วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

มะเร็งปากมดลูก (Cervix Cancer)

เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี และในประเทศไทย เป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับหนึ่ง ของมะเร็งทั้งหมดในตรี




มีสาเหตุมาจากอะไร

สาเหตุของมะเร็งทุกชนิดยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีความสัมพันธ์ถึงมะเร็งปากมดลูก เช่น การมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่ อายุยังน้อย, มีบุตรมาก, มีประวัติ เป็นกามโรค เป็นต้น



พบบ่อยในช่วงอายุเท่าใด

พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในอายุระหว่าง 41-50 ปี, รองลงมาในช่วงอายุ 31-40 ปี



มีอาการอย่างไร

ในระยะเริ่มแรก ผู้ป่ายอาจไม่มีอาการอะไร ต่อมาอาจมีตกขาวผิดปกติคล้ายปากมดลูกอักเสบ เมื่อโรคลุกลามขึ้นอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดออกกะปริดกะปรอย, ตกเลือด หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์



ป้องกันได้หรือไม่

ป้องกันได้โดยการตรวจมะเร็งปากมดลูกกับสูตินรีแพทย์ เป็นประจำ ปีละครั้ง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติอะไร เพื่อการตรวจหามะเร็ง ปากมดลูกในระยะก่อนลุกลาม ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยง่าย



มีวิธีรักษาอย่างไร ในระยะลุกลาม

ผู้ป่วยมักไม่มีอาการอะไร การรักษาสามารถทำได้ง่ายโดยการจี้ด้วยความเย็น, ตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย ซึ่งปัจจุบัน สามารถรักษาได้ แบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องดมยาสลบหรือนอนพักในโรงพยาบาล







ในระยะลุกลาม

ระยะต้นสามารถผ่าตัดได้ ส่วนในระยะ ท้าย ๆ ต้องรักษาด้วยรังสีรักษา



วิธีการรักษาที่ดีทีสุด แพทย์เลือกวิธีไหน ทำไมจึงเลือกดวิธีนี้

โอกาสจะประสบผลสำเร็จมีมากน้อยเพียงใด

มีโอกาสเสี่ยงอะไรบ้าง ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง

ใช้เวลารักษานานเท่าใด

ใช้ค่าใช้จ่ายแค่ไหน

ถ้าไม่รักษาจะเป็นเช่นใด

จะมีคุณภาพชีวิตเหมือนคนปกติหรือไม่

ต้องตรวจซ้ำบ่อยแค่ไหน

วิธีการรักษา

การผ่าตัด ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะปากมดลูกอาจจะตัดแค่บริเวณปากมดลูก แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายมากแพทย์

อาจจะตัดมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง

การให้รังสีรักษาทำได้ 2 วิธี

โดยการให้รังสีรักษาจากเครื่องแพทย์จะให้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 5วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์

โดยการฝังแร่อาบรังสีบริเวณปากมดลูกฝังแต่ละครั้งนาน 1-3 วันต้องอยู่โรงพยาบาลใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์

การให้เคมีบำบัด โดยการให้เคมีเข้าในเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง

การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำลายมะเร็ง ยาที่ใช้บ่อยคือ interferon



ผลข้างเคียงของการรักษา

การผ่าตัด หลังการผ่าตัดมักจะมีอาการปวด เลือดออก

ถ้าต้องตัดมดลูกผู้ป่วยอาจจะปัสสาวะและอุจาระลำบากต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้ระยะหนึ่ง

ผู้ป่วยควรพักระยะหนึ่งเพื่อให้แผลหาย จะมีเพศสัมพันธ์หลังผ่า 4-8 สัปดาห์

ผู้ป่วยที่ตัดมดลูกยังคงมีอารมณ์ทางเพศปกติแต่อาจมีปัญหาทางจิตใจกังวลว่าไม่สามารถมีบุตร

ได้คู่ครองควรที่จะช่วยกันปลอบใจและให้กำลังใจ



การให้รังสีรักษา ระหว่างการให้รังสีรักษาผู้ป่วยจะเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร ผมร่วง ผิวบริเวณที่สัมผัส

รังสีจะมีสีน้ำตาล ห้ามทาโลชั่น อาการต่างๆจะหายไปหลังหยุดการรักษา

การร่วมเพศอาจจะลำบากเนื่องจากช่องคลอดจะแคบและแห้งต้องใช้ครีมหล่อลื่นช่วย

นอกจากนี้อาจมีปัญหาเรื่องปัสสาวะและถ่ายเหลว



การให้เคมีบำบัด จะฆ่าเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว

ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย ผมร่วง

เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน เป็นหมัน



การสร้างภูมิคุ้มกัน ผลข้างเคียงมีไม่มาก มีอาการคล้ายไข้หวัด ปวดตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง



การป้องกัน

สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบว่ามีหลายปัจจัยเป็นความเสี่ยง



การมีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 18 ปีและการมีสำส่อนทางเพศ เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส human papillomaviruses

การสูบบุหรี่

การได้รับยาคุมกำเนิด diethylstilbestrol ระหว่างตั้งครรภ์

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ารได้รับวิตามิน A ป้องกันมะเร็งได้แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน