วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เฟรเดริก โชแปง

ประวัติ


โชแปงเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 (ตามบันทึกของสังฆมณฑลบอกว่าเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์) ที่เมือง เซลาโซวา โวลาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ บิดาของโชแปงเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมารังวิลล์-ซูร์-มาดง (Marainville-sur-Madon) ในแคว้นลอแรนน์ มารดาเป็นชาวโปแลนด์ โชแปงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุหกขวบ (พ.ศ. 2359) และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ (พ.ศ. 2360) และเปิดการแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่ออายุแปดขวบ (ค.ศ. 1818) ครูสอนดนตรีคนแรกของโชแปงได้แก่ โวซีเอค ซีนี(Wojciech Żywny) และหลังจากปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีจากโจเซฟ เอลส์เนอร์ (Joseph Elsner) เป็นหลัก
ในปี พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) เขาได้จากโปแลนด์ประเทศบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพนักดนตรีที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ใช้ช่วงชีวิตที่เหลือพำนักอยู่ที่กรุงปารีส หรือไม่ก็ในบริเวณใกล้เคียง เขาตกหลุมรักสาวนางหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ ความรักที่เขามีต่อหล่อนได้เป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง "บัลลาด หมายเลข 1 โอปุสที่ 23" ที่แสนไพเราะ รวมถึงมูฟเมนท์ที่สองของคอนแชร์โต้หมายเลขหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838) ถึง 2390 (ค.ศ. 1847) เขาได้กลายเป็นชู้รักของจอร์จเจอ ซ็องด์(George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของโชแปงทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด เห็นจะได้แก่เหตุการณ์ในเกาะมายอร์ก้า ประเทศสเปน ในช่วงที่โชแปงใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่อย่างอนาถในบ้านชาวนาโดยปราศจากเครื่องทำความร้อน บทเพลงเขาได้ประพันธ์ระหว่างช่วงเวลาอันน่าสังเวชนี้ได้แก่พรีลูด โอปุสที่ 28 อันพรรณนาถึงความสิ้นหวังของทั้งคู่ ช่วงเวลาดังกล่าวได้มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของโชแปง ที่ป่วยจากวัณโรคเรื้อรัง ทำให้เขาและจอร์จเจอ ซ็องด์ต้องตัดสินใจเดินทางกลับกรุงปารีสเพื่อรักษาชีวิตของโชแปงเอาไว้ เขารอดชีวิตมาได้ก็จริง แต่ก็ไม่หายขาดจากอาการป่วย จนกระทั่งจบชีวิตอย่างน่าสลดด้วยวัยเพียง 39 ปี
โชแปงสนิทกับฟรานซ์ ลิซท์ (Franz Liszt) วินเซนโซ เบลลินี (Vincenzo Bellini - ผู้ซึ่งศพถูกฝังอยู่ใกล้กับเขาที่สุสานแปร์ ลาแชสในกรุงปารีส) และยูจีน เดอลาครัวซ์ เขายังเป็นเพื่อนกับคีตกวีเฮกเตอร์ แบร์ลิออซ (Hector Berlioz) และโรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) และแม้ว่าโชแปงจะได้มอบบทเพลงบางบทเพื่ออุทิศให้เพื่อนนักประพันธ์ทั้งสองก็ตาม แต่เขาก็ไม่ค่อยประทับใจกับบทเพลงที่ทั้งสองแต่ขึ้นสักเท่าไหร่นัก เขาได้ขอร้องให้ร้องเพลงสวดเรควีเอ็มของโมซาร์ทในงานศพของเขา แต่เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) พิธีศพที่จัดขึ้นที่โบสถ์ ลา มัดเดอเล็น(La Madeleine)ไม่ได้ราบเรียบเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มีการขออนุญาตให้ใช้วงประสานเสียงสตรีในการร้องเพลงสวด ข่าวอื้อฉาวดังกล่าวได้แพร่ออกไปส่งผลให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไปอีกสองสัปดาห์ แต่ในที่สุดโบสถ์ก็ยอมรับคำขอดังกล่าว ทำให้คำขอร้องครั้งสุดท้ายของโชแปงก็เป็นจริงขึ้นมา
ผลงานทุกชิ้นของโชแปงเป็นผลงานชิ้นเอก รวมถึงเพลงบรรเลงสำหรับเปียโน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเดี่ยวเปียโน งานประพันธ์ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานมีเพียงคอนแชร์โต้สองบท โปโลเนส(polonaise)หนึ่งบท รอนโด้(rondo)หนึ่งบท และวาริอาซิยง(variation)อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวงออเคสตร้า เพลงเชมเบอร์มิวสิคมีเพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาได้นำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับออกุสต์ ฟร็องชอมม์ (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิคของโชแปงได้ใช้เชลโล่บรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน
 บทเพลงสำหรับบรรเลงเปียโน เรียงลำดับตามหมายเลขของโอปุส

Opus


1 รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1825)

2 วาริอาซิยง สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า จาก „Lá ci darem la mano“ ของโมซาร์ท (Mozart) ในบันไดเสียง H (1827/8)

3 อังโทรดุกซิยง และโปโลเนส สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง c (1829)

4 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 1 ในบันไดเสียง c (1828)

5 รอนโด้ อา ลา มาซูร์ ในบันไดเสียง f (1826/7)

6 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง fis, cis, E, es(1830/2)

7 มาซูร์ก้าห้าบท ในบันไดเสียง B, a, f, As, C (1830/2)

8 ทริโอ้ สำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล่ ในบันไดเสียง g (1829)

9 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง b, Es, H (1830/2)

10 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่สหายฟร้านซ์ ลิซ)ในบันไดเสียง C, a, E, cis, Ges, es, C, F, f, As, Es, c (1830/2)

11 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 1 ในบันไดเสียง e (1830)

12 อังโทรดุกซิยง และวาริอาซิยง บริลย็องต์ จาก „Je vends des scapulaires“ ของ „Ludovic“ d’Hérold ในบันไดเสียง B (1833)

13 ฟ็องเตซีสำหรับเปียโนและออเคสตร้า จากทำนองเพลงของโปแลนด์ ในบันไดเสียง A (1829)

14 รอนโด้ของชาวคราโควี สำหรับเปียโนและออเคสตร้า ในบันไดเสียง F (1831/3)

15 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง F, Fis, g (1831/3)

16 อังโทรดุกซิยง และ รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1829)

17 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง B, e, As, a (1831/3)

18 กร็องด์ วาลซ์ บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1833)

19 โบเลอโรในบันไดเสียง C (etwa 1833)

20 แชโซหมายเลข 1 ในบันไดเสียง h (1831/4)

21 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 2 ในบันไดเสียง f (1829/30)

22 อานดันเต้ สปิอานาโต้ และ กร็องด์ โปโลเนส บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1830/6)

23 บัลลาด หมายเลข 1 ในบันไดเสียง g (1835)

24 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง g, C, As, b (1833/6)

25 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่มาดามก็องเตส โดกุลต์)ในบันไดเสียง As, f, F, a, e, gis, cis, Des, Ges, h, a, c (1833/7)

26 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง cis, es (1831/6)

27 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง cis, Des (1833/6)

28 พรีลูด 24 บทในทุกบันไดเสียง (1838/9)

29 อิมพร็อมตู หมายเลข 1 ในบันไดเสียง As (etwa 1837)

30 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง c, h, Des, cis (1836/7)

31 แชโซหมายเลข 2 ในบันไดเสียง b (1835/7)

32 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, As (1835/7)

33 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง gis, D, C, h (1836/8)

34 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง As, a, F (1831/8)

35 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 2 ในบันไดเสียง b-moll (1839)

36 อิมพร็อมตู หมายเลข 2 ในบันไดเสียง Fis (1839)

37 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง g, G (1837/9)

38 บัลลาด หมายเลข 2 ในบันไดเสียง F (1839)

39 แชโซหมายเลข 3 ในบันไดเสียง cis (1839)

40 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง A (เรียกอีกชื่อว่า„Militaire“)และบันไดเสียง c (1838/9)

41 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง cis, e, H, As (1838/9)

42 กร็องด์ วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1839/40)

43 ทาแรนเทลลาในบันไดเสียง as (1841)

44 โปโลเนส ในบันไดเสียง fis (1841)

45 พรีลูด (1838/39)

46 อัลเลโกร ของคอนแชร์โต้ (1832/41)

47 บัลลาด หมายเลข 3 ในบันไดเสียง As (1841)

48 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง c, fis (1841)

49 ฟ็องเตซีในบันไดเสียง f (1841)

50 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง G, As, cis (1841/2)

51 อิมพร็อมตู หมายเลข 3 ในบันไดเสียง Ges (1842)

52 บัลลาด หมายเลข 4 ในบันไดเสียง f (1842)

53 โปโลเนส ในบันไดเสียง As เรียกอีกชื่อว่า(„Héroïque“) (1842)

54 แชโซหมายเลข 4 ในบันไดเสียง E (1842)

55 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง f, Es (1843)

56 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, C, c (1843)

57 แบร์เซิร์ส (เพลงกล่อมเด็ก) ในบันไดเสียง Des (1844)

58 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 3 ในบันไดเสียง h (1844)

59 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง a, As, fis (1845)

60 บาคาโรเล่ ในบันไดเสียง fis (1846)

61 โปโลเนส ฟ็องเตซี ในบันไดเสียง As (1846)

62 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, E (1845/6)

63 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, f, cis (1846)

64 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Des เรียกอีกชื่อว่า(„Valse minute“), cis, As (1840/7)

65 โซนาต้า สำหรับ เชลโล่ และเปียโนในบันไดเสียง g (1846/7)

บทประพันธ์ที่ได้รับการเผยแพร่หลังจากการเสียชีวิต:



66 ฟ็องเตซี อิมพร็อมตู หมายเลข 4, cis (vers 1843)

67 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง G, g, C, a (1830/49)

68 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง C, a, F, f (1830/49)

69 วาลซ์ สองบท ในบันไดเสียง As, h (1829/35)

70 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Ges, As, Des (1829/41)

71 โปโลเนส สามบท ในบันไดเสียง d, B, f (1824/28)

72.1 น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e

72.2 บทเพลงไม่ทราบชื่อ

72.3 เอกอร์เซส สามบท ในบันไดเสียง D, G, Des (vers 1829)

73 รอนโด้ สำหรับเปียใน ในบันไดเสียง C (1828)

74 บทเพลง ที่ใช้ทำนองของโปแลนด์ (1829/47)

บทเพลงที่ปราศจากหมายเลขโอปุส:



โปโลเนส ในบันไดเสียง B (1817)

โปโลเนส ในบันไดเสียง g (1817)

โปโลเนส ในบันไดเสียง As (1821)

อังโทรดุกซิยงและวาริอาซิยง สำหรับบทเพลงของเยอรมัน ในบันไดเสียง E (1824)

โปโลเนส ในบันไดเสียง gis (1824)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1825/26)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1825/26)

วาริอาซิยง สำหรับเปียโนสี่มือ ในบันไดเสียง D (1825/26)

เพลงมาร์ชงานศพ ในบันไดเสียง c (1837)

โปโลเนส ในบันไดเสียง b (1826)

น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e (1828/30)

ซูเวอร์นีร์ เดอ ปากานีนี ในบันไดเสียง A (1829)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1829)

วาลซ์ ในบันไดเสียง E (1829)

วาลซ์ ในบันไดเสียง Es (1829)

มาซูร์ก้าพร้อมบทร้องบางส่วน ในบันไดเสียง G (1829)

วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1829)

วาลซ์ ในบันไดเสียง e (1830)

ซารี่พร้อมบทร้องบางส่วน (1830)

โปโลเนส ในบันไดเสียง Ges (1830)

เลนโต้ ก็อน กราน เอสเปรสซิออน (Lento con gran espressione) ในบันไดเสียง cis (1830)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1832)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง D (1832)

คอนแชร์โต้ กร็องด์ ดูโอ สำหรับบทละครเรื่อง "Robert le Diable" ของ เมอแยร์แบร์ (Meyerbeer) สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง E (1832/33)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง C (1833)

คานตาบิลเล ในบันไดเสียง B (1834)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง As (1834)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน