วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ซาตานหรือลูซิเฟอร์

ซาตาน(Satan, שָׂטָן, The Adversary, ปฏิปักษ์) คือปฏิปักษ์หรือฝ่ายตรงข้ามกับพระเจ้า ในคัมภีร์ต่างๆของศาสนายูดายที่เรียกรวมๆว่าโทราห์กับในไบเบิลภาคพันธะสัญญาใหม่ตลอดจนคัมภีร์อัลกุระอ่านไม่มีรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับซาตานมากนัก นอกจากบอกว่าคือมารร้ายที่คอยล่อลวงผู้คนให้ออกจากวิถีทางของพระเจ้าและเป็นราชาของเหล่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย เคยแปลงร่างเป็นงูไปล่อลวงบรรพบุรุษคู่แรกของมนุษย์


ในคัมภีร์โทราไม่ระบุชื่อว่าซาตานก่อนตกสวรรค์มีชื่ออะไร แต่มีการกล่าวถึงชื่อปีศาจครั้งแรกในโทราห์คือ อัสโมดาอี (Asmodai) ไม่มีขอสรุปว่านี่คือชื่อหนึ่งของซาตานหรือเป็นปีศาจคนละตัวกัน ปีศาจตนนี้เป็นคู่รักของลิลิธ แต่ในคติศาสนาอิสลามเชื่อว่าอัสโมดาอีคือซาตาน

แต่สำหรับฝ่ายแคบบาลา รายละเอียดของซาตานและมวลลูกน้องกลับมีมากมายพิสดารต่างๆกัน เพราะว่าพวกซาตานนี่เองที่สอนแคบบาลากับมนุษย์ เมื่อเป็นผู้สอนเสียเองรายละเอียดก็เลยมีมากเป็นธรรมดา

พอจะประมวลเรื่องราวของอดีตจอมเทวดาตามความคิดของพวกแคบบาลาได้ว่า เดิมเป็นเทวดาชั้นสูงสุดคือเซราฟิม เทวดาในคติของพวกเซมิติคคือข้ารับใช้ของพระเจ้าสูงสุดนะ ไม่ใช่เทวดาแบบที่เราๆรู้จักกัน ร่างเดิมของซาตานนั้นเป็นจอมเทวดาโฉมงาม หล่อเหลาสุดในสวรรค์ มีปีกถึงสิบสองปีก มากกว่าเซราฟีมเทวดาชั้นสูงสุดถึงเท่าตัวเพราะเซราฟีมมีแค่หกปีก ส่วนชื่อเดิมของซาตานนั้นไม่มีกล่าวไว้ ไม่มีการบอกว่ามีชื่อลูซิเฟอร์แต่อย่างใด เพราะลูซิเฟอร์เป็นภาษาละตินที่ถ่ายมาจากภาษากรีกว่า Eos phoros หมายถึงดาวประกายพรึก แต่เมื่อมีการแปลไบเบิลเป็นภาษาละติน ชื่อลูซิเฟอร์เลยถูกเหมาว่าเป็นชื่อเดิมก่อนถูกไล่จากสวรรค์ของซาตานไปเสีย

การสับสนในชื่อนี้เกิดจากการอาศัยไบเบิลภาษากรีกเป็นหลักในการแปลไบเบิลเป็นภาษาละตินของเซนต์เจโรม ในราวๆคริสต์ศตวรรษที่สี่ซึ่งเป็นช่วงเฟื่องฟูของศาสนาคริสต์ในจักรวรรดิโรมัน(คริสต์ศตวรรษที่ 4 ก็ราวๆ ค.ศ. 300 - 399 , บทที่แปลผิดคือ อิสยาห์ Isaiah 14:12



;ไบเบิลภาษาละตินฉบับเซนต์เจโรม Isaiah 14:12, quomodo cecidisti de caelo lucifer qui mane oriebaris corruisti in terram qui vulnerabas gentes



;ไบเบิลภาษาละตินฉบับพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ Isaiah 14:12, How art thou fallen from heaven, O Lucifer, son of the morning! how art thou cut down to the ground, which didst weaken the nations!



;ไบเบิลฉบับภาษาไทย อิสยาห์14:12 , โอ ดาวประจำกลางวันเอย พ่อโอรสแห่งพระอรุณ เจ้าร่วงลงมาจากฟ้าสวรรค์แล้วซิ เจ้าถูกตัดลงมายังพื้นดินอย่างไรหนอ เจ้าผู้ทำให้ประชาชาติตกต่ำน่ะ )



แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามภาพลักษณ์ของลูซิเฟอร์ในแบบเทพบุตรผู้หล่อเหลาตามที่บรรยายใน เอเสเคียล (Ezekiel 28:12-19,

แม้ไบเบิลระบุว่าเป็นการพูดถึงพระเจ้ากรุงไทร์ (Tyre) แต่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าไบเบิลตอนนี้เป็นการบรรยายถึงซาตานก่อนตกสวรรค์



;ไบเบิลภาษาละตินฉบับเซนต์เจโรม Ezekiel 28:11-12 > 11 et factus est sermo Domini ad me dicens fili hominis leva planctum super regem Tyri 12 et dices ei haec dicit Dominus Deus tu signaculum similitudinis plenus sapientia et perfectus decore ,



;ไบเบิลภาษาละตินฉบับพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ 28:11-12 > 11 Moreover the word of the LORD came unto me, saying, 12 Son of man, take up a lamentation upon the king of Tyrus, and say unto him,Thus saith the Lord GOD; Thou sealest up the sum, full of wisdom, andperfect in beauty.

;

ไบเบิลฉบับภาษาไทย เอเสเคียล 28:11-12 > 11 พระวจนะของพระเจ้ามายังข้าพเจ้าว่า 12 บุตรแห่งมนุษย์เอ๋ย จงเปล่งเสียงบทค่ำครวญเพื่อกษัตริย์เมืองไทระ...



ในเอเสเคียล (Ezekiel 28:13) บรรยายว่า

“เจ้าเป็นตราแห่งความสมบูรณ์แบบ เต็มด้วยสติปัญญา...เจ้าอยู่ในเอเดน พระอุทยานของพระเจ้า เพชรพลอยทุกอย่างเป็นเสื้อของเจ้า คือทับทิม บุษราคัมน้ำอ่อน เพชร เพทาย...”

แม้ศาสนายูดายจะไม่มีกล่าวถึงชื่อเดิมของซาตานก่อนตกสวรรค์ไว้อย่างชัดเจนก็ตาม นอกจากกล่าวถึงอัสโมดาอีตามที่บอกไปแล้วนั้น แต่ในศาสนาคริสต์เชื่อว่าชื่อของ ซาตานแต่เดิมคือลูซิเฟอร์

ซึ่งต่อมาแคบบาลาแบบคริสต์จะนำไปขยายความอีกมากจนบางครั้งก็ถึงกับระบุว่าลูซิเฟอร์กับซาตานไม่ใช่ปีศาจตนเดียวกันก็มี เช่นใน The Sacred magic of Abramelin the Mage หนึ่งในคัมภีร์ไสยเวทของยุโรป ระบุว่ามีปีศาจระดับสูงอยู่

สี่ตน คือ

1. ลูซิเฟอร์ (Lucifer)

2. เลอเวียธาน (Leviathan)

3. ซาตาน (Satan)

4. เบลิอัล (Belial)

ในศาสนาอิสลามระบุว่าเดิมซาตานเป็นจิน หรือภูติ ที่พระเจ้าสร้างขึ้นชื่อว่า อิบลิส(Iblis) ต่อมาได้เลื่อนขั้นเป็นเทวทูต ครั้นอิบลิสปฏิเสธไม่เคารพอาดัม จึงถูกสาป และถูกพระเจ้าเปลี่ยนชื่อเป็นไซตาน (Shaitan) แนวคิดเกี่ยวกับซาตานแต่เดิมมีร่างที่งดงามนั้นก็มาจากเรื่องเล่านอกคัมภีร์ของพวกยิวกับอัลกุระอ่านผสมกัน







ต่อมาในสมัยกลาง ซาตานจะถูกเหมารวมกับบาโฟเม็ตเทพครึ่งคนครึ่งแพะแบบลุงแพะในแรคอะ ซึ่งปรากฎตัวขึ้นมาจากความเชื่อของพวกอัศวินมหาวิหาร(Knight Templar) จนเลอะเทอะ และต่อมาในช่วงหลังๆราวในยุคภูมิธรรม(คริสตศตวรรษที่ 17 Enlighten Age) ซาตานก็จะได้รับความเห็นอกเห็นใจจากกวีบางคนเช่น จอห์น มิลตัน กวีชาวอังกฤษ (John Milton 1608-74)ใน สวรรค์ล่ม (The Paradise Lost 1667) ที่มีการให้ภาพของซาตานที่มีอารมณ์ความรู้สึกน่าเวทนา

หินนักปราชญ์

หินนักปราชญ์ - น้ำอมฤต - ชีวิตนิรันดร์ ::.




"หินนักปราชญ์" ที่แฟนๆ แฮรี่ พอตเตอร์รู้จักกันดีอยู่แล้ว และยังมีบทบาทสำคัญในการ์ตูนเรื่องหุ่นเชิดสังหาร ในฐานะ "ศิลาไร้กระด้าง"



หินนักปราชญ์ถือเป็นสุดยอดของวิชาเล่นแร่แปรธาตุทางฝั่งยุโรปเชียวครับ (ที่ในเรื่องหุ่นเชิดสังหารเรียกว่าวิชา "เร็งคิวจูสสึ" นั่นแหละ) คุณสมบัติของมันมีอยู่ 2 อย่างด้วยกันครับ อย่างแรกคือเปลี่ยนโลหะบางชนิดที่เรียกว่าโลหะพื้นฐานให้เป็นทองได้ (โดยมากมักเป็นตะกั่ว) อีกอย่างก็คือการสังเคราะห์ "น้ำอมฤต" (หรือ Aqua Vitae เป็นภาษาละติน แปลว่าน้ำแห่งชีวิต) ซึ่งว่ากันว่ารักษาได้สารพัดโรคและทำให้มนุษย์มีชีวิตยืนยาวได้ ตำนานน้ำอมฤตนี้มีอยู่ทั่วโลกครับ ยกตัวอย่างเบาะๆ ก็จักรพรรดิจีนหลายพระองค์เคยสั่งทหารออกตามหาน้ำอมฤตมาแล้ว แม้แต่สุนทรภู่ของไทยเองก็เคยฝักใฝ่ในวิชาเล่นแร่และออกตามหาน้ำอมฤตเช่นกัน ส่วนทางฝั่งอินเดียก็มี "น้ำโสมทิพย์" ที่เชื่อกันว่าเป็นที่มาของชีวิตอมตะของเหล่าเทวดาในปุราณะ ที่จริงยังมีอีกเยอะครับ แต่คิดว่าเล่าแค่นี้ก็พอก่อนแล้วกัน



ด้วยเหตุนี้เองเจ้าหินนักปราชญ์นี่จึงเป็นที่ต้องการของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นคนที่อยากรวย หรือบรรดาพวกที่ปรารถนาชีวิตนิรันดร์ทั้งหลายต่างก็ออกตามหา และยังเป็นความฝันสูงสุดของเหล่านักเล่นแร่อีกต่างหาก ทีนี้เรามาดูกันว่าแล้วเจ้าหินประหลาดนี่มันถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร นักเล่นแร่ในอดีตเชื่อว่า "ปรอท" และ "กำมะถัน" เป็นตัวแทนของเพศหญิงและชายครับ (ไม่ต้องมาถามผมนะว่าอันไหนชายอันไหนหญิง ผมก็หาอวัยวะเพศมันไม่เจอเหมือนกัน - -") และยังเป็นธาตุที่เป็นตัวแทนของ "ดวงอาทิตย์" และ "ดวงจันทร์" อีกด้วย และหินนักปราชญ์ก็คือเครื่องหมายของการรวมเป็นหนึ่งของสัญลักษณ์ทั้งสองนั่นเอง (พูดง่ายๆ ว่าสมบูรณ์เพศ) จะว่าไปแล้วถึงกับเชื่อกันว่ามันเป็นการสมรสกันทางเคมีเชียวครับ อันนี้ไม่ได้เล่นมุกด้วยนะเนี่ย



วิธีการก็คือเขาจะเอาปรอทที่เตรียมไว้ ซึ่งเรียกว่า "ปรอทสำเร็จ" มาใช้แยกเอาแก่นกำมะถันออกครับ แก่นกำมะถันที่ได้นี้จะมีสีเหลืองเข้ม เรียกว่า "หินนักปราชญ์" (อ้าว แล้วทำไมรูปที่ผมไปเอามามันสีแดงหว่า ฐานข้อมูลตีกันเองซะแล้ว 555) ภาพข้างบนแสดงให้เห็นถึงความพยายามของนักเล่นแร่ในการผสมผสานปรอทที่ว่ากับตะกั่วครับ หลังจากที่ได้หินนักปราชญ์มาแล้วเขาก็จะใช้ปรอทสำเร็จมาแยกเอาแก่นตะกั่วออกบ้าง สารที่ได้นี้เรียกว่า "ธาตุที่หนึ่ง" เมื่อนำธาตุที่หนึ่งนี้มาหลอมรวมกับหินนักปราชญ์ในอุณหภูมิสูง (ว่ากันว่าต้องสูงขนาดที่ว่าตัวซาลาแมนเดอร์ซึ่งเป็น!ในนิยายชนิดหนึ่ง ชอบความร้อน ยังต้องดิ้นพล่าน) จะได้ทองคำสุกปลั่งออกมา ซึ่งในขั้นตอนการทำหินนักปราชญ์นี้หากผู้ทำมีจิตไม่แข็งพอ (ใช้พลังจิตด้วยหรือนี่ O o) หินนักปราชญ์ที่ได้จะมีสีอ่อน หรือซีดจางผิดปกติ ธาตุที่ออกมาแทนที่จะเป็นทองก็อาจได้ เงินหรือเกลือแทน ยิ่งไปกว่านั้นหากเกิดเหตุผิดพลาด ขณะที่หลอมหินนักปราชญ์อยู่อาจจะเกิดการระเบิดขึ้นก็เป็นได้

เทพราฟาเอล

RAPHAEL


ชื่อทางฮิบรู คือ רפאל



"เซนท์ ราฟาเอล" หรือ "ราฟาเอล" หนึ่งใน 7 อัคระเทวฑูตผู้ยิ้งใหญ่บนสวรรค์ ปรากฏในพระคัมภีร์ไม่กี่เล่ม คำว่า Rapha นั้นหมายถึง ผู้รักษา ส่วน El นั้นแปลว่าพระเป็นเจ้า ซึ้งก็หมายความว่า ชื้อของราฟาเอลนั้นแปลว่า พระเจ้าผู้รักษา นั้นเอง

ชื้อของท่านปรากฏในบันทึกโบราณของชาวฮิบรู ซึ้งทำการรักษาให้แก่ผู้คน

ซึ้ง ในภาษาฮิบรู นั้น Rophe แปลว่าหมอยา ซึ้งเป็นรากศัพย์ของ Raphael

ในทางศาสณาคริสต์นั้นชื้อของท่านได้ปรากฏอยู่ในหนังสือแห่งโทบิส "Book of Tobit (Tobias)" ซึ้งท่านได้ปลอมตัวเป็นมนุษย์ชื้อ "อาซาเรียส บุตรแห่ง อานาเนียส"และร่วมเดินกับพวกพ้องในการแสวงบุญ ในการเดินทางครั้งนั้น ราฟาเอลได้ใช้พลังช่วยให้พวกเค้ารอดจากภัยอัตรายมาหลายครั้ง ทั้งพลังในการรักษาผู้คน ซึ้งที่รู้จักกันดีคือการที่ท่านได้รักษาตาที่บอดให้ผู้เฒ่าชื้อ Tobias ท่านยังใช้พลังในการปีศาจในทะเลทรายของอียิปต์

ท่านยังเป็น 1ใน3 เทวฑูตที่มาส่งข่าวให้อับราฮัม อีกด้วย

(เสริมหน่อยนะคับ ราฟาเอลได้รับมอบหมายจากพระบิดาให้มารักษาผู้คนในเมืองแห่งหนึ่น รวมทั้งตาที่บอดของโทเบส รวมทั้งมีหน้าที่ในการชิงตัว ซาราห์ น้องเขยของโทเบส กลับมาจากปีศาจ ซึ้งเป็นฆาตกรต่อเนื้องที่ฆ่าสามีของเธอด้วย ใครสนใจหามาอ่านได้ สนุกนะ)

พวกจูดีโอ้คริสต์ และ คริสต์นิกายใหม่ เปรียบราฟาเอล กับ สีเหลือง ทิศตะวันออก และธาตุอากาศ สัญลักษณ์แห่งการ "รักษา"ทั้งยังมีความหมายถึง Knight of Sword ในไพ่ทาร๊อตด้วย (เอกลักษ์เด่นของภาพวาดและรูปปั้นของราฟาเอลคือเป็นผู้ชายมีผมสีเทาหยิกยาว ถือไม้เท้า

การ์กอยล์

การ์กอยล์ (Gargoyle)




การ์กอยล์ อาศัยอยู่ตามโบสถ์ มหาวิหาร อาคารต่างๆของซีกโลกตะวันตก มหาวิหารดังๆที่โลกรู้จักกันก็มี มังกรการ์กอยล์ อาศัยอยู่ เช่น วิหารนอเตรอดาม แห่ง กรุงปารีส (Notre Dame de Paris)

มหาวิหารนอเตรอ-ดาม แห่ง ดิฌง (Notre Dame de Dijon) วิหารแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน (Washington National Cathedral) นับว่าเจ้ารูปสลัก การ์กอยล์ เนี่ย เป็นประติมากรรมที่สวยงามชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว และก็ไม่ได้มีไว้ประดับประดาอาคารเพื่อความสวยงามเท่านั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นั่นคือ เป็นที่ระบายน้ำฝน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า รูปสลักหน้าตาประหลาด ๆ เหล่านี้มักมีอากัปกิริยาแตกต่างกันไป แต่จะมีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มีช่องทางให้ระบายน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก จมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของรูปสลักเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีรูปร่างพิลึกพิลั่นอยู่บ้าง

มากล่าวถึงชื่อที่เรียกว่า การ์กอยล์ กันบ้าง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ลา การ์กุยย์ (La Gargouille) ในภาษาฝรั่งเศส อันมีรากศัพท์มาจาก เกอร์กูลิโอ (Gurgulio) ในภาษาละติน หมายถึง คอ และ พ้องกับเสียงของน้ำที่ไหลผ่านรางน้ำฝนบนตัวอาคาร มีตำนานมากมายกล่าวถึงที่มาของชื่อ การ์กอยล์ หรือ ลา การ์กุยย์ นี้ แต่ตำนานเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ ตำนานอันเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่เล่าขานกันว่า ประมาณ ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง (Rouen) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส มีมังกรไฟตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้ายอาศัยอยู่ในถ้ำใกล้ริมแม่น้ำแซน (Seine) เจ้ามังกรตัวนี้ยื่นคำขาดให้ผู้คนในหมู่บ้านส่งหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปี มิฉะนั้นมันจะพ่นไฟให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในกองเพลิงภายในพริบตา ด้วยความกลัว ชาวบ้านจึงจำต้องส่งหญิงสาวไปให้มันทุกปี หากปีใดไม่สามารถหาสาวบริสุทธ์ได้ก็จำต้องส่งนักโทษไปแทน แน่นอนว่าเจ้ามังกรตัวนี้ไม่พอใจอย่างยิ่ง ดังนั้นมันจะมาบินวนรอบ ๆ หมู่บ้านพร้อมกับพ่นไฟและ ส่งเสียงขู่คำรามในลำคอ อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกเจ้ามังกรตัวนี้ว่า ลา การ์กุยย์ ชาวบ้านรูอองต้องหวาดกลัวเจ้ามังกรพ่นไปตัวนี้เป็นเวลานาน จนกระทั่งวันหนึ่ง นักบวช แซงต์ รูมานีส์ (Saint Romanis) ได้มาเดินทางเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อได้รับรู้ชะตากรรมของชาวบ้าน ท่านก็เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้ว่า หากท่านปราบมังกรตัวนี้ได้ ชาวบ้านจะต้องสร้างโบสถ์ให้ท่านหนึ่งหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ตกลงรับเงื่อนไขนี้โดยดี (โบสถ์หนึ่งหลังแลกกับไปฆ่ามังกร คุ้มคับคุ้ม)

ท่านนักบวชได้เดินทางไปยังถ้ำมังกรโดยไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากไม้กางเขนและศรัทธาต่อ พระเจ้าเท่านั้น แต่กระนั้น ท่านก็สามารถสยบเจ้ามังกรร้ายตัวนี้ได้ และนำมันกลับมายังหมู่บ้าน ชาวบ้าน รูอองรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะได้อยู่อย่างสงบสุขเสียที หลังจากต้องหวาดกลัวมังกรร้ายมาตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามังกรไฟ ลา การ์กุยย์ นี้จะไม่สามารถกลับมาทำร้ายใครได้อีก ชาวบ้านจึงจับมังกรนี้มัดและเผามันทั้งเป็น แต่เนื่องจากเจ้า ลา การ์กุยย์ เป็นมังกรพ่นไฟ เพลิงจึงเผาผลาญทุกส่วนของมัน ยกเว้น หัวและคอ ซึ่งไม่ว่าใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำลายมันได้ ดังนั้น เมื่อชาวบ้านสร้างโบสถ์ให้นักบวช แซงต์ รูมานีส์ ตามสัญญา นักบวชเลยแนะนำให้เอาหัวมังกรไปประดับไว้กับตัวโบสถ์เพราะเจ้ามังกรตัวนี้มีอำนาจศักด์สิทธิ์ ดังนั้นมันจะสามารถขับไล่มิให้ภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามาใน ตัวโบสถ์ได้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การนำเอารูปสลัก!หน้าตาประหลาดต่าง ๆ มาประดับโบสถ์วิหารก็กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในยุโรปและเมื่อชาวยุโรปได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำประติมากรรมประหลาดนี้ไปด้วย ดังนั้น ตามวิหารหรืออาคารจำนวนไม่น้อยในสหรัฐอเมริกาจึงประดับด้วยรูปสลักการ์กอยล์นี้เช่นกัน

ฟินิกซ์



Pheonix เป็นสิ่งมีชีวิตที่คล้ายนก ปรากฏในตำนานของหลายๆชาติ ในลักษณะที่ คล้ายกันแต่แตกต่างกันในบางรายละเอียด ชื่อนี้ได้ระบุขึ้นในตำนานของพวกอียิปต์โบราณ ก่อนในฐานะของสัตว์เทพในตำนานซึ่งคู่ควรแก่การบูชา ยกย่อง เคารพ เกี่ยวข้องกับ เทพแห่งไฟ ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า ขนนกของฟีนิกส์นั้นจะออกเป็นประกาย เหลืองทอง คล้ายเปลวไฟ บ้างก็ว่าปกคลุมด้วยแปลวไฟ ทั้งตัวทีเดียว นกฟีนิกส์นี้เป็นสัญลักษณ์แห่ง ความเป็น อมตะ มีชีวิตยั่งยืนนิรันดร์ (จะไปคล้ายกับนกหงศ์หยก ของตำนานจีน ที่เชื่อว่าคู่กับมังกรไง อีกอย่างคือนกหงส์ หยกของจีนมีลักษณะ คล้ายนกฟีนิกส์มากจน คิดว่าน่าจะเป็นตัวเดียวกัน แต่แยกออกไป ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น) ขนาดของนกฟีนิกส์นี้จะมีขนาดเท่านกอินทรีย์ตัวโต จงอยปากและส่วนขาเป็นสีทอง ประกายขนสีแดงถึงเหลืองทอง มีเสียงร้องที่ไพเราะดังเสียงดนตรี เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีอายุเป็นอมตะ รูปร่างสวยสง่างาม บางครั้งหยิ่งผยอง บางครั้งเปี่ยมด้วยความเป็นมิตร บางตำนานเล่าว่านกนี้สามารถ ฟื้นชีวิต ให้กับผู้ตายได้ และสามารถฟื้นพลังทั้งหมดให้กลับสู่ ปกติได้ เนื่องจากเป็นสัตว์เวทย์ตัวหนึ่งภายใต้ เทพแห่งไฟ บางครั้งจะ พบว่าสามารถใช้มนตร์ไฟได้ ฟีนิกซ์มีชีวิตอยู่ได้ยาวนานมาก เพราะ มันสามารถฟื้นคืนชีพได้ เมื่อ ร่างกายสิ้น อายุขัย ตัวก็จะลุกเป็นไฟ จากนั้นฟีนิกซ ์ ก็จะฟื้นจากกองขี้เถ้า มาเป็นลูกนก ใหม่ ฟีนิกซ์เป็นสัตว์ที่นิสัยอ่อนโยน เพลงของ ฟีนิกซ์มีเวทย์มนต์สามารถกระตุ้นความกล้าหาญ แห่งจิตใจ บริสุทธิ์ และทำให้เกิดความกลัวในจิตใจที่คิดร้าย น้ำตาของนก ฟีนิกซ์มีพลังในการรักษาบาดแผลได้

เทพฮาเดส (Hades)

ในตำนานกรีกโบราณเทพที่เทพผู้เป็นใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า โปเซดอน อีกองค์หนึ่งก็คือ ฮาเดส (หรือชาวโรมัน เรียกว่า พลูโต) แดนบาดาลหรือยมโลกและคนตายต่างก็อยู่ในความปกครองของเทพองค์นี้ทั้งหมด คำว่า"พลูโต"นี้มีความหมายว่า เทพแห่งทรัพย์ เพราะถือกันว่า นอกจากยมโลกแลัว ท้าวเธอฮาเดสยังครองมวลธาตุล้ำค่าใต้พื้นพิภพอีกด้วย บางทีจึงมีชือว่า ดีส (Dis) แปล ตรงตัวว่า ทรัพย์ (บางแห่งกล่าวว่า ฮาเดสครองยมโลกและคนตายเท่านั้น ส่วนเทพผู้ครองความตายนั้นมี อีกองค์หนึ่ง เรียกว่า แธนาทอส (Thanatos)ในภาษากรีก หรือ ออร์คัส (Orcus) ในภาษาลาตินเป็นคู่กันกับ ฮิปนอส (Hpnos) เทพประจำ ความหลับ) แม้ว่าเทพฮาเดสอยู่ในเหล่าเทพแห่งเขาโอลิมปัส แต่เธอก็ไม่ค่อยจะได้ออกจากยมโลก ขึ้นไปยังเขาโอลิมปัสเท่าไหร่นัก เธอ เองก็ไม่ใช่แขกที่ใครๆยินดีต้อนรับ เพราะแม้แต่เทพเจ้าด้วยกันเองยังกลัว เนื่องจาก เธอปราศจากความเวทนาสงสาร แต่กอปรด้วย ความยุติธรรม เธอมีหมวกวิเศษใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมหายตัวได้


ภายในยมโลกนั้น ชาวกรีกในสมัยโบราณเชื่อว่า ดวงวิญญาณของคนทุกคุณ เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะถูกพาไป รับคำพิพากษาของคณะเทพสุภาในยมโลก ซึ่งอยู่ในชั้นบาดาลใต้พื้นพิภพ เป็นอาณาจักรอยู่ในความปกครอง ของเทพฮาเดส การพาดวงวิญญาณคนตายลงไปยังบาดาลเป็นหน้าที่ของเฮอร์มิส เทพพนักงานสื่อสาร ของซูส ซึ่งตำแหน่งของยมโลกนี้ บ้างก็ว่าอยู่ใต้สถานที่เร้นลับของโลก บ้างก็ว่าทางลงอยู่ที่ขอบพิภพโดยข้าม มหาสมุทรไป ส่วนกวีในขั้นหลังๆจึงบอกว่าทางลงมีหลายทางนั้นเอง ซึ่งทางลงนั้นนำไปถึงแม่น้ำแห่งความ วิปโยค ชื่อว่า แอกเคอรอน (Acheron) แม่น้ำนี้ไหลไปสู่แม่น้ำอีกสายหนึ่งเรียกว่าแม่น้ำแห่งความ กำสรวลชื่อ โคไซทัส (Cocytus) ตรงที่แม่น้ำทั้งสองสายนี้บรรจบกัน มีคนเรือจ้างแก่ ๆ คนหนึ่งชื่อว่า เครอน (Charon) คอยรับ วิญญาณข้ามฟากไปสู่ยังประตูแข็งแกร่งดังเหล็กเพชร ซึ่งเป็นทางเข้าตรุลึกลง ไปเรียกว่า ทาร์ทะรัส (Tartarus) ส่วนเขตชั้นนอกที่ผ่านมาแล้วเรียกว่า เออรีบัส (Erebus) เครอน จะรับลงเรือแต่เฉพาะดวงวิญญาณที่มีเงิน เบิกทางติดปากไปและได้ผ่านพิธีฝังเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อันนี้เห็นจะเป็นเหตุของชาวกรีกสำหรับประเพณีเอา เงินใส่ปากคนตาย ฝัง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำตามๆกันอยู่หลายชาติ

ส่วนเขตชั้นนอกที่ผ่านมาแล้วเรียกว่า เออรีบัส (Erebus) เครอน จะรับลงเรือแต่เฉพาะดวงวิญญาณที่มีเงินเบิกทาง ติดปากไปและได้ผ่านพิธีฝังเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อันนี้เห็นจะเป็นเหตุของชาวกรีกสำหรับประเพณีเอา เงินใส่ปากคนตายฝัง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำตามๆกันอยู่หลายชาติ

ที่หน้าประตูทางเข้าตรุทาร์ทะรัส มีสุนัขเฝ้าตัวหนึ่งเรียกว่า เซอร์บิรัส (Cerberus) มีหัวสามหัว หางเป็นหางมังกร มันจะยอมให้วิญญาณของคนทุกคนเข้าประตู แต่จะไม่ยอมให้กลับออกมาเป็นอันขาด เมื่อไปถึงประตูนี้ วิญญาณแต่ละดวงจะถูก พาไปรับคำพิพากษาของสามเทพสุภา คือ แรดดะแมนธัส ,ไมนอส และ อือคัส วิญญาณที่ชั่วร้ายจะถูกพิพากษาให้ต้องทน ทุกข์ทรมานอยู่ในตรุทาร์ทะรัสไปชั่วกัลป์ ส่วนวิญญาณที่ดีจะได้รับคำพิพากษาให้พาไปอยู่ยังทุ่งอีลิเซียน แดนสุขาวดีของกรีกที่ เคยกล่าวถึงมาแล้ว







นอกจากแม่น้ำแอกเคอรอนกับโคไซทัสที่เอ่ยถึง ยังมีแม่น้ำอื่นอีกสามสายคั่นบาดาลไว้ต่างหากจาก พิภพเบื้องบน สายหนึ่งมีชื่อว่า เฟลจีธอน (Phlegethon) เป็นแม่น้ำไฟ สายที่สองชื่อ สติกส์ ( Styx ) เป็นแม่น้ำสาบานของเทพทั้งปวง สายที่สามชื่อ ลีธี (Lethe) แม่น้ำแห่งความลืม หรือแม่น้ำล้างความทรง จำ สำหรับให้ดวงวิญญาณ ในตรุทาร์ทะรัสดื่มเพื่อล้างความจำในชาติก่อนให้หมด



อนึ่ง นอกจากคณะเทพสุภาแห่งยมโลก ยังมีคณะเทวีทัณฑกรอีกคณะหนึ่งประจำอยู่ในยมโลกเช่น กัน เรียกว่า อิรินนีอิส (Erinyes) ทำหน้าที่ลงทัณฑ์แก่ดวง วิญญาณของผู้ประพฤติผิดทำนองคลองธรรมใน มนุษย์โลก ในชั้นเดิมเทวีทัณฑกรคณะนี้มีหลายองค์แต่ในที่สุดมีเหลือที่กล่าวนามเพียงสาม คือ ไทสิโฟนี (Tisiphone) มีจีรา (Megaera)และ อเล็กโต (Alecto)แต่ละองค์มีรูปลักษณะดุร้ายน่ากลัว มีงูพัน เศียรยั้วเยี้ย ใครๆที่ทำบาปกรรมไว้ในโลกมนุษย์ จะหนีทัณฑกรรมที่เทวีทั้งสามพึง ลงเอาไม่พ้นไปได้เลย คำ อังกฤษเรียกเทวีทั้งสามนี้โดยรวมๆกันไปว่า The Furies

เนื่องด้วยอุปนิสัยของเทพฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ออกจะเย็นชาแข็งกร้าว ปราศจากความเวทนาสงสารให้แก่ผู้ใด แต่เต็มไปด้วยความยุติธรรมทุกขณะ เช่นนี้ จึง เป็นเหตุให้ ท้าวเธอยากจะหาสตรีมาเป็นชายาครองบัลลังก์ปรโลกคู่กันได้เลย ดังนั้น เมื่อท้าวเธอเสด็จขึ้นมาบนพื้นพิภพในวันหนึ่ง และประสบพบพานโฉมงามนาม เพอร์เซโฟนี (Persephone) ธิดาองค์เดียวของเจ้าแม่โพสพเทวี ดีมีเตอร์ เข้าให้ ฮาเดสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า อนงค์นางนี้ที่แท้จริงคือหลานในไส้ของตน เพราะว่า ดีมิเตอร์เทวีเป็นน้องนางของพระองค์นั่นเอง จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงไม่รอช้า ฉุดคร่าเอาตัวเพอร์เซโฟนีลงไปสู่ดินแดนใต้พิภพ เพื่อครองคู่เป็นราชินีปรโลกด้วยความมิเต็ม ใจของนาง

ครั้นเมื่อซูสเทพบดีทรงตัดสินความให้เทพฮาเดสส่งเพอร์เซโฟนีคืนแก่พระมารดา ฮาเดสก็ใช้เล่ห์ เพทุบายลวงให้นางต้องมาหาท้าวเธอปึละ 3 เดือนทุกปีไป ดังนั้นในปึหนึ่ง ๆ ฮาเสจึงเป็นเทพพ่อม่ายอยู่ถึง 9 เดือน มี เวลาได้ร่วมเขนยกับมิ่งมเหสีเพียงปีละ 3 เดือน เท่านั้น



แต่ทั้งที่ต้องประทับอยู่อย่างเดียวดายนานถึงปึละ 9 เดือน เทพฮาเดสก็พิสูจน์องค์เองว่าเป็นสวามีที่ซื่อสัตย์พอสมควร ตลอดเรื่องราวประวัติของท้าวเธอ ปรากฏว่าฮาเดสมีเรื่องนอกใจชายาเพียง 2 ครั้งเท่านั้น

ครั้งหนึ่งได้แก่ ทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรนามว่า มินธี (Minthe) แต่ทว่าความรักนี้มิยั่งยืน ด้วยเหตุที่พระแม่ยายดีมิเตอร์เทวีทรงร้ายเหลือ ทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบหน้าฮาเดสเท่าใดนัก แต่เมื่อท้าวเธอทำท่าจะนอกใจ ธิดาของตนเข้าให้ เจ้าแม่ก็พิโรธโกรธเกรี้ยวจนกระทั่งไล่กระทืบมินธีนางอัปสรผู้น่าสงสารตายคาบาทของเจ้าแม่ จ้าว แดนบาดาลเวทนาสงสารนางอัปสรน้อยนั้น จึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายเป็นพืชชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม และได้กลายเป็น พืชประจำพระองค์ตลอดมา



ส่วนการนอกใจครั้งที่สองนั้นได้แก่ ทรงรักชอบพอกับนาง เลอซี (Leuce) ธิดาของอุทกเทพโอซียานุส แต่นางเลอซีมีบุญน้อย เพราะป่วยตายเสียก่อนที่จะตายด้วยมือของเจ้าแม่ดีมิเตอร์หรือเพอร์เซโฟนีเทวี หลังจากที่นาง ตายไปแล้วก็กลายร่างเป็นต้นพ็อปลาร์ขาว ซึ่งกลายเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในการทำพิธีการลึกลับ ณ เมืองอีเลอซีส แต่ไม้ใหญ่ อันเป็นพฤกษชาติประจำองค์ของเทพฮาเดสนั้นกลับเป็นต้นสนเศร้า (Cypress) ส่วนดอกไม้ที่กำเนิดจากมินธีแล้ว ยังได้แก่ดอกขาวบริสุทธิ์ของนาร์ซิสซัส



ผู้คนในสมัยโบราณจะถวายสักการะแด่เทพฮาเดสด้วยแกะดำ ทำให้กลายเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบมาที่จะบูชา ยัญแด่เทพแห่งมรณะหรือเทพแห่งความชั่วร้ายอื่น ๆ ด้วยแพะหรือแกะสีดำเช่นเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท



โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (เยอรมัน: Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคม พ.ศ. 2299 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1756 - 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซัลสบูร์ก เขามีงานประพันธ์เพลง 700 ชิ้นรวมทั้งโอเปร่า (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวานนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ถูกนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากมาย

ประวัติ


[แก้] วัยเด็ก (ค.ศ. 1756 - ค.ศ. 1772)



สถานที่เกิดของโมซาร์ท (Getreidegasse 9, Salzburg, Austria)โมซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอโปลด์ โมซาร์ท (ค.ศ. 1719 - ค.ศ. 1787) รองประธานโบสถ์ในความอุปถ้มภ์ของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งซัลสบูร์ก (Salzburg) กับแอนนา มาเรีย เพิร์ต (Anna Maria Pert) (ค.ศ. 1720 - ค.ศ. 1778) โวล์ฟกัง อมาเด (โมซาร์ทมักจะเรียกตนเองว่า "Wolfgang Amadè Mozart" ไม่เคยถูกเรียกว่า อมาเดอุส ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกของพิธีศีลจุ่ม โดยได้รับชื่อละตินว่า "Joannes Chrysostomus Wolfgangus Theophilus Mozart" ) ได้แสดงได้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรี ก่อนวัยอันควร ตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีหูที่ยอดเยี่ยม และความจำที่แม่นยำ ความสามารถพิเศษยิ่งยวด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขา ให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขา ตั้งแต่อายุห้าขวบ โมซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยิน และเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ต KV.2, 4 และ 5 และ อัลเลโกร KV.3)





ครอบครัวโมซาร์ท เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ต: เลโอโปลด, โวล์ฟกัง, และแนนเนิร์นระหว่าง ค.ศ. 1762 ถึง ค.ศ. 1766 เขาได้เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตกับบิดา (ที่เป็นลูกจ้างของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาค (Schrattenbach) และมาเรีย-อานนา พี่สาวคนโต (มีชื่อเล่นว่า "แนนเนิร์น" เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1751) พวกเขาเปิดการแสดงในนครมิวนิคเป็นแห่งแรก ตามมาด้วยกรุงเวียนนา ก่อนที่จะออกเดินสายครั้งใหญ่ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่ มิวนิค ออกสบูร์ก มันน์ไฮม์ แฟรงค์เฟิร์ต บรัสเซล ปารีส ลอนดอน เฮก อัมสเตอดัม ดิจง ลียง เจนีวา โลซาน) การแสดงของเขาประทับใจผู้ชมเป็นอย่างมาก และยังทำให้เขาได้พบกับแนวดนตรีใหม่ๆอีกด้วย เขาได้พบกับนักดนตรีสามคนที่ต้องจดจำเขาไปตลอดชีวิต อันได้โยฮัน โชเบิร์ต ที่กรุงปารีส โยฮันน์ คริสเตียน บาค (บุตรชายคนรองของ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค) ที่กรุงลอนดอน และเบอร์นัว แมร์ล็องผู้ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก ที่เมืองปาดู แมร์ล็องนี่เองที่ทำให้โมซาร์ทได้ค้นพบ เปียโนฟอร์ท ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และโอเปร่าในแบบของชาวอิตาเลียน แมร์ล็องยังได้สอนให้เขาแต่งซิมโฟนีอีกด้วย เมื่อปี ค.ศ. 1767โมซาร์ทได้ประพันธ์โอเปร่าเรื่องแรก ตั้งแต่อายุได้ 11 ปี ชื่อเรื่อง อพอลโล กับ ไฮยาซิน (K.38) เป็นบันเทิงคดีภาษาละติน ที่แต่งให้เปิดแสดงโดยคณะนักเรียน ของโรงเรียนมัธยม ที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแห่งเมืองซัลสบูร์ก เมื่อเขาเดินทางกลับถึงประเทศออสเตรีย เขาได้เดินทางไปยังกรุงเวียนนาบ่อยครั้ง และได้แต่งโอเปร่าสองเรื่องแรก ได้แก่ นายบาสเตียน กับ นางบาสเตียน และ ลา ฟินตา ซ็อมปลิซ ตลอดช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1768 เมื่อมีอายุได้ 12 ปี





ภาพเขียนแสดงโมซาร์ทในวัยเด็กในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้ง จากเจ้าชายอาร์คบิชอป ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงาน โดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมซาร์ทได้เดินทางไปประเทศอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับโอเปร่า อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร (Le Nozze di Figaro) ,ดอน โจวานนี ,โคสิ ฟาน ตุตเต้ ,ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ฯลฯ เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และ ความสามารถในการควบคุมเสียง อันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้น



โชคไม่ดีที่ ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1771 เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาคได้สิ้นชีพิตักษัย เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโดได้กลายมาเป็นนายจ้างคนใหม่ของเขา



[แก้] รับใช้เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโด (ค.ศ. 1773 - ค.ศ. 1781)



โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทโมซาร์ทไม่มีความสุขที่บ้านเกิดของเขา เนื่องจากนายจ้างใหม่ ไม่ชอบให้เขาออกไปเดินทางท่องเที่ยว และยังบังคับรูปแบบทางดนตรี ที่เขาได้ประพันธ์ให้กับพิธีทางศาสนา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาไม่ยินดีที่จะยอมรับข้อบังคับนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอาร์คบิชอป เสื่อมถอยลงในอีกสามปีต่อมา โชคดีที่เขาได้รู้จักกับ โยเซฟ เฮย์เด้น ซึ่งก็ได้มาเป็นเพื่อนโต้ตอบทางจดหมาย และเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดชีวิต



"ข้าต้องการพูดต่อหน้าพระเจ้า ในฐานะชายผู้ซื่อสัตย์ บุตรชายของท่านเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ข้าเคยรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักเป็นการส่วนตัวหรือรู้จักเพียงในนาม เขามีรสนิยม และนอกเหนือจากนั้น เป็นศาสตร์ทางการประพันธ์ดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"

ในจดหมายที่ โยเซฟ เฮย์เด้น เขียนถึง เลโอโปลด์ โมซาร์ท







"มีเขาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้จักเคล็ดลับที่จะทำให้ข้าหัวเราะ และสัมผัสจิตวิญญาณส่วนที่อยู่ลึกสุดของข้าเอง"

วอล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท กล่าวถึงโยเซฟ เฮย์เด้น



ในปีค.ศ. 1776 โมซาร์ทมีอายุได้ 20 ปี และได้ตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองซัลสบูร์ก อย่างไรก็ดี เจ้าชายอาร์คบิชอป ได้ปฏิเสธไม่ให้บิดาของเขาไปด้วย และบังคับให้เขาลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต หลังจากการเตรียมการเป็นเวลาหนึ่งปี โมซาร์ทได้จากไปพร้อมกับมารดา โดยเดินทางไปยังนครมิวนิคเป็นแห่งแรก ที่ซึ่งเขาหาตำแหน่งงานไม่ได้ จากนั้นจึงไปที่เมืองออกสบูร์ก และท้ายสุดที่มันน์ไฮม์ ที่ซึ่งเขาได้ทำความรู้จักกับนักดนตรีมากมาย อย่างไรก็ดี แผนการที่จะหาตำแหน่งงานของเขาไม่เป็นผลสำเร็จ ในระหว่างนั้นเองที่เขาได้ตกหลุมรักอลอยเซีย วีเบอร์ นักเต้นระบำแคนตาตาสาวอย่างหัวปักหัวปำ ที่ทำให้บิดาของเขาโกรธมาก และขอให้เขาอย่าลืมอาชีพนักดนตรี โมซาร์ทมีหนี้สินล้นพ้นตัว เขาเริ่มเข้าใจว่าจะต้องออกหางานทำต่อไป และออกเดินทางไปยังกรุงปารีสในเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 1778



[แก้] เป็นอิสระที่กรุงเวียนนา (ค.ศ. 1782-ค.ศ. 1791)



คอนสแตนซ์ วีเบอร์ ภรรยาของโมซาร์ทในปีค.ศ. 1781โมซาร์ทเดินทางไปยังกรุงเวียนนากับเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโด ผู้ได้เลิกจ้างโมซาร์ทที่เวียนนา โมซาร์ทจึงตั้งรากฐานอยู่ที่เวียนนา เมื่อเห็นว่าชนชั้นสูงเริ่มชอบใจในตัวเขา และในปีเดียวกันนั้น โมซาร์ทได้แต่งงานกับคอนสแตนซ์ วีเบอร์ (นักร้อง(โซปราโน) ซึ่งเป็นน้องสาวของ อลอยเซีย วีเบอร์ ซึ่งโมซาร์ทเคยหลงรัก) โดยที่บิดาของโมซาร์ทไม่เห็นด้วยกับงานวิวาห์นี้ โมซาร์ทและคอนสแตนซ์มีลูกด้วยกันถึงหกคน ซึ่งเพียง 2 คนรอดพ้นวัยเด็ก



ปีค.ศ. 1782เป็นปีที่ดีสำหรับโมซาร์ท โอเปร่าเรื่อง Die Entführung aus dem Serail ประสบความสำเร็จอย่างมาก และโมซาร์ทก็ได้แสดงคอนเสิร์ต ชุดที่เขาเล่นในเปียโนคอนแซร์โตของเขาเอง



ระหว่างปีค.ศ. 1782 - ค.ศ. 1783 โมซาร์ทได้รับอิทธิพลจากผลงานของบราค และแฮนเดลผ่านบารอนก็อตตเฟร็ด วอน สวีเทน(Baron Gottfried van Swieten) แนวเพลงของโมซาร์ทจึงได้รับอิทธิพลจากยุคบารอคตั้งแต่นั้นมา อย่างที่เห็นได้ชัดในท่อนฟิวก์ของ ขลุ่ยวิเศษ และซิมโฟนี หมายเลข 41



ในช่วงนี้เองโมซาร์ทได้มารู้จักและสนิทสนมกับโยเซฟ เฮเด้น โดยทั้งสองมักจะเล่นในวงควอเตทด้วยกัน และโมซาร์ทก็ยังเขียนควอเตทถึงหกชิ้นให้เฮเด้น เฮเด้นเองก็ทึ่งในความสามารถของโมซาร์ท และเมื่อได้พบกับลีโอโปล์ด พ่อของโมซาร์ท ได้กล่าวกับเขาว่า "ต่อหน้าพระเจ้าและในฐานะคนที่ซื่อสัตย์ ลูกของท่านเป็นนักประพันธ์ที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้พบหรือได้ยิน เขามีรสนิยม และมากกว่านั้น เขามีความรู้เรื่องการประพันธ์" เมื่อโมซาร์ทอายุมากขึ้น เขาก็ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 18 และเป็นฟรีเมสันที่อยู่ในสาขาโรมัน คาทอลิค โอเปร่าสุดท้ายของโมซาร์ทแสดงถึงอิทธิพลฟรีเมสันนี้



ชีวิตของโมซาร์ทมักพบกับปัญหาทางการเงินและโรคภัยไข้เจ็บ โมซาร์ทย่อมไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับงานของเขา และเงินที่เขาได้รับนั้นก็ถูกผลาญด้วยวิถีชีวิตที่หรูหราอลังการ



โมซาร์ทใช้ชีวิตในช่วงปีค.ศ. 1786 ที่กรุงเวียนนาในอพาร์ตเมนท์ที่จนถึงวันนี้ยังสามารถเข้าชมได้ที่ดอมกาส 5 (Domgasse 5)หลังโบสถ์เซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Cathedral) โมซาร์ทประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร และ Don Giovanni ณ ที่แห่งนี้



[แก้] บั้นปลายชีวิต

บั้นปลายและการเสียชีวิตของโมซาร์ทยังคงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปยากสำหรับนักวิชาการ เพราะมีทั้งตำนานและเรื่องเล่าแต่ขาดหลักฐาน มีทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าสุขภาพของโมซาร์ทเริ่มแย่ลงทีละเล็กทีละน้อย และโมซาร์ทเองก็รับรู้สภาพนี้ซึ่งปรากฏขึ้นในงานประพันธ์ของเขา แต่นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยอ้างถึงจดหมายที่โมซาร์ทเขียนถึงครอบครัว ที่ยังมีทัศนะคติที่สดใส และปฏิกิริยาของครอบครัวเมื่อได้ข่าวเรื่องการเสียชีวิตของโมซาร์ท การเสียชีวิตของโมซาร์ทยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ใบมรณภาพของโมซาร์ทบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะ"ไข้ไทฟอยด์" และมีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายการเสียชีวิตให้ละเอียดมากขึ้น ชกาลที่ โมซาร์ทเสียชีวิตในเวลาประมาณ 01.00 น. วันที่ 5 เดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1791 ในขณะที่เขากำลังประพันธ์เพลงเรเควียม ที่ประพันธ์ไม่เสร็จ ตามตำนานที่เล่าลือ โมซาร์ทตายโดยที่ไม่เหลือเงินและถูกฝังในหลุมศพของคนอนาถา ร่างของโมซาร์ทถูกฝังอย่างเร่งรีบในที่ฝังศพสาธารณะ เพราะระหว่างที่นำศพไปนั้นเกิดมีพายุแรงและฝน ลูกเห็บตกอย่างหนัก ทำให้หีบศพถูกหย่อนไว้ร่วมกับศพคนยากจนอื่นๆ ไม่มีเครื่องหมายใดว่านี่คือศพของโมซาร์ท



แต่ข้อเท็จจริงก็คือ โมซาร์ทไม่เป็นที่นิยมชมชอบอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เขายังคงมีงานที่มีรายได้ดีจากราชสำนัก และยังได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมากจากส่วนอื่นๆของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรุงปราก ยังมีจดหมายขอความช่วยเหลือทางการเงินของโมซาร์ทหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าเขาจนเพราะรายจ่ายเกินรายรับ ศพของเขาไม่ได้ถูกฝังในหลุมฝังศพรวม แต่ในสุสานของชุมชนตามกฎหมายของปีค.ศ. 1783 แม้ว่าหลุมศพดั้งเดิมในสุสานเซนต์มาร์กจะหายไป แต่ก็มีป้ายหลุมศพที่ตั้งไว้เป็นอนุสรณ์สถานในเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ



ในปีค.ศ. 1809 คอนสแตนซ์ได้แต่งงานใหม่กับจอร์จ นีโคเลาส์ ฟอน นีสเสน นักการทูตชาวเดนมาร์ก (ชาตะค.ศ. 1761 มรณะค.ศ. 1826) ผู้ซึ่งหลงใหลคลั่งใคล้ในตัวโมซาร์ทอย่างมาก ถึงกับแต่งเรื่องราวเกินจริงจากจดหมายของโมซาร์ท และแต่งชีวประวัติของคีตกวีเอกอีกด้วย



โมซาร์ทมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) สมัยรัตนโกสินทร์



[แก้] ผลงานชิ้นเอก

[แก้] คาตาล็อกเคอเชล (Köchel catalogue)

ในปีภายหลังการเสียชีวิตของโมซาร์ท ได้มีความพยายามหลายครั้งที่จะจัดเรียงบัญชีผลงานของโมซาร์ท และเป้นลุดวิก ฟอน เคอเชล (Ludwig von Köchel) ที่ประสบความสำเร็จ และในปัจจุบันผลงานของโมซาร์ทมักจะมีตัวเลขของเคอเชลติดกำกับอยู่ อย่างเช่น"เปียโนคอนแชร์โตในบันไดเสียงเอเมเจอร์" มักเรียกกันง่ายๆ ว่า "K. 488" หรือ "KV 488" ได้มีการดัดแปลงคาตาล็อกนี้เป็นจำนวน 6 ครั้งด้วยกัน



[แก้] เพลงสวด

Grande messe en ut mineur KV.427 (1782-83, เวียนนา), แต่งไม่จบ

Krönungsmesse (พิธีมิซซาเพื่อขึ้นครองราชย์) en ut majeur KV.317 (1779)

Requiem en ré mineur KV.626 (1791, เวียนนา), แต่งไม่จบ

Veni sancte spiritus KV.47

Waisenhaus-Messe KV.139

Ave verum corpus KV.618

[แก้] อุปรากร

Die Schuldigkeit des ersten Gebotes (ความผูกมัดของบัญญัติข้อที่หนึ่ง, KV 35, 1767, ซัลสบูร์ก)

Apollo et Hyacinthus (อพอลโลและไฮยาซินท์, KV 38, 1767, ซัลสบูร์ก)

Bastien und Bastienne (บาสเตียนและบาสเตียนเน่, KV 50, 1768, เบอร์ลิน)

La finta semplice (ผู้โง่เขลาจอมปลอม, KV 196, 1775, มิวนิก)

Mitridate, re di Ponto (ไมทริตาตี ราชาแห่งปอนตุส, KV 87, 1770, มิลาน)

Ascanio in Alba (อัสคานิโอในอัลบา, KV 111, 1771, มิลาน)

Il sogno di Scipione (ฝันของสคิปิโอเน่, KV 126, 1772, ซัลสบูร์ก)

Lucio Silla (ลูชิโอ ซิลล่า, KV 135, 1772, มิลาน)

La finta giardiniera (คนสวนจอมปลอม, KV 196, 1775, มิวนิก)

Il re pastore (ราชาแห่งท้องทุ่ง, KV 208, 1775, ซัลสบูร์ก)

Thamos, König in Ägypten (ธามอส ราชาแห่งอียิปต์, KV 345, 1776, ซัลสบูร์ก)

Zaide (ไซเดอ, KV 344, แต่งไม่จบ)

Idomeneo (อิโดเมเนโอ ราชาแห่งครีต, KV 366, 1781, มิวนิก)

Die Entführung aus dem Serail (การลักพาตัวจากฮาเร็ม, KV 384, 1782, เวียนนา)

L'oca del Cairo (ห่านแห่งไคโร, KV 422, แต่งไม่จบ)

Lo sposo deluso (บ่าวผู้ถูกลวง, KV 430, แต่งไม่จบ)

Der Schauspieldirektor (ผู้กำกับการแสดง, KV 486, 1786, เวียนนา)

Le nozze di Figaro (งานแต่งงานของฟิกาโร, KV 492, 1786, เวียนนา)

Don Giovanni (ดอน โจวานนี, KV 527, 1787, ปราก)

Così fan tutte (โคสิ ฟาน ตุตเต้, KV 588, 1790, เวียนนา)

La Clemenza di Tito (ความเมตตาของติโต, KV 621, 1791, ปราก)

Die Zauberflöte (ขลุ่ยวิเศษ, KV 620, 1791, เวียนนา)

[แก้] ซิมโฟนี

Symphonie en fa majeur KV.75

Symphonie en fa majeur KV.76

Symphonie en fa majeur KV.Anh.223

Symphonie en ré majeur KV.81

Symphonie en ré majeur KV.95

Symphonie en ré majeur KV.97

Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.214

Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.216

Symphonie en sol majeur «Old Lambach» (2e édition) KV.Anh.221

Symphonie en ut majeur KV.96

Symphonie No 1 en mi b majeur KV.16 (1764-1765)

Symphonie No 4 en ré majeur KV.19

Symphonie No 5 en si bémol majeur KV.22

Symphonie No 6 en fa majeur KV.43

Symphonie No 7 en ré majeur KV.45

Symphonie No 8 en ré majeur KV.48

Symphonie No 9 en ut majeur KV.73

Symphonie No 10 en sol majeur KV.74

Symphonie No 11 en ré majeur KV.84

Symphonie No 12 en sol majeur KV.110

Symphonie No 13 en fa majeur KV.112

Symphonie No 14 en la majeur KV.114

Symphonie No 15 en sol majeur KV.124

Symphonie No 16 en ut majeur KV.128

Symphonie No 17 en sol majeur KV.129

Symphonie No 18 en fa majeur KV.130 (1772)

Symphonie No 19 en mi bémol majeur KV.132

Symphonie No 20 en ré majeur KV.133

Symphonie No 21 en la majeur KV.134 (1772)

Symphonie No 22 en do majeur KV.162 (1773)

Symphonie No 23 en ré majeur KV.181

Symphonie No 24 en si bémol majeur KV.182

Symphonie No 25 en sol mineur KV.183 (1773, Salzbourg)

Symphonie No 26 en mi bémol majeur KV.184

Symphonie No 27 en sol majeur KV.199

Symphonie No 28 en ut majeur KV.200

Symphonie No 29 en la majeur KV.201 (1774)

Symphonie No 30 en ré majeur KV.202

Symphonie No 31 en ré majeur «Paris» KV.297

Symphonie No 32 en sol majeur KV.318

Symphonie No 33 en ré bémol majeur KV.319

Symphonie No 34 en ut majeur KV.338

Symphonie No 35 en ré majeur «Haffner» KV.385 (1782)

Symphonie No 36 en ut majeur «Linz» KV.425

Symphonie No 38 en ré majeur «Prague» KV.504 (1786, Vienne)

Symphonie No 39 en mi bémol majeur KV.543 (1788, Vienne)

Symphonie No 40 en sol mineur KV.550 (1788, Vienne)

Symphonie No 41 en do majeur «Jupiter» KV.551 (1788, Vienne)

[แก้] คอนแชร์โต้

Concertos pour flûte N°1 et 2 KV. 313 et 314 (1778, Mannheim)

Concerto pour flûte et harpe en do majeur KV.299 (1778, Paris)

Concerto pour cor No 1 en ré KV.412 (1782)

Concerto pour cor No 2 en mi dièse KV.417 (1783)

Concerto pour cor No 3 en mi bémol KV.447 (1783-1787)

Concerto pour clarinette en la majeur KV.622 (1791, Vienne)

Concerto pour basson en si bémol KV.191 (1774)

Concerto pour violon et orchestre No 1 en si bémol majeur KV.207

Concerto pour violon et orchestre No 3 en sol majeur KV.216

Concerto pour violon et orchestre No 5 en la majeur KV.219

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 1 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 37

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 2 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์ KV 39

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 3 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ KV 40

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 4 บันไดเสียง จี เมเจอร์ KV 41

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 5 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ KV 175

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 6 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์ KV 238

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนสามตัวและวงออเคสตร้า หมายเลข 7 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 242

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 8 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (Lützow) KV 246

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 9 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ (Jeunehomme) KV 271

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนสองตัวและวงออเคสตร้า หมายเลข 10 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ KV 365

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 11 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 413

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 12 บันไดเสียง เอ เมเจอร์ KV 414

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 13 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ KV 415

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 14 บันไดเสียง อี เมเจอร์ KV 449

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 15 บันไดเสียง บี เมเจอร์ KV 450

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 16 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ KV 451

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 17 บันไดเสียง จี เมเจอร์ KV 453

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 18 บันไดเสียง บี เมเจอร์ KV 456

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 19 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 459

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 20 บันไดเสียง ดี ไมเนอร์ KV 466

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 21 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (Elvira Madigan) KV 467

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 22 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ KV 482

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 23 บันไดเสียง เอ เมเจอร์ KV 488

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 24 บันไดเสียง ซี ไมเนอร์ KV 491

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 25 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ KV 503

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 26 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ (Coronation) KV 537

คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า หมายเลข 27 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์ KV 595

[แก้] แชมเบอร์มิวสิก

Sonate pour piano en la mineur KV.310 (1778, Paris)

Sonate pour piano en la majeur «Alla turca» KV.331 (1781-83, Munich ou Vienne), สื่อ:RondoAllaTurca.mid

Sonate pour piano, KV. 545, สื่อ:Kv545-allegro.mid

Sonate pour violon et piano en ut majeur KV.296

Quatuors dédiés à Haydn :

Quatuor en sol majeur KV.387 (1782, Vienne)

Quatuor en ré mineur KV.421 (1783, Vienne)

Quatuor en mi bémol majeur KV.428 (1783, Vienne)

Quatuor en si bémol majeur «la chasse» KV.458 (1784, Vienne)

Quatuor en la majeur KV.464 (1785, Vienne)

Quatuor en do majeur «les dissonances» KV.465 (1785, Vienne)

Quatuors avec piano :

Quatuor avec piano n°1 en sol mineur KV.478 (1785)

Quatuor avec piano n°2 en mi bémol majeur KV.493 (1786)

Trio «Les Quilles» en mi bémol majeur pour piano, clarinette, et violon KV.498 (1786, Vienne)

Quintette avec clarinette en la majeur KV.581 (1789, Vienne)

Sérénade : Une petite musique de nuit KV.525 (1787, Vienne)

Für Elise

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน



ประวัติ




บ้านเกิดของเบโทเฟนที่เมืองบอนน์

ภาพวาด ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1783

ภาพวาด ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1803

ภาพวาด ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1815

ภาพวาด ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1823ลุดวิก ฟาน เบโทเฟนเกิดที่เมืองบอนน์ (ประเทศเยอรมนี) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 และได้เข้าพิธีศีลจุ่มในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1770 เป็นลูกชายคนรองของโยฮันน์ ฟาน เบโทเฟน (Johann van Beethoven) กับ มาเรีย แม็กเดเลนา เคเวริช (Maria Magdelena Keverich) ขณะที่เกิดบิดามีอายุ 30 ปี และมาดามีอายุ 26 ปี ชื่อต้นของเขาเป็นชื่อเดียวกับปู่ และพี่ชายที่ชื่อลุดวิกเหมือนกัน แต่เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ครอบครัวของเขามีเชื้อสายเฟลมิช (จากเมืองเมเชเลนในประเทศเบลเยียม) ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าเหตุใด นามสกุลของเขาจึงขึ้นต้นด้วย ฟาน ไม่ใช่ ฟอน ตามที่หลายคนเข้าใจ



บิดาเป็นนักนักร้องในคณะดนตรีประจำราชสำนัก และเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ ซ้ำยังติดสุรา รายได้เกินครึ่งหนึ่งของครอบครัวถูกบิดาของเขาใช้เป็นค่าสุรา ทำให้ครอบครัวยากจนขัดสน บิดาของเขาหวังจะให้เบโทเฟน ได้กลายเป็นนักดนตรีอัจฉริยะอย่าง โมซาร์ท นักดนตรีอีกคนที่โด่งดังในช่วงยุคที่เบโทเฟนยังเด็ก จึงเริ่มสอนดนตรีให้ใน ค.ศ. 1776 ขณะที่เบโทเฟนอายุ 5 ปี



แต่ด้วยความหวังที่ตั้งไว้สูงเกินไป (ก่อนหน้าเบโทเฟนเกิด โมซาร์ท สามารถเล่นดนตรีหาเงินให้ครอบครัวได้ตั้งแต่อายุ 6 ปี บิดาของเบโทเฟนตั้งความหวังไว้ให้เบโทเฟนเล่นดนตรีหาเงินภายในอายุ 6 ปีให้ได้เหมือนโมซาร์ท) ประกอบกับเป็นคนขาดความรับผิดชอบเป็นทุนเดิม ทำให้การสอนดนตรีของบิดานั้นเข้มงวด โหดร้ายทารุณ เช่น ขังเบโทเฟนไว้ในห้องกับเปียโน 1 หลัง , สั่งห้ามไม่ให้เบโทเฟนเล่นกับน้องๆ เป็นต้น ทำให้เบโทเฟนเคยท้อแท้กับเรื่องดนตรี แต่เมื่อได้เห็นสุขภาพมารดาที่เริ่มกระเสาะกระแสะด้วยวัณโรคปอด ก็เกิดความพยายามสู้เรียนดนตรีต่อไป เพื่อหาเงินมาสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว



ค.ศ. 1777 เบโทเฟนเข้าเรียนโรงเรียนสอนภาษาละตินสำหรับประชาชนที่เมืองบอนน์



ค.ศ. 1778 การฝึกซ้อมมานานสองปีเริ่มสัมฤทธิ์ผล เบโทเฟนสามารถเปิดคอนเสิร์ตเปียโนในที่สาธารณะได้เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ขณะอายุ 7 ปี 3 เดือน ที่เมืองโคโลญจน์ (Cologne) แต่บิดาของเบโทเฟนโกหกประชาชนว่าเบโทเฟนในขณะนั้นอายุ 6 ปี เพราะยิ่งตัวเลขอายุเบโทเฟนน้อย ประชาชนจะยิ่งให้ความสนใจมากขึ้น ในฐานะนักดนตรีที่เก่งตั้งแต่เด็ก



หลังจากนั้น เบโทเฟน ก็เรียนไวโอลินและออร์แกนกับอาจารย์หลายคน จนใน ค.ศ. 1781 เบโทเฟนได้เป็นศิษย์ของคริสเตียน กอตท์โลบ เนเฟ (Christian Gottlob Neefe) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สร้างความสามารถในชีวิตให้เขามากที่สุด เนเฟสอนเบโทเฟนในเรื่องเปียโนและการแต่งเพลง



ค.ศ. 1784 เบโทเฟนสามารถเข้าไปเล่นออร์แกนในคณะดนตรีประจำราชสำนัก ในตำแหน่งนักออร์แกนที่สองในคณะดนตรีประจำราชสำนัก มีค่าตอบแทนให้พอสมควร แต่เงินส่วนใหญ่ที่หามาได้ ก็หมดไปกับค่าสุราของบิดาเช่นเคย



ค.ศ. 1787 เบโทเฟนเดินทางไปยังเมืองเวียนนา(Vienna) เพื่อศึกษาดนตรีต่อ เขาได้เข้าพบโมซาร์ท และมีโอกาสเล่นเปียโนให้โมซาร์ทฟัง เมื่อโมซาร์ทได้ฟังฝีมือของเบโทเฟนแล้ว กล่าวกับเพื่อนว่าเบโทเฟนจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีต่อไป แต่อยู่เมืองนี้ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ ก็ได้รับข่าวว่า อาการวัณโรคปอดของมารดากำเริบหนัก จึงต้องรีบเดินทางกลับบอนน์ หลังจากกลับมาถึงบอนน์และดูแลแม่ได้ไม่นาน มารดาของเขาก็เสียชีวิตลงในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1787 ด้วยวัย 43 ปี เบโทเฟนเศร้าโศกซึมเซาอย่างรุนแรง ในขณะที่บิดาของเขาก็เสียใจไม่แพ้กัน แต่การเสียใจของบิดานั้น ทำให้บิดาของเขาดื่มสุราหนักขึ้น ไร้สติ จนในที่สุดก็ถูกไล่ออกจากคณะดนตรีประจำราชสำนัก เบโทเฟนในวัย 16 ปีเศษ ต้องรับบทเลี้ยงดูบิดาและน้องชายอีก 2 คน



ค.ศ. 1788 เบโทเฟนเริ่มสอนเปียโนให้กับคนในตระกูลบรอยนิงค์ เพื่อหาเงินให้ครอบครัว



ค.ศ. 1789 เบโทเฟนเข้าเป็นนักศึกษาไม่คิดหน่วยกิตในมหาวิทยาลัยบอนน์



ค.ศ. 1792 เบโทเฟน ตั้งรกรากที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เบโทเฟนมีโอกาสศึกษาดนตรีกับโจเซฟ ไฮเดิน หลังจากเขาเดินทางมาเวียนนาได้ 1 เดือน ก็ได้รับข่าวว่า บิดาป่วยหนักใกล้จะเสียชีวิต (มาเวียนนาครั้งก่อน อยู่ได้ครึ่งเดือนมารดาป่วยหนัก มาเวียนนาครั้งนี้ได้หนึ่งเดือนบิดาป่วยหนัก) แต่ครั้งนี้ เขาตัดสินใจไม่กลับบอนน์ แบ่งหน้าที่ในบอนน์ให้น้องทั้งสองคอยดูแล และในปีนั้นเอง บิดาของเบโทเฟน ก็สิ้นใจลงโดยไม่มีเบโทเฟนกลับไปดูใจ แต่ทางเบโทเฟนเอง ก็ประสบความสำเร็จในการแสดงคอนเสิร์ตในฐานะนักเปียโนเอก และผู้ที่สามารถเล่นได้โดยคิดทำนองขึ้นมาได้สดๆ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงขุนนางและครอบครัวของขุนนาง



ค.ศ. 1795 เขาเปิดการแสดงดนตรีในโรงละครสาธารณะในเวียนนา และแสดงต่อหน้าประชาชน ทำให้เบโทเฟนเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น



ค.ศ. 1796 ระบบการได้ยินของเบโทเฟนเริ่มมีปัญหา เขาเริ่มไม่ได้ยินเสียงในสถานที่กว้างๆ และเสียงกระซิบของผู้คน เขาตัดสินใจปิดเรื่องหูตึงนี้เอาไว้ เพราะในสังคมยุคนั้น ผู้ที่ร่างกายมีปัญหา(พิการ) จะถูกกลั่นแกล้ง เหยียดหยาม จนในที่สุดผู้พิการหลายคนกลายเป็นขอทาน ดังนั้น เขาต้องประสบความสำเร็จให้ได้เสียก่อนจึงจะเปิดเผยเรื่องนี้ จากนั้นเขาก็เริ่มประพันธ์บทเพลงขึ้นมา แล้วจึงหันเหจากนักดนตรีมาเป็นผู้ประพันธ์เพลง เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจากดนตรียุคคลาสสิคคือ ใช้รูปแบบยุคคลาสสิค แต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจ ความรู้สึกในการประพันธ์เพลง จึงทำให้ผลงานเป็นตัวของตัวเอง เนื้อหาของเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัด



ค.ศ. 1801 เบโทเฟนเปิดเผยเรื่องปัญหาในระบบการได้ยินให้ผู้อื่นฟังเป็นครั้งแรก แต่ครั้งนี้สังคมยอมรับ ทำให้เขาไม่จำเป็นต้องปกปิดเรื่องอาการหูตึงอีก หลังจากนั้น ก็เป็นยุคที่เขาประพันธ์เพลงออกมามากมาย แต่เพลงที่เขาประพันธ์นั้นจะมีปัญหาตรงที่มันล้ำสมัยเกินไป ผู้ฟังเพลงไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ในภายหลัง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มเข้าใจในเนื้อเพลงของเบโทเฟน บทเพลงหลายเพลงเหล่านั้นก็เป็นที่นิยมล้นหลามมาถึงปัจจุบัน



เมื่อเบโทเฟนโด่งดัง ก็ย่อมมีผู้อิจฉา มีกลุ่มที่พยายามแกล้งเบโทเฟนให้ตกต่ำ จนเบโทเฟนคิดจะเดินทางไปยังเมืองคาสเซล ทำให้มีกลุ่มผู้ชื่นชมในผลงานของเบโทเฟนมาขอร้องไม่ให้เบโทเฟนไปจากเวียนนา พร้อมทั้งเสนอตัวให้การสนับสนุนการเงิน โดยมีข้อสัญญาว่าเบโทเฟนต้องอยู่ในเวียนนา ทำให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ และผลิตผลงานตามที่เขาต้องการโดยไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร



เบโทเฟนโด่งดังมากในฐานะคีตกวี อาการสูญเสียการได้ยินมีมากขึ้น แต่เขาพยายามสร้างสรรค์ผลงานจากความสามารถและสภาพที่ตนเป็นอยู่ มีผลงานชั้นยอดเยี่ยมให้กับโลกแห่งเสียงเพลงเป็นจำนวนมาก ผลงานอันโด่งดังในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เบโทเฟนถ่ายทอดท่วงทำนองออกมาเป็นจังหวะ สั้น - สั้น - สั้น - ยาว อาการไม่ได้ยินรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่เขาประพันธ์ออกมาเมื่อหูหนวกสนิทตั้งแต่ปี ค.ศ. 1819 เป็นต้นมา รวมทั้งบทเพลงควอเตตเครื่องสายที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาก็ประพันธ์ออกมาในช่วงเวลานี้เช่นกัน



ในช่วงนี้ เบโทเฟนมีอารมณ์แปรปรวน เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับหลานชายที่เขารับมาอุปการะ เขาถูกหาว่าเป็นคนบ้า และถูกเด็กๆขว้างปาด้วยก้อนหินเมื่อเขาออกไปเดินตามท้องถนน แต่ก็ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความเป็นอัจฉริยะของเขาได้ แต่ภายหลัง เขาก็ได้พูดคุยปรับความเข้าใจกับหลานชายเป็นที่เรียบร้อย



ค.ศ. 1826 โรคเรื้อรังในลำไส้ที่เบโทเฟนเป็นมานานก็กำเริบหนัก หลังจากรักษาแล้ว ได้เดินทางมาพักฟื้นที่บ้านน้องชายบนที่ราบสูง แต่อารมณ์แปรปรวนก็ทำให้เขาทะเลาะกับน้องชายจนได้ เขาตัดสินใจเดินทางกลับเวียนนาในทันที แต่รถม้าที่นั่งมา ไม่มีเก้าอี้และหลังคา เบโทเฟนทนหนาวมาตลอดทาง ทำให้เป็นโรคปอดบวม แต่ไม่นานก็รักษาหาย



12 ธันวาคม ค.ศ. 1826 โรคเรื้อรังในลำไส้และตับของเบโทเฟนกำเริบหนัก อาการทรุดลงตามลำดับ



26 มีนาคม ค.ศ. 1827 เบโทเฟนก็เสียชีวิตลง งานพิธีศพของเขาได้จัดขึ้นอย่างอลังการในโบสถ์เซนต์ ตรินิตี โดยมีผู้มาร่วมงานกว่า 20,000 คน ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่สุสานกลางในกรุงเวียนนา



รูปแบบทางดนตรีและนวัตกรรม

ในประวัติศาสตร์ดนตรีแล้ว ผลงานของเบโทเฟนแสดงถึงช่วงรอยต่อระหว่างยุคคลาสสิก (ค.ศ. 1750 - ค.ศ. 1810) กับ ยุคโรแมนติก (ค.ศ. 1810 - ค.ศ. 1900) ในซิมโฟนีหมายเลข 5 ของเขา เบโทเฟนได้นำเสนอทำนองหลักที่เน้นอารมณ์รุนแรงในท่อนโหมโรง เช่นเดียวกับในอีกสี่ท่อนที่เหลือ (เป็นรูปแบบที่พบเห็นได้บ่อยในผลงานประพันธ์ช่วงวัยเยาว์ของเขา) ช่วงต่อระหว่างท่อนที่สามกับท่อนสุดท้าย เป็นทำนองหลักของอัตทากาโดยไม่มีการหยุดพัก และท้ายสุด ซิมโฟนีหมายเลข 9 ได้มีการนำการขับร้องประสานเสียงมาใช้ในบทเพลงซิมโฟนีเป็นครั้งแรก (ในท่อนที่สี่) ผลงานทั้งหลายเหล่านี้นับเป็นนวัตกรรมทางดนตรีอย่างแท้จริง



เขาได้ประพันธ์โอเปราเรื่อง "ฟิเดลิโอ" โดยใช้เสียงร้องในช่วงความถี่เสียงเช่นเดียวกับเครื่องดนตรีในวงซิมโฟนี โดยมิได้คำนึงถึงขีดจำกัดของนักร้องประสานเสียงแต่อย่างใด



หากจะนับว่าผลงานของเขาประสบความสำเร็จต่อสาธารณชน นั่นก็เพราะแรงขับทางอารมณ์ที่มีอยู่อย่างเปี่ยมล้นในงานของเขา



ในแง่ของเทคนิคทางดนตรีแล้ว เบโฟเทนได้ใช้ทำนองหลักหล่อเลี้ยงบทเพลงทั้งท่อน และนับเป็นผลสัมฤทธิ์ทางดนตรีที่ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้มข้นทางจังหวะที่มีความแปลกใหม่อยู่ในนั้น เบโทเฟนได้ปรับแต่งทำนองหลัก และเพิ่มพูนจังหวะต่างๆเพื่อพัฒนาการของบทเพลงเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบ



เขาใช้เทคนิคนี้ในผลงานเลื่องชื่อหลายบท ไม่ว่าจะเป็นท่อนแรกของคอนแชร์โตหมายเลข 4 (ที่ใช้ตั้งแต่ห้องแรก) ท่อนแรกของซิมโฟนีหมายเลข 5 (ที่ใช้ตั้งแต่ห้องแรกเช่นกัน) ท่อนที่สองของซิมโฟนีหมายเลข 7 (ในจังหวะอนาเปสต์) การนำเสนอความสับสนโกลาหลของท่วงทำนองในรูปแบบแปลกใหม่ตลอดเวลา ความเข้มข้นของท่วงทำนองตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นที่ย้อนกลับมาสู่โสตประสาทของผู้ฟังอยู่เรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้เกิดความประทับใจต่อผู้ฟังอย่างถึงขีดสุด



เบโทเฟนยังเป็นบุคคลแรกๆที่ศึกษาศาสตร์ของวงออร์เคสตราอย่างพิถีพิถัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบทเพลง การต่อบทเพลงเข้าด้วยกันโดยเปลี่ยนรูปแบบ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโน้ตแผ่นที่เขาเขียนให้เครื่องดนตรีช้นต่างๆนั้นได้แสดงให้เห็นวิธีการนำเอาธีมหลักกลับมาใช้ในบทเพลงเดียวกันในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ โดยมีการปรับเปลี่ยนเสียงประสานเล็กน้อยในแต่ละครั้ง การปรับเปลี่ยนโทนเสียงและสีสันทางดนตรีอย่างไม่หยุดยั้ง เปรียบได้กับการเริ่มบทสนทนาใหม่ โดยที่ยังรักษาจุดอ้างอิงของความทรงจำเอาไว้



สาธารณชนในขณะนี้จะรู้จักผลงานซิมโฟนีและคอนแชร์โตของเบโทเฟนเสียเป็นส่วนใหญ่ มีน้อยคนที่ทราบว่าผลงานการคิดค้นแปลกใหม่ที่สุดของเบโทเฟนนั้นได้แก่แชมเบอร์มิวสิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซนาตาสำหรับเปียโน 32 บท และบทเพลงสำหรับวงควอเตตเครื่องสาย 16 บท นั้นนับเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีอันเจิดจรัส --- โซนาตาสำหรับเครื่องดนตรีสองหรือสามชิ้นนับเป็นผลงานสุดคลาสสิก --- บทเพลงซิมโฟนีเป็นผลงานคิดค้นรูปแบบใหม่ --- ส่วนบทเพลงคอนแชร์โตนั้น ก็นับว่าควรค่าแก่การฟัง



ผลงานซิมโฟนี

โจเซฟ ไฮเดินได้ประพันธ์ซิมโฟนีไว้กว่า 100 บท โมซาร์ทประพันธ์ไว้กว่า 40 บท หากจะนับว่ามีคีตกวีรุ่นพี่เป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว เบโทเฟนไม่ได้รับถ่ายทอดมรดกด้านความรวดเร็วในการประพันธ์มาด้วย เพราะเขาประพันธ์ซิมโฟนีไว้เพียง 9 บทเท่านั้น และเพิ่งจะเริ่มประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 10 แต่สำหรับซิมโฟนีทั้งเก้าบทของเบโทเฟนนั้น ทุกบทต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว



ซิมโฟนีสองบทแรกของเบโทเฟนได้รับแรงบันดาลใจและอิทธิพลจากดนตรีในยุคคลาสสิก อย่างไรก็ดี ซิมโฟนีหมายเลข 3 ที่มีชื่อเรียกว่า "อิรอยอิเคอร์" จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเรียบเรียงวงออร์เคสตราของเบโทเฟน ซิมโฟนีบทนี้แสดงถึงความทะเยอทะยานทางดนตรีมากกว่าบทก่อนๆ เฮโรอิกโดดเด่นด้วยความสุดยอดของเพลงทุกท่อน และการเรียบเรียงเสียงประสานของวงออร์เคสตรา เพราะแค่ท่อนแรกเพียงอย่างเดียวก็มีความยาวกว่าซิมโฟนีบทอื่นๆที่ประพันธ์กันในสมัยนั้นแล้ว ผลงานอันอลังการชิ้นนี้ได้ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นโปเลียน โบนาปาร์ต และส่งเบโทเฟนขึ้นสู่ตำแหน่งสุดยอดสถาปนิกทางดนตรี และเป็นคีตกวีคนแรกแห่งยุคโรแมนติก


แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นซิมโฟนีที่สั้นกว่าและคลาสสิกกว่าซิมโฟนีบทก่อนหน้า ท่วงทำนองของโศกนาฏกรรมในท่อนโหมโรงทำให้ซิมโฟนีหมายเลข 4 เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการทางรูปแบบของเบโทเฟน ต่อจากนั้นก็ตามมาด้วยซิมโฟนีสุดอลังการสองบทที่ถูกประพันธ์ขึ้นในคืนเดียวกัน อันได้แก่ซิมโฟนีหมายเลข 5 และซิมโฟนีหมายเลข 6 - หมายเลข 5 นำเสนอทำนองหลักเป็นโน้ตสี่ตัว สั้น - สั้น - สั้น - ยาว สามารถเทียบได้กับซิมโฟนีหมายเลข 3 ในแง่ของความอลังการ และยังนำเสนอรูปแบบทางดนตรีใหม่ด้วยการนำทำนองหลักของโน้ตทั้งสี่ตัวกลับมาใช้ตลอดทั้งเพลง ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า ปาสตอราล นั้นชวนให้นึกถึงธรรมชาติที่เบโทเฟนรักเป็นหนักหนา นอกเหนือจากช่วงเวลาที่เงียบสงบชวนฝันที่ผู้ฟังสามารถรู้สึกได้เมื่อฟังซิมโฟนีบทนี้แล้ว มันยังประกอบด้วยท่อนที่แสดงถึงพายุโหมกระหน่ำที่เสียงเพลงสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างเหมือนจริงที่สุดอีกด้วย




แม้ว่าซิมโฟนีหมายเลข 7 จะมีท่อนที่สองที่ใช้รูปแบบของเพลงมาร์ชงานศพ แต่ก็โดดเด่นด้วยรูปแบบที่สนุกสนานและจังหวะที่รุนแรงเร่าร้อนในท่อนจบของเพลง ริชาร์ด วากเนอร์ได้กล่าวถึงซิมโฟนีบทนี้ว่า เป็น "ท่อนจบอันเจิดจรัสสำหรับการเต้นรำ" ซิมโฟนีบทต่อมา (ซิมโฟนีหมายเลข 8) เป็นการย้อนกลับมาสู่รูปแบบคลาสสิก ด้วยท่วงทำนองที่เปล่งประกายและสื่อถึงจิตวิญญาณ



ท้ายสุด ซิมโฟนีหมายเลข 9 เป็นซิมโฟนีบทสุดท้ายที่เบโทเฟนประพันธ์จบ นับเป็นอัญมณีแห่งซิมโฟนีทั้งหลาย ประกอบด้วยบทเพลงสี่ท่อน รวมความยาวกว่าหนึ่งชั่วโมง และมิได้ยึดติดกับรูปแบบของโซนาตา แต่ละท่อนของซิมโฟนีบทนี้นับได้ว่าเป็นผลงานชั้นครูในตัวเอง แสดงให้เห็นว่าเบโทเฟนได้หลุดพ้นจากพันธนาการของยุคคลาสสิก และได้ค้นพบรูปแบบใหม่ในการเรียบเรียงเสียงประสานของวงออร์เคสตราในที่สุด ในท่อนสุดท้าย เบโทเฟนได้ใส่บทร้องประสานเสียงและวงควอเตตประสานเสียงเข้าไป เพื่อขับร้อง "บทเพลงแห่งความอภิรมย์" ซึ่งเป็นบทกวีของ เฟรดริก ฟอน ชิลเลอร์ บทประพันธ์ชิ้นนี้ได้เรียกร้องให้มีความรักและภราดรภาพในหมู่มวลมนุษย์ และซิมโฟนีบทนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก "บทเพลงแห่งความอภิรมย์" ยังได้ถูกเลือกให้เป็นบทเพลงประจำชาติของยุโรปอีกด้วย



นอกเหนือจากซิมโฟนีแล้ว เบโทเฟนยังได้ประพันธ์ คอนแชร์โตสำหรับไวโอลิน ที่สุดแสนไพเราะไว้อีกด้วย และได้ถ่ายทอดบทเพลงเดียวกันออกมาเป็นคอนแชร์โตสำหรับเปียโน ที่ใช้ชื่อว่า คอนแชร์โตหมายเลข 6 นอกจากนั้นก็ยังมี คอนแชร์โตสามชิ้นสำหรับไวโอลิน เชลโล และ เปียโน และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนอีก 5 บท ซึ่งในบรรดาคอนแชร์โตทั้งห้าบทนี้ คอนแชร์โตหมายเลข 5 สำหรับเปียโน นับว่าเป็นรูปแบบของเบโทเฟนที่เด่นชัดที่สุด แต่ก็ไม่ควรลืมช่วงเวลาอันเข้มข้นในท่อนที่สองของคอนแชร์โตหมายเลข 4 สำหรับเปียโน



เบโทเฟนยังได้ประพันธ์เพลงโหมโรงอันเยี่ยมยอดไว้หลายบท (เลโอนอร์, ปิศาจแห่งโพรเมเธอุส) ฟ็องเตซีสำหรับเปียโน วงขับร้องประสานเสียง และวงออร์เคสตราอีกหนึ่งบท ซึ่งทำนองหลักทำนองหนึ่งของเพลงนี้ได้กลายมาเป็นต้นแบบของ "บทเพลงแห่งความอภิรมย์"



นอกจากนี้ยังมีเพลงสวดมิสซา ซึ่งมี มิสซา โซเลมนิส โดดเด่นที่สุด ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผลงานดนตรีขับร้องทางศาสนาที่สำคัญที่สุดเท่าที่เคยมีมา



ท้ายสุด เบโทเฟนได้ฝากผลงานประพันธ๋โอเปราเรื่องแรกและเรื่องเดียวไว้ มีชื่อเรื่องว่า ฟิเดลิโอ นับเป็นผลงานที่เขาผูกพันมากที่สุด อีกทั้งยังทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจไปมากที่สุดอีกด้วย

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หากคุณและเพื่อนเริ่มรู้สึกถึงความห่างเหินและรู้สึกไม่ดีต่อกัน ควรจะนัดพบและหากิจกรรมทำร่วมกันอย่าง เช่น






1. หาซื้อรองเท้า (เธอไม่ห้ามคุณซื้อรองเท้าสีดำอีกคู่หรอก)



2. หาร้านนั่งจิบกาแฟ



3. ดูหนังแบบมาราธอนด้วยกัน



4. มานอนค้างคืนกันที่บ้าน นั่งทาเล็บกันแล้วหาขนมคบเคี้ยวกินแก้เซ็ง





5. เข้าร้านทำผม แล้วก็นั่งคุยเล่นกันระหว่างเสริมสวย





สิ่งที่รักษามิตรภาพไว้





การเคารพกัน



เสียงหัวเราะ



การโกหกเพื่ออีกฝ่าย



นั่งกินจังค์ฟู้ดกัน



ชื่นชมกันและกัน



อดทน



กอดกันบ่อยๆ





ไม่มีข้ออ้างที่จะทิ้งเพื่อน ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น หมั่นติดต่อกันเสมอๆ โดย





ไปเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายด้วยกัน เช่น ชวนกันไปตีเทนนิสหรือเข้าคอร์สฟิตเนสหลังเลิกงาน



ไปจิบกาแฟกันในวันหยุดสุดสัปดาห์



หาโปรแกรมหนังดีๆ ดูด้วยกัน สัก 2 ครั้งต่อเดือน



ส่งอีเมล์หรือบัตรอวยพรเขียนว่า "คิดถึงเธอจัง" ไปให้เพื่อน



กดโทรศัพท์มือถือไปทักทายเมื่อยามรถติด



ทำอาหารรับประทานด้วยกัน







มิตรภาพระหว่างเพื่อนยังมีอีกมากมายที่เพื่อนมีให้เพื่อน . . . อย่าให้ความรู้สึกเพียงเล็กน้อยมาทำลายมิตรภาพระหว่างคำว่าเพื่อนของเราเลย . . . เพื่อนยังไงก็คือเพื่อน โกรธกันอย่างไรก็ยังเป็นเพื่อน เพราะมิตรภาพระหว่างเพื่อน เปรียบเสมือนเส้นสายใย หล่อเลี้ยงทั้งกายใจ มั่นคงไว้แสนยาวนาน อาจจะโกรธกันบ้าง แต่สุดท้ายความเป็นเพื่อนของเราก็จะยังคงอยู่ต่อไป ^-^

มิตรภาพระหว่าง เพื่อน ถึง เพื่อน ^^

10 ข้อดีของเพื่อน






1. เพื่อน . . . ให้คุณซบไหล่ยามที่คุณร้องไห้ได้



2. เพื่อน . . . กำจัดความกลัวและความผิดหวังของคุณ และให้คำแนะนำที่เหมาะสม



3. เพื่อน . . . เคารพคุณด้วยความชื่นชมในสติปัญญา และความมีเสน่ห์ของคุณ และปฎิบัติต่อคุณเป็นอย่างดี



4. เพื่อน . . . ทำให้คุณรู้สึกพิเศษในโอกาสที่สำคัญอย่างเช่นวันเกิดคุณ



5. เพื่อน . . . เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่คุณในการเป็นเพื่อน เพื่อคุณจะนำไปปฏิบัติกับเพื่อนร่วมงาน และเป็นเพื่อนที่ดีของคนอื่นๆ อีก



6. เพื่อน . . . ช่วยเหลือคุณจากพวกที่เข้ามาคุยกับคุณ แบบไม่ยอมเลิกในงานปาร์ตี้



7. เพื่อน . . . ไม่สนใจว่า บนใบหน้าคุณจะมีตุ่มหรือแผลเป็นในยามที่คุณยังไม่ได้แต่งหน้า



8. เพื่อน . . . ให้คุณเล่นแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของเธอ



9. เพื่อน . . . ช่วยคุณเลือกซื้อหมวก เมื่อผมทรงใหม่สร้างความหายนะ



10. เพื่อน . . . พูดอย่างตื่นเต้นว่า "เราชอบหนังเรื่องสั้น" เวลาคุณแนะนำให้เธอไปเช่าวิดีโอเรื่องที่คุณชอบดูซ้ำซากมาดูอีกครั้ง

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน