วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เฟรเดริก โชแปง

ประวัติ


โชแปงเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 (ตามบันทึกของสังฆมณฑลบอกว่าเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์) ที่เมือง เซลาโซวา โวลาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ บิดาของโชแปงเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมารังวิลล์-ซูร์-มาดง (Marainville-sur-Madon) ในแคว้นลอแรนน์ มารดาเป็นชาวโปแลนด์ โชแปงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุหกขวบ (พ.ศ. 2359) และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ (พ.ศ. 2360) และเปิดการแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่ออายุแปดขวบ (ค.ศ. 1818) ครูสอนดนตรีคนแรกของโชแปงได้แก่ โวซีเอค ซีนี(Wojciech Żywny) และหลังจากปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีจากโจเซฟ เอลส์เนอร์ (Joseph Elsner) เป็นหลัก
ในปี พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) เขาได้จากโปแลนด์ประเทศบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพนักดนตรีที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ใช้ช่วงชีวิตที่เหลือพำนักอยู่ที่กรุงปารีส หรือไม่ก็ในบริเวณใกล้เคียง เขาตกหลุมรักสาวนางหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ ความรักที่เขามีต่อหล่อนได้เป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง "บัลลาด หมายเลข 1 โอปุสที่ 23" ที่แสนไพเราะ รวมถึงมูฟเมนท์ที่สองของคอนแชร์โต้หมายเลขหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838) ถึง 2390 (ค.ศ. 1847) เขาได้กลายเป็นชู้รักของจอร์จเจอ ซ็องด์(George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของโชแปงทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด เห็นจะได้แก่เหตุการณ์ในเกาะมายอร์ก้า ประเทศสเปน ในช่วงที่โชแปงใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่อย่างอนาถในบ้านชาวนาโดยปราศจากเครื่องทำความร้อน บทเพลงเขาได้ประพันธ์ระหว่างช่วงเวลาอันน่าสังเวชนี้ได้แก่พรีลูด โอปุสที่ 28 อันพรรณนาถึงความสิ้นหวังของทั้งคู่ ช่วงเวลาดังกล่าวได้มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของโชแปง ที่ป่วยจากวัณโรคเรื้อรัง ทำให้เขาและจอร์จเจอ ซ็องด์ต้องตัดสินใจเดินทางกลับกรุงปารีสเพื่อรักษาชีวิตของโชแปงเอาไว้ เขารอดชีวิตมาได้ก็จริง แต่ก็ไม่หายขาดจากอาการป่วย จนกระทั่งจบชีวิตอย่างน่าสลดด้วยวัยเพียง 39 ปี
โชแปงสนิทกับฟรานซ์ ลิซท์ (Franz Liszt) วินเซนโซ เบลลินี (Vincenzo Bellini - ผู้ซึ่งศพถูกฝังอยู่ใกล้กับเขาที่สุสานแปร์ ลาแชสในกรุงปารีส) และยูจีน เดอลาครัวซ์ เขายังเป็นเพื่อนกับคีตกวีเฮกเตอร์ แบร์ลิออซ (Hector Berlioz) และโรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) และแม้ว่าโชแปงจะได้มอบบทเพลงบางบทเพื่ออุทิศให้เพื่อนนักประพันธ์ทั้งสองก็ตาม แต่เขาก็ไม่ค่อยประทับใจกับบทเพลงที่ทั้งสองแต่ขึ้นสักเท่าไหร่นัก เขาได้ขอร้องให้ร้องเพลงสวดเรควีเอ็มของโมซาร์ทในงานศพของเขา แต่เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) พิธีศพที่จัดขึ้นที่โบสถ์ ลา มัดเดอเล็น(La Madeleine)ไม่ได้ราบเรียบเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มีการขออนุญาตให้ใช้วงประสานเสียงสตรีในการร้องเพลงสวด ข่าวอื้อฉาวดังกล่าวได้แพร่ออกไปส่งผลให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไปอีกสองสัปดาห์ แต่ในที่สุดโบสถ์ก็ยอมรับคำขอดังกล่าว ทำให้คำขอร้องครั้งสุดท้ายของโชแปงก็เป็นจริงขึ้นมา
ผลงานทุกชิ้นของโชแปงเป็นผลงานชิ้นเอก รวมถึงเพลงบรรเลงสำหรับเปียโน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเดี่ยวเปียโน งานประพันธ์ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานมีเพียงคอนแชร์โต้สองบท โปโลเนส(polonaise)หนึ่งบท รอนโด้(rondo)หนึ่งบท และวาริอาซิยง(variation)อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวงออเคสตร้า เพลงเชมเบอร์มิวสิคมีเพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาได้นำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับออกุสต์ ฟร็องชอมม์ (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิคของโชแปงได้ใช้เชลโล่บรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน
 บทเพลงสำหรับบรรเลงเปียโน เรียงลำดับตามหมายเลขของโอปุส

Opus


1 รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1825)

2 วาริอาซิยง สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า จาก „Lá ci darem la mano“ ของโมซาร์ท (Mozart) ในบันไดเสียง H (1827/8)

3 อังโทรดุกซิยง และโปโลเนส สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง c (1829)

4 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 1 ในบันไดเสียง c (1828)

5 รอนโด้ อา ลา มาซูร์ ในบันไดเสียง f (1826/7)

6 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง fis, cis, E, es(1830/2)

7 มาซูร์ก้าห้าบท ในบันไดเสียง B, a, f, As, C (1830/2)

8 ทริโอ้ สำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล่ ในบันไดเสียง g (1829)

9 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง b, Es, H (1830/2)

10 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่สหายฟร้านซ์ ลิซ)ในบันไดเสียง C, a, E, cis, Ges, es, C, F, f, As, Es, c (1830/2)

11 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 1 ในบันไดเสียง e (1830)

12 อังโทรดุกซิยง และวาริอาซิยง บริลย็องต์ จาก „Je vends des scapulaires“ ของ „Ludovic“ d’Hérold ในบันไดเสียง B (1833)

13 ฟ็องเตซีสำหรับเปียโนและออเคสตร้า จากทำนองเพลงของโปแลนด์ ในบันไดเสียง A (1829)

14 รอนโด้ของชาวคราโควี สำหรับเปียโนและออเคสตร้า ในบันไดเสียง F (1831/3)

15 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง F, Fis, g (1831/3)

16 อังโทรดุกซิยง และ รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1829)

17 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง B, e, As, a (1831/3)

18 กร็องด์ วาลซ์ บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1833)

19 โบเลอโรในบันไดเสียง C (etwa 1833)

20 แชโซหมายเลข 1 ในบันไดเสียง h (1831/4)

21 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 2 ในบันไดเสียง f (1829/30)

22 อานดันเต้ สปิอานาโต้ และ กร็องด์ โปโลเนส บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1830/6)

23 บัลลาด หมายเลข 1 ในบันไดเสียง g (1835)

24 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง g, C, As, b (1833/6)

25 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่มาดามก็องเตส โดกุลต์)ในบันไดเสียง As, f, F, a, e, gis, cis, Des, Ges, h, a, c (1833/7)

26 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง cis, es (1831/6)

27 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง cis, Des (1833/6)

28 พรีลูด 24 บทในทุกบันไดเสียง (1838/9)

29 อิมพร็อมตู หมายเลข 1 ในบันไดเสียง As (etwa 1837)

30 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง c, h, Des, cis (1836/7)

31 แชโซหมายเลข 2 ในบันไดเสียง b (1835/7)

32 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, As (1835/7)

33 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง gis, D, C, h (1836/8)

34 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง As, a, F (1831/8)

35 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 2 ในบันไดเสียง b-moll (1839)

36 อิมพร็อมตู หมายเลข 2 ในบันไดเสียง Fis (1839)

37 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง g, G (1837/9)

38 บัลลาด หมายเลข 2 ในบันไดเสียง F (1839)

39 แชโซหมายเลข 3 ในบันไดเสียง cis (1839)

40 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง A (เรียกอีกชื่อว่า„Militaire“)และบันไดเสียง c (1838/9)

41 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง cis, e, H, As (1838/9)

42 กร็องด์ วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1839/40)

43 ทาแรนเทลลาในบันไดเสียง as (1841)

44 โปโลเนส ในบันไดเสียง fis (1841)

45 พรีลูด (1838/39)

46 อัลเลโกร ของคอนแชร์โต้ (1832/41)

47 บัลลาด หมายเลข 3 ในบันไดเสียง As (1841)

48 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง c, fis (1841)

49 ฟ็องเตซีในบันไดเสียง f (1841)

50 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง G, As, cis (1841/2)

51 อิมพร็อมตู หมายเลข 3 ในบันไดเสียง Ges (1842)

52 บัลลาด หมายเลข 4 ในบันไดเสียง f (1842)

53 โปโลเนส ในบันไดเสียง As เรียกอีกชื่อว่า(„Héroïque“) (1842)

54 แชโซหมายเลข 4 ในบันไดเสียง E (1842)

55 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง f, Es (1843)

56 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, C, c (1843)

57 แบร์เซิร์ส (เพลงกล่อมเด็ก) ในบันไดเสียง Des (1844)

58 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 3 ในบันไดเสียง h (1844)

59 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง a, As, fis (1845)

60 บาคาโรเล่ ในบันไดเสียง fis (1846)

61 โปโลเนส ฟ็องเตซี ในบันไดเสียง As (1846)

62 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, E (1845/6)

63 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, f, cis (1846)

64 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Des เรียกอีกชื่อว่า(„Valse minute“), cis, As (1840/7)

65 โซนาต้า สำหรับ เชลโล่ และเปียโนในบันไดเสียง g (1846/7)

บทประพันธ์ที่ได้รับการเผยแพร่หลังจากการเสียชีวิต:



66 ฟ็องเตซี อิมพร็อมตู หมายเลข 4, cis (vers 1843)

67 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง G, g, C, a (1830/49)

68 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง C, a, F, f (1830/49)

69 วาลซ์ สองบท ในบันไดเสียง As, h (1829/35)

70 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Ges, As, Des (1829/41)

71 โปโลเนส สามบท ในบันไดเสียง d, B, f (1824/28)

72.1 น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e

72.2 บทเพลงไม่ทราบชื่อ

72.3 เอกอร์เซส สามบท ในบันไดเสียง D, G, Des (vers 1829)

73 รอนโด้ สำหรับเปียใน ในบันไดเสียง C (1828)

74 บทเพลง ที่ใช้ทำนองของโปแลนด์ (1829/47)

บทเพลงที่ปราศจากหมายเลขโอปุส:



โปโลเนส ในบันไดเสียง B (1817)

โปโลเนส ในบันไดเสียง g (1817)

โปโลเนส ในบันไดเสียง As (1821)

อังโทรดุกซิยงและวาริอาซิยง สำหรับบทเพลงของเยอรมัน ในบันไดเสียง E (1824)

โปโลเนส ในบันไดเสียง gis (1824)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1825/26)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1825/26)

วาริอาซิยง สำหรับเปียโนสี่มือ ในบันไดเสียง D (1825/26)

เพลงมาร์ชงานศพ ในบันไดเสียง c (1837)

โปโลเนส ในบันไดเสียง b (1826)

น็อคเทิร์น ในบันไดเสียง e (1828/30)

ซูเวอร์นีร์ เดอ ปากานีนี ในบันไดเสียง A (1829)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง G (1829)

วาลซ์ ในบันไดเสียง E (1829)

วาลซ์ ในบันไดเสียง Es (1829)

มาซูร์ก้าพร้อมบทร้องบางส่วน ในบันไดเสียง G (1829)

วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1829)

วาลซ์ ในบันไดเสียง e (1830)

ซารี่พร้อมบทร้องบางส่วน (1830)

โปโลเนส ในบันไดเสียง Ges (1830)

เลนโต้ ก็อน กราน เอสเปรสซิออน (Lento con gran espressione) ในบันไดเสียง cis (1830)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง B (1832)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง D (1832)

คอนแชร์โต้ กร็องด์ ดูโอ สำหรับบทละครเรื่อง "Robert le Diable" ของ เมอแยร์แบร์ (Meyerbeer) สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง E (1832/33)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง C (1833)

คานตาบิลเล ในบันไดเสียง B (1834)

มาซูร์ก้า ในบันไดเสียง As (1834)

โรเบิร์ต ชูมันน์


โรเบิร์ต อะเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ (อังกฤษ: Robert Alexander Schumann 8 มิถุนายน พ.ศ. 2353 ที่เมือง ซวิคโคว์ (Zwickau) - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2399) เกิดที่เมือง (Endenich) ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี ชูมันน์เป็นคีตกวี ชาวเยอรมัน ในยุคโรแมนติก อย่าสับสนโรเบิร์ต ชูมันน์กับ โรแบร์ ชูม็อง (Robert Schuman) นักการเมืองชาวฝรั่งเศส (พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2506)


 ประวัติ

ในวัยเด็ก โรเบิร์ต ชูมันน์ มีความสนใจในศิลปะสองแขนง นั่นคือเปียโนกับวรรณคดี (บิดาของเขาเป็นคนบ้าเซกซ์มากๆจึงทำไห้ไม่มีความน่าเชื่อถือ) ดังนั้นในวัยเด็ก เขาจึงทั้งแต่งเพลง และแต่งหนังสือ รวมถึงบทกวีด้วย เมื่อบิดาที่เขารักเสียชีวิตลง เขาจึงสูญเสียผู้ให้การสนับสนุนในโครงการต่างๆที่จะทำให้เขาได้เป็นนักดนตรีอาชีพ
มารดาของเขาผลักดันให้เขาเรียนด้านกฎหมาย ระหว่างการรับการศึกษาด้านกฎหมายที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) เขาก็ได้เรียนเปียโนกับ เฟรดริก ไวค์ (Friedrich Wieck) ผู้ที่กลายเป็นพ่อตาของเขาภายหลัง เมื่อเขาแต่งงานกับบุตรสาวของไวค์ ชื่อคลาร่า เขายอมทำทุกวิถีทางเพื่อยอมเป็นนักดนตรีเอก ทั้งการฝึกฝนด้วยความขยันขันแข็ง และได้ใช้เครื่องกลช่วยเพิ่มความเร็วให้กับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ จนทำให้นิ้วโป้งมือขวาใช้การไม่ได้ ความฝันที่จะกลายเป็นนักเปียโนเอกต้องสิ้นสุดลงเมื่อเขามีอายุได้เพียง 22 ปีเท่านั้น
หลังจากช่วงเวลาที่เขาต้องซึมเศร้ากับความพิการและการตกหลุมรักสตรีที่แต่งงานแล้ว ในปี พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) ชูมันน์ได้หันมาสนใจและใส่ใจกับการประพันธ์เพลงและการเขียนบทความใน "เนอ ไซท์ชริฟต์ ฟูร์ มิวซิก" (Neue Zeitschrift für Musik) (นิตยสารเพื่อการดนตรีเล่มใหม่) ซึ่งเขาได้ทำหน้าที่เป็นนักวิจารณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี เขาปกป้องแนวคิดด้านดนตรีที่เป็นดนตรีแท้จริงจากแนวคิดของพวกนายทุน (ภาษาเยอรมันเรียกว่า "Philister") ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานอย่าง "คาร์นิวัล โอปุสที่ 9" (Carnaval op.9)
ในปี พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) หลังจากถูกบังคับให้แยกทางกับคลาร่า เขาได้ประพันธ์บทเพลง "โซนาต้า แห่งความรัก" ให้แก่เธอ แต่คำขอแต่งงานของเขาถูกพ่อของคลาร่าปฏิเสธ ทำให้เขาตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าอีกครั้ง เขายังคงประพันธ์ผลงานต่อไปและเป็นงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจ เพลงที่โด่งดังได้แก่ เซน ด็องฟ็อง ฟ็องเตซี โนเวลเล็ต เกิดขึ้นมาในช่วงนี้เอง เขาได้หนีไปที่รักษาแผลใจที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และประพันธ์เพลงต่างระหว่างที่รอขอแต่งงานกับคลาร่า
ปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) เป็นปีนำโชคของชูมันน์ เขาได้แต่งงานกับคลาร่าในที่สุด ความสุขนี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงของเขา เขาได้ประพันธ์เพลงมากมายจากบทกวีของ โยฮันน์ โวล์ฟกัง วอน เกอเธ่ ชิลเลอร์ หรือ ไฮน์ เช่นเพลง Liederkreis ความรักของนักกวี และ ความรักและชีวิตของหญิงคนหนึ่ง ในปีต่อมา เขาได้ลองแต่งเพลงออเคสตร้า (ซิมโฟนีหมายเลขหนึ่ง ซิมโฟนีหมายเลข 4 ฯลฯ) ในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) เขาได้หันมาโปรดปราน แชมเบอร์มิวสิก โดยเขาได้ประพันธ์ไว้หลายชิ้น ในปีถัดมา เขาได้แต่ง โอราโตริโอ "oratorio" "Le Paradis et la Péri และได้ติดตามคลาร่า ภรรยาที่อ่อนโยนและแสนดีของเขา ผู้ซึ่งเป็นนักเปียโนฝีมือฉกาจ ออกเปิดการแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายทั่วทวีปยุโรป หรือแม้กระทั่งในประเทศรัสเซีย
ในปี พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) คู่รักไดตั้งถิ่นฐานที่เมืองเดรสเด้น (Dresden) ที่ๆเขาได้ประพันธ์โอเปร่าชิ้นแรกและชิ้นเดียว ชื่อ เจโนเววา แต่เขาก็ยังคงแต่งฟู้ก ซิมโฟนี เพลงสำหรับเปียโน คอนเทท ฯลฯ ไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) เขาได้กลายเป็นวาทยากรแห่งเมืองดุสเซลดอร์ฟ (Düsseldorf) แต่เมื่อถึงปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) สภาพร่างกายของเขาเสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก และความเจ็บปวดจากโรคซิฟิลิส ทำให้เขาพยายามฆ่าตัวตายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) ด้วยการกระโดดแม่น้ำไรน์ที่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง ถึงเขาจะโชคดีรอดมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากพวกกะลาสี แต่ก็ต้องก็ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ จากนั้นเขาก็ถูกส่งตัวไปพักฟื้นที่เมืองเอนเดอนิช (Endenich)
ไม่มีสิ่งใดสามารถทำให้เขาคลายความทุกข์ลงได้ เขาเสียสติไปแล้ว เนื่องด้วยคิดถึงคลาร่าสุดที่รัก แลเพื่อนรักเฟลิกซ์ เมนเดลโซน และนักดนตรีวัยรุ่น โจฮานเนส บราห์ม ที่เขาได้พบเมื่อสองปีที่แล้ว ในขณะที่เขามีสภาพกึ่งดีกึ่งร้าย ก็ได้ประพันธ์ (บทเพลงแห่งรุ่งอรุณ) ชูมันน์จบชีวิตลงเมื่อวันที่29 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) ซึ่งทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด

ผลงาน

บทความนี้ควรปรับปรุงภาษาหรือรูปแบบการเขียน เนื่องจากมีเนื้อหาที่ไม่ได้แปลหรือแปลไม่สมบูรณ์ (ดูเพิ่ม) สะกดหรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง หรือเขียนด้วยลักษณะภาษาพูด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ และแก้ไขรูปแบบให้เป็นสารานุกรม
ผลงานบางส่วน:
Symphonies :

Symphonie n°1 en si bémol majeur op 38, dite le « printemps »

Symphonie n°2 en ut majeur op 38

Symphonie n°3 en mi bémol majeur op 97 « rhénane »

Symphonie n°4 en ré mineur op 120

บทเพลงสำหรับ piano

Variations Abegg op 1

Papillons op2,

Toccata op 7 1830

Études symphoniques op.13, 1834

Carnaval op 9 1835

Fantaisie op. 17 (qui se distingue par ses dimensions et une présentation plus abstraite) 1836

Drei romanzen op.28

Davidsbündlertänze op. 6 1837

Fantaisiestücke op. 12 1837 aussi adaptées pour violoncelle et piano

Scènes d'enfants op.15 1838

Kreisleirianas op.16 1838

Novelettes op. 21, 1838

Carnaval de Vienne op. 26

Scènes d'enfance op.15

Kreisleriana op.17

Fantaisiestücke op.12

Humoresque op.20

บทเพลงสำหรับขับร้อง

Les amours du poète

L'amour et la vie d'une femme

แชมเบอร์มิวสิก

Les Fées (pour alto et piano)

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"เอลนีโญ่"ถล่ม ปี 54 แล้งวิกฤติ-แม่น้ำเหือดเขื่อนแห้ง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระแสน้ำทั่วโลก

"เอลนีโญ่"ถล่ม ปี 54 แล้งวิกฤติ-แม่น้ำเหือดเขื่อนแห้ง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระแสน้ำทั่วโลก



อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่ง 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกระส่ำ เจอพายุความร้อน "เอลนีโญ่" ถล่ม ไทยร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เตือนปี 54 เผาจริง เขื่อนและแหล่งน้ำทั่วประเทศแห้ง
ตั้งแต่ปี 2552 นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังกระแสน้ำทะเลแปซิฟิก เนื่องจากมีความแปรปรวนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 10 ปี ปกติลมจะพัดจากฝั่งทะเลตะวันออก หรือแถวประเทศเปรู ชิลี เอกวาดอร์ ไปยังฝั่งตะวันตกใกล้อินโดนีเซียและออสเตรเลีย แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำอุ่นธรรมดา แต่เป็นน้ำทะเลที่อุ่นมากจากฝั่งตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นฝั่งตะวันออก นั่นคือปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" ขั้นรุนแรง ?!!
เช้าตรู่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ชาวประมงชิลีตกตะลึงกับภาพที่เห็นตรงหน้า สิงโตทะเลเกือบ 200 ตัว นอนตายเกลื่อนชายหาด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เกิดจาก "เอลนีโญ่" ส่วนนักอนุรักษ์ธรรมชาติเชื่อว่า เป็นเพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ลูกสิงโตฝืนมีชีวิตในน้ำทะเลเน่าต่อไปไม่ไหว
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ อากาศหนาวเย็นจัดในหลายทวีป บางประเทศหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ที่กรุงปักกิ่ง หิมะสะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ผสมกับพายุหิมะที่พัดมาเป็นระลอก ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนเตือนว่า นี่คือวิกฤติอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี อีกไม่นานภาคใต้ของจีนอาจไม่ได้เจอแค่พายุหิมะ แต่เป็นพายุน้ำแข็ง ล่าสุดผู้นำประเทศเวเนซุเอลาประกาศว่า น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ แทบไม่เหลือแล้ว เชื่อว่า "เอลนีโญ่" ครั้งนี้ทำให้เวเนซุเอลาเผชิญกับภัยแล้งที่สุดในรอบ 100 ปี อาจจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน

ในประเทศไทย มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาเตือนว่า "เอลนีโญ่" จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วประเทศ อุณหภูมิหน้าร้อนปีนี้จะสูงทะลุเกิน 40 องศาเซลเซียส อย่างแน่นอน
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ 1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส

สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนัก และ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554

วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554 จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552 ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554 จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541 ไทยเจอ 'เอลนีโญ่' ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก เพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม"
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 ว่า ฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ หลายพื้นที่จะประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก
อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2543 วัดได้ 35-36 องศาเซลเซียส แต่คำพยากรณ์ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2553 อากาศจะร้อนจนทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทั่วประเทศ โดยภาคเหนือและภาคอีสานจะสูงที่สุด 41-43 องศาเซลเซียส ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิเฉลี่ย 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯ จะดีกว่าเล็กน้อย คือ 37-39 องศาเซลเซียส
"สงกรานต์ อักษร" ผอ.สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากข้อมูลการวัดทุ่นในน้ำทะเลกลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลการวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจากดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ ยืนยันได้ว่า น้ำอุ่นขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบไปยังแต่ละประเทศทั่วโลกไม่เท่ากัน เช่น อินโดนีเซีย ตอนนี้เจออากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แต่ในไทยยังมีโอกาสที่ฝนจะตกมากกว่า เพราะสภาพอากาศของไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมมากกว่ากระแสน้ำทะเล

อุณหภูมิน้ำทะเลพุ่ง 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกระส่ำ เจอพายุความร้อน "เอลนีโญ่" ถล่ม ไทยร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เตือนปี 54 เผาจริง เขื่อนและแหล่งน้ำทั่วประเทศแห้ง
ตั้งแต่ปี 2552 นักวิจัยจากศูนย์พยากรณ์อากาศทั่วโลกต่างจับจ้องไปยังกระแสน้ำทะเลแปซิฟิก เนื่องจากมีความแปรปรวนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 10 ปี ปกติลมจะพัดจากฝั่งทะเลตะวันออก หรือแถวประเทศเปรู ชิลี เอกวาดอร์ ไปยังฝั่งตะวันตกใกล้อินโดนีเซียและออสเตรเลีย แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำอุ่นธรรมดา แต่เป็นน้ำทะเลที่อุ่นมากจากฝั่งตะวันตกไปแทนที่น้ำเย็นฝั่งตะวันออก นั่นคือปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" ขั้นรุนแรง ?!!
เช้าตรู่วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ชาวประมงชิลีตกตะลึงกับภาพที่เห็นตรงหน้า สิงโตทะเลเกือบ 200 ตัว นอนตายเกลื่อนชายหาด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า เกิดจาก "เอลนีโญ่" ส่วนนักอนุรักษ์ธรรมชาติเชื่อว่า เป็นเพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ลูกสิงโตฝืนมีชีวิตในน้ำทะเลเน่าต่อไปไม่ไหว


พันธ์ 2552ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ อากาศหนาวเย็นจัดในหลายทวีป บางประเทศหิมะตกหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ที่กรุงปักกิ่ง หิมะสะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ ผสมกับพายุหิมะที่พัดมาเป็นระลอก ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของจีนเตือนว่า นี่คือวิกฤติอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี อีกไม่นานภาคใต้ของจีนอาจไม่ได้เจอแค่พายุหิมะ แต่เป็นพายุน้ำแข็ง ล่าสุดผู้นำประเทศเวเนซุเอลาประกาศว่า น้ำในเขื่อนใหญ่ๆ แทบไม่เหลือแล้ว เชื่อว่า "เอลนีโญ่" ครั้งนี้ทำให้เวเนซุเอลาเผชิญกับภัยแล้งที่สุดในรอบ 100 ปี อาจจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในประเทศไทย มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาเตือนว่า "เอลนีโญ่" จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วประเทศ อุณหภูมิหน้าร้อนปีนี้จะสูงทะลุเกิน 40 องศาเซลเซียส อย่างแน่นอน
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั่วโลกเจอทั้งภัยหนาว น้ำท่วม หรือภัยแล้ง ข้อมูลจากศูนย์โนอา หรือองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ตรวจพบกระแสน้ำอุ่นในทะเลแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ช่วงต้นปีนี้ลดลงมาเหลือ 1.5 จากปกติน้ำทะเลบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ถ้าสูงขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียส ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ "เอลนีโญ่" แล้ว แต่ช่วงนี้สูงขึ้นไปมากถึง 1.5-2 องศาเซลเซียส

 สำหรับประเทศไทยวิเคราะห์ได้ว่า หน้าร้อนปีนี้จะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน จนถึงเดือนกรกฎาคม ฝนก็จะไม่ตกมากนัก และ "เอลนีโญ่" จะยาวนานจนถึงเดือนตุลาคม 2554
"วิเคราะห์จากข้อมูลตอนนี้เห็นชัดว่า หน้าร้อนปีนี้เป็นสภาพเผาหลอก แต่ช่วงฤดูร้อนของปีหน้า หรือปี 2554 จะเจอหน้าแล้งแบบเผาจริง เพราะปีนี้ยังมีน้ำเหลือในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติจากปี 2552 ที่ยังพอมีฝนตก แต่เริ่มปี 2553 ฝนจะตกน้อย น้ำถูกดึงมาใช้อุปโภคบริโภคแทบหมด เมื่อไม่มีน้ำธรรมชาติมาเติมลงไป แหล่งน้ำทั่วประเทศก็จะแห้งจนถึงหน้าร้อนปี 2554 จะเผชิญทั้งอากาศร้อนและสภาพขาดแคลนน้ำ เหมือนในปี 2541 ไทยเจอ 'เอลนีโญ่' ขั้นรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากหมดฤดูร้อนของปี 2554 ก็จะเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนจะตกหนัก คาดว่าต้องเจอพายุกระหน่ำหลายลูก เพราะเมื่อเกิดกระแสน้ำอุ่นจัดก็จะเกิดความชื้นมาก แล้วก่อตัวเป็นพายุฝน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสนใจการคาดการณ์ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเริ่มวางแผนใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปีหน้าจะเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม"
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 ว่า ฤดูร้อนปีนี้คาดว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ หลายพื้นที่จะประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก

อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2543 วัดได้ 35-36 องศาเซลเซียส แต่คำพยากรณ์ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2553 อากาศจะร้อนจนทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทั่วประเทศ โดยภาคเหนือและภาคอีสานจะสูงที่สุด 41-43 องศาเซลเซียส ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิเฉลี่ย 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้กับกรุงเทพฯ จะดีกว่าเล็กน้อย คือ 37-39 องศาเซลเซียส
"สงกรานต์ อักษร" ผอ.สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากข้อมูลการวัดทุ่นในน้ำทะเลกลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลการวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจากดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ ยืนยันได้ว่า น้ำอุ่นขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบไปยังแต่ละประเทศทั่วโลกไม่เท่ากัน เช่น อินโดนีเซีย ตอนนี้เจออากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แต่ในไทยยังมีโอกาสที่ฝนจะตกมากกว่า เพราะสภาพอากาศของไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมมากกว่ากระแสน้ำทะเล

การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์

แม้ว่าความแตกต่างของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี) จะมีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิตามฤดูกาลต่าง ๆ น้อยก็ตาม แต่จะมีบทบาทที่สำคัญมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ในช่วงระยะเวลานับพันปีระยะทางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ที่ไกลที่สุด (Aphelion) ประมาณ 94.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูร้อน กับระยะทางที่ใกล้ที่สุด (Perihelion) ประมาณ 91.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 3 มกราคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูหนาว แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ทำให้โลกได้รับพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคม มากกว่าในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 6% อย่างไรก็ตาม รูปร่างวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 90,000-100,000 ปี วงโคจรจะยาวและรีมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น ประมาณพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับขณะที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มากกว่าขณะที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดถึง 20 - 30% ซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิอากาศแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนที่สุด



เวลาสุริยะคติ (Solar time) เป็นเวลาพื้นฐานตามความรู้สึกของมนุษย์ วันสุริยะคติ (Solar day) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันครั้งหนึ่งถึงเที่ยงวันครั้งถัดไป ซึ่งเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก แต่เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และแกนหมุนของโลกเอียงไปจากแนวตั้งฉากของระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น ในแต่ละวัน เราจึงเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเปลี่ยนตำแหน่งไปตามเส้นสุริยะวิถี และความยาวนานของแต่ละวันมีค่าไม่เท่ากัน จึงมีการนิยามวันสุริยะคติเฉลี่ย (Mean solar day) ขึ้นมา เป็นวันที่เกิดจากวงอาทิตย์สมมติหรือดวงอาทิตย์เฉลี่ยที่มีทางโคจรที่สม่ำเสมอบนท้องฟ้ามาพิจารณาแทนดวงอาทิตย์จริง 24 ชม. วันดาราคติจะมีเพียงแค่ 23 ชม. 56 น. 4 วิ. ของเวลาสุริยะคติ

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มารี กีมาร์ เดอ ปีนา หรือ ท้าวทองกีบม้า

ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (Marie Guimar de Pihna) (พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 - พ.ศ. 2265) ภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เธอเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับทำขนมไทย ประเภททองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าวิเสท ซึ่งได้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตฝรั่งเศสที่มาเยือนในสมัยนั้น มีผู้ยกย่องว่าท้าวทองกีบม้าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย"
ประวัติ
ท้าวทองกีบม้าคนนี้เกิดที่กรุงศรีอยุธยา ชื่อจริงว่า ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ดอนญ่า ในภาษาสเปนหรือโปรตุเกสแปลว่า คุณหญิง) หรือตองกีมาร์ (Tanquimar) เป็นลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอลโดยมารดาของท้าวทองกีบม้าชื่อ อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada) หรือหนังสือบางเล่มเรียกว่า เออร์ซูลา ยามาดะ ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพลี้ภัยทางศาสนาเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ส่วนบิดาชื่อ ฟานิก กูโยมา (Phanick Guimar หรือ Fanik Guyomar) ที่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอลและโปรตุเกสจากอาณานิคมกัว(ปัจจุบันคือรัฐกัว ประเทศอินเดีย)
ครอบครัวของยามาดะเป็นตระกูลที่เคร่งครัดในคริสต์ศาสนามาก เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ ยายของท้าวทองกีบม้า เคยเล่าว่า เขาเป็นหลานสาวของนักบุญฟรังซิส ซาเวียร์ (Saint Francis Xavier) คริสต์ศาสนิกชนคนแรกของประเทศญี่ปุ่น และนักบุญชื่อดัง โดยได้ประทานศีลล้างบาปและตั้งนามทางศาสนาให้
ราวปี พ.ศ. 2135 ฮิเดโยชิ (Toyotomi Hideyoshi, 豊臣 秀吉) ผู้สำเร็จราชการของญี่ปุ่น ต้องการล้มล้างวัฒนธรรมตะวันตก จึงออกพระราชฎีกาในนามของพระจักรพรรดิ์ให้จับกุม ลงโทษ และริบสมบัติชาวคริสต์ ยายของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นชาวคริสต์จึงถูกลงโทษด้วย นางถูกจับยัดใส่กระสอบนำลงเรือมาที่นางาซากิ เพื่อเนรเทศไปยังเมืองไฟโฟ (Faifo)ปัจจุบันคือ ฮอยอัน ในประเทศเวียดนามเพราะมีชาวคริสต์อยู่มาก บนเรือนี่เองที่ทำให้ยายของท้าวทองกีบม้า พบกับตาของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ทั้งสองคนจึงมาตั้งหลักปักฐานที่กรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นประเทศที่ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ และไม่รังเกียจคนต่างศาสนา
ท้าวทองกีบม้า เป็นหญิงสาวที่มีนิสัยเรียบร้อย ซื่อสัตย์ และเคร่งครัดในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะมีเรื่องของมารดาเธอที่ถูกกล่าวหาโดยบาทหลวงชาวอังกฤษผู้หนึ่งว่า ยามาดะ (มารดาของท้าวทองกีบม้า) เป็นสตรีที่ประพฤติไม่เรียบร้อย ชอบคบผู้ชายไม่เลือกหน้า แม้จะแต่งงานกับฟานิกแล้ว ยังแอบปันใจให้ชายอื่นเสมอ โดยเฉพาะหนุ่มโปรตุเกสในค่ายที่ยามาดะอาศัยอยู่ แต่ฟานิกผู้เป็นบิดาของท้าวทองกีบม้ามีผิวดำ แต่มีลูกผิวขาวหลายคนรวมทั้งท้าวทองกีบม้า และทำให้ฟานิกบิดาของท้าวทองกีบม้าถูกชาวยุโรปดูถูกดูแคลนเสมอ อย่างไรก็ตามท้าวทองกีบม้าก็ได้แต่งงานตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี กับคอนสแตนติน ฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) ชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่นิสัยต่างกันมาก ก่อนที่จะแต่งงานกับฟอลคอน ฟอลคอนเคยมีภรรยามาแล้วหลายคน แต่ส่งไปอยู่เมืองพิษณุโลก ส่วนลูกนั้นมารี กีมาร์นำมาเลี้ยงเองเนื่องจากเธอเป็นคนใจบุญสุนทาน เธอรับเลี้ยงเด็กสาวที่ยากจน และเด็กที่มีบิดาเป็นชาวยุโรป และมีมารดาเป็นชาวไทยแต่ถูกทอดทิ้ง เธอนำมาเลี้ยงดูมากมายหลายคน แม้เธอจะมีปัญหาระหองระแหงกับฟอลคอน แต่ก็ยังประคองความรักจนมีบุตรด้วยกัน 2 คนได้แก่ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2227 และฮวน ฟอลคอน (Juan Phaulkon) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2231 ต่อมาเมื่อสามีนางถูกลงโทษข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และถูกประหารชีวิต ท้าวทองกีบม้าถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ในพระราชวัง และได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวัง ท้าวทองกีบม้าได้ประดิษฐ์ขนมขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา โดยดัดแปลงตำรับเดิมโปรตุเกส และเอาวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีในสยามเข้ามาผสมผสาน ซึ่งหลักๆได้แก่ มะพร้าว แป้งและน้ำตาล จนทำให้เกิดขนมใหม่ที่มีรสชาติอร่อย พระราชวังก็ได้ให้ความชื่นชมมากและถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น
บั้นปลายชีวิต
แม้ท้าวทองกีบม้าจะมีชีวิตในระยะแรกๆ ค่อนข้างลำบาก สามีถูกประหาร ต้องมีชีวิตระหกระเหิน ถูกส่งตัวไปเป็นคนรับใช้ แต่ด้วยความสามารถ และอุปนิสัยดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บั้นปลายชีวิตของเธอจึงสุขสบายและได้รับการยกย่องตามควร ท้าวทองกีบม้ามีอายุยืนถึง 4 รัชกาล คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าเสือและสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สันนิษฐานว่าชื่อตำแหน่ง ทองกีบม้า เพี้ยนมาจากชื่อ ตองกีมาร์ นั้นเอง มีหลักฐานบ่งว่าท้าวทองกีบม้าถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 66 ปี
ขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าทำขึ้น
ท้าวทองกีบม้า เมื่อเข้าไปรับราชการในพระราชวังได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงมาจากตำรับอาหารโปรตุเกส ให้เป็นขนมหวานของไทย และเผยแพร่ไปโดยทั่วไป ท้าวทองกีบม้าจึงได้ชื่อเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" โดยขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น มีดังอไปนี้
กะหรี่ปั๊บ,ขนมหม้อแกง,ทองม้วน,ทองหยอด,ทองหยิบ,ฝอยทอง,สังขยา,ขนมผิง เป็นต้น

สมเด็จพระศรีสุริโยทัย

สมเด็จพระศรีสุริโยทัย หรือ พระสุริโยทัย วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 15 ของกรุงศรีอยุธยาแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยทัย ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ในปี พ.ศ. 2091 พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยทัย เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย
พระราชประวัติ
สมเด็จพระสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์
พระวีรกรรม
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก สมเด็จพระสุริโยทัยพร้อมกับพระราชโอรส-พระราชธิดารวม 4 พระองค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรียขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย เนื่องจากสมเด็จพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างสมเด็จพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์ พระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือ พระบรมดิลก บนช้างทรงเชือกเดียวกัน
อนุสาวรีย์
หลังสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยที่สวนหลวง แล้วสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลพระราชทาน คือ วัดสบสวรรค์ สถูปขนาดใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเก็บพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย ถูกเรียกว่า เจดีย์พระศรีสุริโยทัย
ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์
ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย แต่ตัวตนและความเสียสละของพระองค์ยังเป็นหัวข้อที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากความจริงที่ว่าพระนามของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงหรือบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่าเลยและข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ถูกคัดมาจากบางตอนของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยาและการบรรยายของนักสำรวจชาวโปรตุเกส โดมิงโก ซีซัส

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน