วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ไมเคิลแองเจลโล

ไมเคิล แอง เจลโล หรือ มิเคลันเจโล บูโอนารอตติ (MICHELANGELO di Lodovico Buonarroti Simoni ) ศิลปินชาวฟลอเรนซ์เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาเปรเซ ( Caprese) ในคาเซนติโน ( Casentino) ห่างจากนครฟลอเรนซ์ประมาณ 40 ไมล์ บิดาข้าราชการชื่อ Lodovico di Leo nardo Buonarrot มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1446-1531 มารดาชื่อ Francesa di Neri มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1455-1481 หลังจากเขาเกิดได้ 2-3 สัปดาห์ ครอบครัวก็อพยพเข้าไปอยู่ในนครฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1488 มิเคลันเจโลก็ได้เข้าฝึกงานกับโดมิเนโก จิร์ลันไดโอ ( Domemico Ghirlandaio จิตรกรชาวฟลอเรนซ์ผู้เชี่ยวชาญในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบปูนเปียกหรือเฟรสโก ( Fresco ) ต่อมาเขาได้ใช้ความรู้นี้เมื่อเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิหารซิสติน ( The Sistine Chapel ) ในวาติกันในอีก 20 ปีถัดมา ระหว่างสามปีที่ฝึกงานอยู่ที่มิเคลันเจโลได้ศึกษางานจิตรกรรมและวาดเส้นด้วยการลาออกงานจิตรกรรมของสิลปินรุ่นก่อน ๆ ได้แก่ คัดลอกผลงานจิตรกรรมของจอตโต ( Giotto di Bondone จิตรกรมชั้นครูชาวฟลอเรนซ์ยุคแรก ๆ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1266-1337) และมาที่แวคซิดอ ( Tommaso di Ser Giovan ni di Mone เรียกกันโดยทั่วไปว่า Masaccio เป็นจิตรกรรมเรเนสซองค์ยุคแรก เกิดเมื่อค.ศ. 1401- ไม่ทราบปีที่ถึงแก่กรรม ) เป็นการฝึกฝนและการศึกษางานจิตรกรรมขั้นพื้นฐาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1489 มิเคลันเจโลได้เข้าเรียนและฝึกงานในสายตระกูลเมตดิชิ ซึ่งมีลักษณะโรงเรียนคล้ายศิลปะ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นสถาบันศิลปะหรือ อะคาเดมี ( Academy ) ภายใต้การอุปถัมภ์ของ ลอเรนโซ ( Lorenzo de Medici หรือ Lorenzo the Magnificent ) อันเป็นโอกาสสำคัญทำให้มริเคลันเจโลได้ศึกษางานประติมากรรมของกรีกและโรมันที่ตระกูลเมดิชิสะสมไว้ นอกจากนี้เขายังได้สมาคมกับศิลปิน นักปรัชญาและกวีคนสำคัญ ๆ ในยุคนั้น การได้คบหาสมาคมกับบุคคลเหล่านั้นทำให้เขาได้รับอิทธิพลทางความคิดปรัชญามาผสมผสานกับแนวคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปะของตน แทนที่ให้ความสำคัญกับทักษะฝีมือเท่านั้น


หลังจากตระกูลเมดิชิหมดอำนาจลง ในปี ค.ศ. 1492 มิเคลันเจโลได้เดินทางไปเมืองโบโลญา เพื่อรับจ้างทำงานประติมากรรมประดับสุสาน ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1496-1501 เขาได้เดินทางไปพำนักอยุ่นกรุงโรม เพื่อรับจ้างเขียนรูปและรับงานประติมากรรมต่าง ๆ ในช่วงเวลานี้เองเขามีโอกาสสร้างผลงานสำคัญที่ทำให้ชื่อเสียงของเขาได้รับการกล่าวขวัญในฐานะประติมากรยิ่งใหญ่แห่งยุค คือ ประติมากรรมหินอ่อน “ ปิเอตา ” ( Pieta )

ซึ่งเป็นพระเยซูนอนอยุ่บนตักพระแม่มาเรียสลักหินอ่อนเนื้อขาวบริสุทธิ์สุง 5 ฟุต 9 นิ้ว แสดงให้เห็นความสามารถในการแกะสลักที่มีฝีมือสูงยิ่งและแฝงไว้ด้วยปรัชญาของคริสต์ศาสนา งานประติมากรรมชิ้นนี้ปัจจุบันชิ้นอยู่ที่โบสถ์เวนตืปีเตอร์กรุงโรมเมื่อแกะสลักรูปปีเอตาเสร็จแล้วเขาได้เดินทางกลับฟลอเรนซ์ในปีค.ศ.1501เพื่อรับงานแกะสลักหินอ่อนที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ ประติมากรรมหินอ่อนรูป “ เดวิด ” ( David ) ซึ่งแกะสลักจากแท่งหินอ่อนขนาดใหญ่ยาวประมาณ 18 ฟุต เป็นแท่งหินอ่อนเก่าแก่ที่วางทิ้งไว้โดยไม่มีประติมากรคนใดกล้าแกะสลัก มิเคลันเจโลใช้เวลาถึง 4 ปี เพื่อนฤมิตรแท่งหินอ่อนก้อนใหญ่นี้ให้เป็นชายหนุ่มรูปงามและเมื่อเขาแกะสลักรูปเดวิดเสร็จ มิเคลันเจดลกลายเป็นวีรบุรุษของชาวฟลอเรนซ์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วอิตาลี ( รูปเดวิดได้ทำจำลองขึ้นหลายรูป รูปต้นแบบปัจจุบันอยู่ที่ Gallerlia dell Academia นครฟลอเรนซ์ เป็นศิลปกรรมเด่นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดชิ้นหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ )

มิเคลันเจโล หรือ ไมเคิลแอนเจโลเกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างแท้จริง เขาทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็กจนถึงสองสามวันก่อนที่จะถึงแก่แรรมในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 เวลาประมาณ 16.30 น. ที่บ้านพักกรุงโรม อายุ 89 ปี ขณะที่แกะสลักงานประติมากรรมหินอ่อนชื่อ “ ปิเอตา รอนดานินี ” (Pieta Rondanini) ค้างอยู่ หลังจากถึงแก่กรรมแล้วศพถูกนำไปฝังไว้ที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ซึ่งเขาเป็นผู้ออกแบบ แต่ไม่สามารถกระทำได้ เพราะ Leonardo Buonarroti หลานชายของเขาได้นำศพมิเคลันเจโล กลับไปฝังที่โบสถ์ Santi Apostoli ในนครฟลอเรนซ์ถิ่นกำเนิดของเขาในวันที่ 10 มีนาคมปีเดียวกัน


ไมเคิล แองเจลโล ถือเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคที่รุ่งเรืองที่สุด คือ ยุคเรเนซองส์ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่รู้จักกันดีถึงความเจริญทางด้านศิลปกรรม ความก้าวหน้าทั้งทาง ด้านวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์คิดค้น วรรณกรรมตลอดจนไปถึงเรื่องของการต่อสู้ ทางการเมือง สำหรับทางด้านศิลปะนั้น ถือเป็นความเจริญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้ และไมเคิล แองเจิลโล ก็เป็นศิลปินที่นำหน้าศิลปินอื่นๆ ในยุคนี้ทั้งหมด เขามี ความสามารถเป็นเลิศในการเอาใจจดจ่ออยู่กับการใช้ความคิด การถ่ายทอดพลัง จากมือของเขาไปสู่ผลงานต่างๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น ในการทำงานของ ไมเคิล แองเจิลโล นั้น เขาจะทานขนมปังเป็นอาหารเพียงเล็กน้อย เท่านั้น เวลานอนก็นอนบนพื้น หรือผ้าใบข้างๆ ภาพเขียน และรูปแกะสลักที่ยังไม่เสร็จ เขาจะสวมเสื้อผ้าชุดเดิมไปจนกว่างานที่เขาทำจะเสร็จสมบูรณ์ลง ชีวิตของศิลปินผู้นี้นั้น มีเพียงเพื่อนสนิทอยู่ไม่กี่คนเท่านั้นที่ยังคงรักและบูชาเขา แต่โดยทั่วไปแล้ว คนส่วนมากจะคิดว่าเขาเป็นคนเย็นชา และไม่เป็นมิตรกับใคร ไมเคิล แองเจิลโล ใช้ชีวิตอยู่อย่างเป็นโสดโดยไม่ได้แต่งงานกับใครเลยไปจนตลอดชีวิตของเขา


ช่างแกะสลักผู้ชาญฉลาด
ในปี ค.ศ. 1496 ไมเคิล แองเจลโลได้มาที่กรุงโรมเป็นครั้งแรก และที่นี่เขาถูกว่าจ้าง ให้แกะสลัก "เปียตต้า" เปียตต้า เป็นรูปแกะสลักหินอ่อนทั้งหลัง โดยแกะเป็นรูปของ พระแม่มารี ซึ่งกำลังอุ้มพระศพของพระเยซูคริสต์อยู่บนหัวเข่ารูปแกะสลักนี้เป็นที่ รู้จักกันดีในนามของ "มาดอนน่า เดอะ เปียตต้า" ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับ ไมเคิล แองเจิลโลเป็นอย่างมาก รูปแกะสลักนี้ถูกนำไปตั้งไว้ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์

ที่บาซิริกา ในโรม
เมื่อไมเคิล แองเจลโลอายุได้ 26 ปี เขาได้กลับมาที่ฟลอเรนซ์อีกครั้งหนึ่ง เขาได้รับ หินอ่อนที่มีขนาดใหญ่ คือ มีขนาด 18 ฟุต หรือ 5.5 เมตร เป็นหินอ่อนที่ช่างแกะ คนก่อนแกะทิ้งเอาไว้แต่ยังไม่เสร็จและหินอ่อนก็อยู่ในสภาพ ที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไมเคิล แองเจลโล เอาใจใส่และทุ่มเทให้กับการแกะสลักหินก้อนนี้ เป็นเวลาถึง 2 ปี โดยปราศจากความหวั่นเกรงของอุปสรรคต่างๆ ทั้งในเรื่องความใหญ่โตของขนาด และความยากในการแกะเนื่องด้วยเป็นหินที่ผ่านการแกะสลักมาแล้วและด้วยความ เป็นช่างแกะผู้ปราชญ์เปรื่อง เขาก็ได้สร้างรูปแกะสลักที่งดงามที่สุดในโลกขึ้นเป็นรูป ของชายหนุ่มผู้กล้าหาญ ซึ่งมีนามว่า "เดวิด"
ในปี ค.ศ. 1505 ไมเคิล แองเจลโล ตัดสินใจไปยังโรม เพื่อไปทำงานสร้างสุสานของ พระสันตปาปา จูเลียสที่ 2 ที่เสียชีวิตลงสุสานนี้มีขนาดของ โครงสร้างที่ใหญ่โตมาก และประกอบด้วยรูปแกะถึง 40 ชิ้น โดยจัดวางเรียงเป็น 3 ชั้น ไล่ระดับกันลงมา เขาต้องใช้เวลาทั้งหมดหลายเดือนเพื่อทำการคัดเลือกหินอ่อนที่จะมาใช้ในงานนี้ แต่อุปสรรคต่างๆก็เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนอำนาจจากพระสันตปาปาคนก่อน ไปสู่มือพระสันตปาปาคนใหม่ เมื่อการเมืองเปลี่ยน ก็ก่อให้เกิดความอิจฉาริษยาขึ้น โดยมีการวางแผนงานใหม่ เพื่อขัดขวางการทำงานในการสร้างสุสานของไมเคิล แองเจลโล จนกระทั่งหลายปีผ่านไป เขาสามารถแกะสลักหินอ่อนได้เพียงไม่กี่รูป แต่ท่ามกลางงานแล้วนั้น เขาได้สร้างรูปแกะของ "โมเสส" ที่เป็นงานที่ทรงพลัง มากที่สุดของเขา ปัจจุบันรูปแกะสลักนี้ตั้งอยู่ในวิหารที่ซานเปียตโต ในวินซ์ลี่
วิหาร "ซิสทายส์" (Sistine Chapel)
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1508 ถึง 1512 ไมเคิล แองเจิลโล ได้รับมอบหมายให้ทำการ เขียนภาพบนหลังคาโค้งของวิหารซิสทายในโรมซึ่งประกอบด้วยภาพเขียนขนาดใหญ่ นับร้อยๆ ภาพ และแต่ละภาพที่ถูกเขียนขึ้นนั้นได้สร้างความตกตะลึงให้กับสายตา ของชาวโลกมาแล้ว ไมเคิล แองเจิลโล ต้องทำงานอยู่บนนั่งร้านที่สูงถึง 60 ฟุต หรือ

18 เมตรจากพื้น และครอบคลุมพื้นที่อีก 10,000 ตารางฟุต หรือ 930 ตารางเมตร ตลอดเวลาเขาต้องเขียนรูปในท่านอนให้หลังแนบติดกับนั่งร้านจนเป็นตะคริวทุกๆวัน ปูนเปียกจะถูกทาบนหลังคา และไมเคิลก็จำเป็นที่จะต้องเขียนภาพในแต่ละส่วนให้ เสร็จก่อนที่ปูนจะแห้ง และไม่สามารถที่จะแก้ไขถ้ารูปเกิดผิดพลาดได้เลย ในที่สุด

ไมเคิล แองเจิลโล ก็สามารถเขียนภาพเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดด้วยตัวของเขาเอง ภาพเขียน ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็น 9 ตอนด้วยกัน โดยเริ่มด้วยภาพการสร้างสิ่งต่างๆ ใน พระคัมภีร์บทปฐมกาล จนไปถึงตอนที่น้ำท่วมโลก ภาพเขียนอีกส่วนหนึ่งแสดงถึง บรรพบุรุษของพระคริสต์ โดยเขียนตามประวัติจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาพเขียนทั้งหมด นั้นต่างมีขนาดใหญ่และแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างงดงาม จนน่าอรรศจรรย์ เป็นเวลากว่า 20 ปีหลังจากเขียนภาพ บนหลังคาวิหารซิสทายเสร็จแล้ว ไมเคิลแองเจิลโล ได้เขียนภาพ "การพิพากษาครั้งสุดท้าย " เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่มากและครอบคลุม พื้นที่กำแพงทั้งหมดที่อยู่หลังแท่นบูชาในโบสถ์ ด้วยขนาดและฝีมือในการเขียนที่เป็นเลิศ รวมทั้งความหมายของภาพทำให้ภาพเขียนนี้เป็นงานเขียนบนฝาผนังอันทรงคุณค่าอย่างสูง
งานด้านอื่นๆ

ความเป็นอัจฉริยะของไมเคิลแองเจิลโลนั้น ไม่ได้ปรากฎอยู่แค่ในการเขียนภาพและ งานแกะสลักเท่านั้น เขายังมีพรสวรรค์ในอีกหลายสาขาด้วยกัน เช่นในงานเขียนบทกวี ในช่วงบั้นปลายของชีวิตเขานั้น ไมเคิล แองเจิลโลได้ออกแบบสถาปัตยกรรมให้กับ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ซึ่งถือเป็นแบบของสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดในสมัย เรเนซองส์ ไมเคิล แองเจิลโล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ในปีค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 89 ปี ศพของเขาถูกฝังที่โบสถ์ซานตาครู๊ส ในเมืองฟลอเรนซ์
ไมเคิล แองเจิลโล มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับศิลปินชื่อดังหลายคนด้วยกัน รวมทั้งได้ ทำงานให้กับผู้นำของอิตาลี และพระสันตปาปา ศิลปินร่วมสมัยกับไมเคิล แองเจิลโล ได้แก่ ลีโอนาโด ดาวินซี และราฟาแอล โดยที่ไมเคิล แองเจิลโล ถือเป็นศิลปินที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด และเป็นศิลปินเอกคนสุดท้ายในยุคทองของศิลปะในอิตาลี


ไมเคิล แองเจิลโล เป็นผู้ที่อุทิศทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ ให้กับการสร้างสรรค์ผลงาน เขาได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางโลก และทางศาสนาเข้าไว้ด้วยกันและถ่ายทอดเป็น ผลงานให้ชาวโลกได้ชม จนก่อให้เกิดเป็นยุคสมัยที่รุ่งเรือง และยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้
ศิลปินหลายคนก่อนที่จะมาถึงยุคของไมเคิล แองเจิลโล ได้วาดภาพของ อดัม (หนึ่งในมนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าทรง

สร้างขึ้นมา-ผู้แปล) นอนอยู่บนพื้นดิน ซึ่งกำลังยื่นมือออกไป

เพื่อสัมผัสกับมือของพระเป็นเจ้า แต่ไม่มีศิลปินคนไหนแสดง

ออกมาได้ อย่างน่าทึ่ง ดูเรียบง่าย และมีพลังแห่งการสร้างสรรค์

เท่ากับไมเคิล แองเจิลโลจากภาพ อดัมนอนเหยียดยาวอยู่บนพื้นที่แห้งแล้ง ทางด้านขวาเป็นภาพ ของพระผู้สร้างและเหล่าเทวดา ด้านหลังเป็นภาพของท้องฟ้าที่ว่างเปล่าจุดเดียวที่เป็นจุดสัมผัส ระหว่างอดัมผู้เป็นมนุษย์กับ พระเป็นเจ้านั้น คือ ปลายนิ้วชี้ของทั้งสองฝ่ายที่ยื่นมาเพื่อสัมผัสซึ่งกัน และกันนิ้วมืออันเปี่ยม ด้วยพลังแห่งชีวิตของพระผู้สร้างและนิ้วมืออันไร้ซึ่งชีวิตของอดัมพระผู้เป็นเจ้า ได้ถ่ายทอด การมีชีวิตให้กับอดัม ไมเคิล แองเจิลโล สามารถเขียนภาพนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบและ สามารถถ่ายทอดให้เราได้เห็นถึง พลังอำนาจที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดของพระผู้สร้างได้อย่างชัดเจน

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Airbus A380


เครื่องบิน แอร์บัส A380 เป็นเครื่องบินห้องโดยสารสองชั้นขนาดใหญ่ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 800 คน หรือ 500 คนถ้าวางที่นั่งแบบ 3 ชั้นผู้โดยสารตามเครื่องบินพาณิชย์ปกติ เครื่องบินรุ่นนี้ได้ผ่านกำหนดการทดสอบการบินเที่ยวแรกในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบินขึ้นจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และได้ส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายการบินแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การผลิต


เครื่องบิน A380 สร้างขึ้นจากหลายๆ ประเทศใน ยุโรปได้แก่ Aeroapatiale-Matra ที่ Toulouse จะทำการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องบินในช่วงสุดท้าย การสร้างภายในลำตัว ดำเนินการ โดย DASA ที่ Hamburg ทั้ง Aerospatiale และ DASA สร้างส่วนต่างๆของโครงสร้างลำตัวด้วย, บริษัท BAE Systems สร้างส่วนของปีก, บริษัท CASA ของสเปน สร้างส่วนของแพนหาง, เครื่องยนต์ก็มีความก้าวหน้าในโครงการค้นคว้า บริษัท Rolls-Royce ก็ดำเนินการเองโดยลำพัง โดยพัฒนาจากเครื่องยนต์ตระกูล Trent



สิงคโปร์แอร์ไลน์เลือกเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent 900 ส่วนบริษัท Pratt และบริษัท GE ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องยนต์ จากตระกูล GE90 และ PW4000 โดยให้ชื่อว่า GP7200 ซึ่งแผนการปัจจุบันจะมีใบพัด (fan blade) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 นิ้ว มีอัตราส่วนของอากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เท่ากับ 8:1 สำหรับใช้กับเครื่องบิน A380 ซึ่งมีแรงขับดันระหว่าง 67,000-80,000 ปอนด์ เพื่อใช้กับโครงการ A380 (B747X จะใช้เครื่องยนต์รุ่น GP 7100 ซึ่งใบพัดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 101 นิ้ว อัตราส่วนของอากาศที่ผ่าน เครื่องยนต์เท่ากับ 7:1) ราคาของเครื่องบินลำนี้ประมาณ 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ



[แก้] ระบบไฮดรอลิก

ระบบไฮดรอลิกของ A380 จะใช้ระบบที่มีแรงดัน 5000 psi. (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แทนการใช้ระบบ 3000 psi. (ปัจจุบัน เครื่องบินพาณิชย์ใช้อยู่คือ 3000 psi.) เพื่อใช้ในการควบคุมส่วนของโครงสร้างที่ใช้บังคับการบิน และทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิกที่ใช้เล็กลง ( แรง = แรงดัน x พื้นที่) และ สามารถลดน้ำหนักของเครื่องบินได้ประมาณถึงตัน



บริษัท Airbus ได้ประกาศ บริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ ผลิตอุปกรณ์บางชนิดเพื่อมาใช้กับเครื่อง A380 ดังนี้:

บริษัท Parker Hannifin Corp.แผนก Electronic Systems Division ได้รับคัดเลือกให้ผลิตระบบเครื่องวัด และระบบบริหารการใช้เชื้อเพลิง

บริษัท TRW / Thales ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมกัน พัฒนาระบบไฟฟ้าแบบความถี่ไม่คงที่

บริษัท Goodrich Corp. ได้รับการคัดเลือก ให้ผลิตระบบการออกฉุกเฉิน (evacuation systems) และระบบล้อประธาน (main landing gear) สำหรับ A380

บริษัท Rolls-Royce ได้รับให้ผลิตระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าเครื่องยนต์ Trent 900 ของตัวเอง

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน