วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553


ดอกไม้นอกจากจะนำมาปรุงแต่งขึ้นโต๊ะอาหาร เป็นเมนูเพื่อสุขภาพระดับภัตตาคารแล้ว ล่าสุดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จฯ ส่งผลงานวิจัยไอศกรีมดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระ ให้เอสเอ็มอีในตลาดน้ำอัมพวาผลิตสู่ตลาด ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระ ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำดอกไม้ ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) ที่วิจัยร่วมกับบริษัทอุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยมอบทุนวิจัย 1 แสนบาท"เราวิจัยดอกไม้ท้องถิ่นที่พบใน อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ตั้งแต่ปี 2550 ช่วงแรกมุ่งวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระ พบดอกไม้หลายชนิดมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่น่าพอใจ" ดร.อัจฉรา แก้วน้อย อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวผลวิจัยพบดอกไม้ 5 ชนิดที่โดดเด่นคือ ดาหลา ดอกเข็ม กุหลาบมอญ ดอกบัวและอัญชัน โดยดอกดาหลามีสารต้านอนุมูลอิสระมากสุดถึง 84.72% ตามาด้วยดอกเข็ม 83.97% กุหลาบมอญ 82.67% เกสรดอกบัว 73.23%และอัญชัน 26.33%“งานวิจัยระดับท้องถิ่นช่วยสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งสามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมเผยแพร่สู่สาธารณะ ทีมวิจัยยังได้วิจัยร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งอื่น โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการวิจัยร่วมกัน”ดร.อัจฉรา ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย กล่าว นอกจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำดอกไม้และไอศกรีมดอกไม้แล้ว ทีมงานยังขยายโครงการวิจัยต่อ โดยแปรรูปดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว เครื่องปรุงในอาหารคาวหวานน.ส.ปัญจรัตน์ วงศ์นภาพรรณ ผู้ประกอบการ บริษัทไอศกรีม วันมอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับทีมวิจัย มบส.พัฒนาไอศกรีมดอกไม้ไทยเพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยใช้สารสกัดจากดอกไม้ 5 ชนิดข้างต้นที่พบสารต้านอนุมูลอิสระสูง เป็นส่วนผสมสำคัญ พร้อมทั้งปรับปรุงรสชาติให้หลากหลายถึง 15 รสชาติ แต่จากการทดสอบชิมโดยอาสาสมัครประมาณ 300 คน พบเพียง 5 รสชาติเท่านั้นที่พึงพอใจ“การพัฒนาสูตรไอศกรีมดอกไม้ให้รสชาติอร่อย มีส่วนผสมที่ลงตัว ถือว่าเป็นเรื่องยาก แต่พอทุกอย่างนิ่งแล้ว การปรับรสชาติ หวาน เปรี้ยว ตามความพึงพอใจของผู้บริโภคสามารถทำได้”ไอศกรีมดอกไม้ทั้ง 5 รสชาติ ได้แก่ ดาหลาไวน์ใช้สารสกัดจากดอกดาหลา เข็มสตรอเบอรี่เชอเบทใช้สารสกัดจากดอกเข็ม กุหลาบนมใช้สารสกัดจากดอกกุหลาบมอญ บัวนมใช้สารสกัดจากเกสรดอกบัว และอัญชันมะพร้าวอ่อนใช้สารสกัดจากดอกอัญชันผลิตภัณฑ์ไอศกรีมดอกไม้จะจัดแสดงในงานนิทรรศการแสดงผลงานพัฒนาเทคโนโลยีทุนปริญญาตรี สกว. ครั้งที่ 7 ( IRPUS 52) ระหว่างวันที่ 27-29 มี.ค.นี้ ณ สยามพารากอน และวันที่ 1-5 เม.ย.ในงานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏ ครั้งที่ 1 ที่ศูนย์การประชุมอิมแพค เมืองทองธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน