วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์

แม้ว่าความแตกต่างของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี) จะมีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิตามฤดูกาลต่าง ๆ น้อยก็ตาม แต่จะมีบทบาทที่สำคัญมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ในช่วงระยะเวลานับพันปีระยะทางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ที่ไกลที่สุด (Aphelion) ประมาณ 94.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูร้อน กับระยะทางที่ใกล้ที่สุด (Perihelion) ประมาณ 91.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 3 มกราคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูหนาว แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ทำให้โลกได้รับพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคม มากกว่าในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 6% อย่างไรก็ตาม รูปร่างวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 90,000-100,000 ปี วงโคจรจะยาวและรีมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น ประมาณพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับขณะที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มากกว่าขณะที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดถึง 20 - 30% ซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิอากาศแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนที่สุด



เวลาสุริยะคติ (Solar time) เป็นเวลาพื้นฐานตามความรู้สึกของมนุษย์ วันสุริยะคติ (Solar day) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันครั้งหนึ่งถึงเที่ยงวันครั้งถัดไป ซึ่งเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก แต่เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และแกนหมุนของโลกเอียงไปจากแนวตั้งฉากของระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น ในแต่ละวัน เราจึงเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเปลี่ยนตำแหน่งไปตามเส้นสุริยะวิถี และความยาวนานของแต่ละวันมีค่าไม่เท่ากัน จึงมีการนิยามวันสุริยะคติเฉลี่ย (Mean solar day) ขึ้นมา เป็นวันที่เกิดจากวงอาทิตย์สมมติหรือดวงอาทิตย์เฉลี่ยที่มีทางโคจรที่สม่ำเสมอบนท้องฟ้ามาพิจารณาแทนดวงอาทิตย์จริง 24 ชม. วันดาราคติจะมีเพียงแค่ 23 ชม. 56 น. 4 วิ. ของเวลาสุริยะคติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน