"
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 ว่า ฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ หลายพื้นที่จะประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก

อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2543 วัดได้ 35-36 องศาเซลเซียส แต่คำพยากรณ์ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2553 อากาศจะร้อนจนทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทั่วประเทศ โดยภาคเหนือและภาคอีสานจะสูงที่สุด 41-43 องศาเซลเซียส ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิเฉลี่ย 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯ จะดีกว่าเล็กน้อย คือ 37-39 องศาเซลเซียส
"สงกรานต์ อักษร" ผอ.สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากข้อมูลการวัดทุ่นในน้ำทะเลกลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลการวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจากดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ ยืนยันได้ว่า น้ำอุ่นขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบไปยังแต่ละประเทศทั่วโลกไม่เท่ากัน เช่น อินโดนีเซีย ตอนนี้เจออากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แต่ในไทยยังมีโอกาสที่ฝนจะตกมากกว่า เพราะสภาพอากาศของไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมมากกว่ากระแสน้ำทะเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน